svasdssvasds

ความรู้สึกของชาวญี่ปุ่นต่างรุ่น ในการเข้าสู่ยุค "เรวะ" [คลิป]

วันนี้คือวันสุดท้ายของรัชสมัยเฮเซ และพรุ่งนี้คือการเริ่มต้นใหม่ของยุคสมัยเรวะ ชาวญี่ปุ่นจะรู้สึกอย่างไรกันบ้าง เพราะชาวญี่ปุ่นในแต่ละช่วงวัยก็ผ่านประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป

ฉันชื่อยูริ ฮาราดะ อายุ 19 ปีค่ะ อยากจะขอบคุณสมเด็จพระจักรพรรดิที่พระองค์ทรงอยู่ใกล้ชิดและทำงานหนักเพื่อประชาชนเสมอ แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับพระองค์ในการสละราชสมบัติขณะที่พระองค์ยังทรงมีพระชนม์อยู่

สำหรับยูริ เด็กรุ่นใหม่อายุ 19 ปี รัชสมัยเฮเซคือยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ยุคแห่งความกังวลในอนาคต และยุคที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ นั่นคือภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มเมื่อวันที่ 11 มีนาคมปี 2011 ครั้งนั้นยูริอายุแค่ 11 ปีเท่านั้น แต่เธอก็ยังคงจำได้ดี แต่อีกหนึ่งสิ่งที่เธอจำได้ก็คือ การมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนใช้เป็นครั้งแรกเมื่อตอนเธออยู่ประถม ฉันคิดว่าสมัยเฮเซเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงเยอะมากเลยค่ะ เช่น มีคนต่างชาติเข้ามาอยู่ในญี่ปุ่นเยอะขึ้น และมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ

 

ดิฉันชื่อฮารูโยะ นิเฮย์ อายุ 82 ปีค่ะ แต่สำหรับผู้สูงอายุ นี่ยุคเฮเซคือยุคแห่งการฟื้นฟูความบอบช้ำจากสงคราม ตลอดหลายสิบปีของชีวิตฮารูโยะ นิเฮย์ คุณยายวัย 82 ปี ความทรงจำที่เด่นชัดที่สุดของเธอก็เห็นจะเป็นเรื่องสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะน้องสาวของเธอเสียชีวิตจากการโดนไฟไหม้ทั้งตัว จากการถูกสหรัฐทิ้งระเบิดเมื่อปี 1945 คุณยายเล่าว่า สิ่งที่เธอเห็นมาตลอดรัชสมัยเฮเซก็คือความพยายามของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ พระจักรพรรดิองค์ก่อน ที่ทรงปรารถนาจะสมานแผลของสงครามให้กับประชาชนผู้บอบช้ำ และเวลาคุณยายเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระจักรพรรดิองค์ก่อนเมื่อใด ก็จะรู้สึกว่า พระองค์กำลังขอโทษประชาชนต่อสงครามที่เกิดขึ้นในสมัยของพระบิดา

พระจักรพรรดิ์องค์ก่อนมักจะตรัสอยู่เสมอว่า ญี่ปุ่นไม่ควรลืมโศกนาฏกรรมแห่งสงคราม และคุณยายก็หวังว่า เด็กๆ รุ่นหลังในรัชสมัยเรวะก็จะไม่ลืมสงครามเช่นกัน เด็กทุกวันนี้ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับสงคราม ซึ่งมันก็ดีมาก แต่ถ้าพวกเขาไม่รู้ว่าญี่ปุ่นเคยทำสงครามเมื่อ 70 ปีที่แล้ว เราก็อาจจะกลับไปเดินผิดทางอีกครั้งได้

 

ผมชื่อเคนจิ ซาอิโต เจ้าของร้านโดมิโซ สำหรับผม รัชสมัยเฮเซเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง สำหรับคนวัยกลางคนอย่างเคนจิ ซาอิโต อดีตวิศวกรพนักงานออฟฟิสอายุ 52 ปี รู้สึกใจหายไม่น้อยกับการเปลี่ยนแปลงรัชสมัยจากยุคเฮเซ สู่ยุคเรวะ แต่ขณะเดียวกัน เขาก็มองว่านี่คือโอกาสอันดี โอกาสแห่งการเปลี่ยนแปลง

เคนจิเล่าว่า เขาเคยเป็นวิศวะมาก่อน แต่ในเดือนพฤศจิกายนปี 1989 หรือให้หลังเพียง 10 เดือนหลังการเข้าสู่รัชสมัยเฮเซ เขาได้รับโทรศัพท์จากเจ้าของบริษัทที่เป็นของเขาว่าบริษัทกำลังจะต้องปิดตัวลงจากพิษของเศรษฐกิจฟองสบู่แตกที่เกิดขึ้น ในอดีตนั้น ตั้งแต่เริ่มทำงาน เขาคาดหวังจะเกษียณอายุการทำงานที่นี่ เหมือนๆกับชาวญี่ปุ่นจำนวนมากที่ไม่นิยมการเปลี่ยนย้ายที่ทำงานบ่อยๆ แต่เขาก็สูญเสียงานไปพร้อมกับลูกจ้างคนอื่นๆอีก 8 พันคน หลังจากตกงานครั้งนั้น เคนจิก็ยังคงทำงานให้กับบริษัทของอดีตเจ้านายอยู่ แต่จนกระทั่งปี 2005 เขาก็วางมือจากแวดวงธุรกิจ หันมาเปิดร้านราเมนแทน

"การปิดตัวลงของบริษัทที่ผมเคยทำงานอยู่เป็นเหมือนจุดเปลี่ยน ผมตัดสินใจว่าผมอยากจะทำอะไรในชีวิตของผม และตัดสินใจเปิดร้านราเมนซึ่งเป็นอะไรที่ผมชอบ" แต่สิ่งสำคัญที่เคนจิได้บอกเอาไว้ก็คือ ไม่ว่ายุคไหนจะผ่านเข้ามา ชีวิตมนุษย์ก็ยังคงต้องดิ้นรนเสมอ แต่อย่างไรก็ตาม คนรุ่นใหม่ก็ยังคงต้องใช้ชีวิตต่อไป "มันมักจะมีความยากลำบากและอุปสรรคอยู่ในทุกรัชสมัยนั่นแหละครับ แต่ผมหวังว่า คนรุ่นใหม่จะมั่นใจในตัวเองและเดินหน้าใช้ชีวิตต่อไป เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสมัยใหม่ได้ครับ"

related