svasdssvasds

"มะเร็งเต้านม" กับปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมแก้ไขได้

"มะเร็งเต้านม" กับปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมแก้ไขได้

เดือนตุลาคม เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ออกมารณรงค์ในทุกคนตระหนักในเรื่องของภัยจาก “มะเร็งเต้านม”ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก โดยมีแคมเปญที่ชื่อว่า “Breast Cancer Awareness Month” (BCAM) จัดขึ้นโดยองค์กรการกุศลด้านมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งมีโอกาสในการรักษาหายได้เร็วเท่านั้น เรามาดูปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุม แก้ไข ช่วยป้องกัน หรือแม้แต่ลดโอกาสในการเป็นโรคนี้ได้อีกด้วย โดยเฉพาะกลุ่มอายุคนไข้ที่ตรวจพบมะเร็งเต้านมมากที่สุด คือ กลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไป

น้ำหนัก
น้ำหนักที่มากเกิน หรือภาวะอ้วน (ดัชนีมวลกาย - Body Mass Index หรือ BMI เท่ากับหรือมากกว่า 25 ขึ้นไป) ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งพบว่าผู้หญิงวัยนี้จะมีไขมันในร่างกายที่ทำหน้าที่หลักในการสร้างเอสโตรเจนแทนรังไข่หลังหมดประจำเดือน และหากมีภาวะอ้วน มีน้ำหนักและไขมันที่มาก ก็จะทำให้ระดับเอสโตรเจนในร่างกายสูง ซึ่งก็จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเพิ่มมากขึ้น

อาหาร
อาหารนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยนักโภชนาการแนะนำว่า การรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ ทัง้นี้แนะนำให้รับประทานผักผลไม้มากกว่า 5 ถ้วยต่อวัน จำกัดปริมาณอาหารให้มีไขมันอิ่มตัวให้น้อยกว่า 10% ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมดต่อวัน และรับประทานอาหารที่มีไขมันทั้งหมดไม่เกิน 30 กรัมต่อวัน และยังแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีไขมัน Omega 3 นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ (Trans Fat) เนื้อสัตว์แปรรูป หรืออาหารรมควัน เพื่อลดโอกาสในการเป็นโรคนี้ได้อีกด้วย
 

การออกกำลังกาย
มีการศึกษาแนะนำว่า การออกกำลังกายนั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ หากออกกำลังกายวันละ 45-60 นาที ตั้งแต่ 5 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดมะเร็งเต้านมได้

การดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ความสามารถของการทำงานของตับลดลง จะทำให้ร่างกายสูญเสียการควบคุมปริมาณเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งเพิ่มขึ้นได้

การสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่นั้นพบว่าเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยในการเกิดมะเร็งเต้านม

การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน
ฮอร์โมนเอสโตรเจนทำหน้าที่ในการกระตุ้นเซลล์เต้านมให้มีการเจริญเติบโต ซึ่งหากการที่ได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นระยะเวลานาน ก็ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานาน

ยาคุมกำเนิด
การใช้ยาคุมกำเนิดที่เป็นระยะเวลานาน มากกว่า 5-10ปีนั้น เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม แต่พบว่าการใช้ยาคุมกำเนิดในช่วงเวลาสั้นๆ ก็มีผลเพิ่มความเสี่ยงในเกิดมะเร็งเต้านมเพียงเล็กน้อย และพบว่าหากหยุดยาคุมกำเนิดมากกว่า 10 ปี ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมนั้นไม่แตกต่างจากคนทั่วไป

ความเครียดและความวิตกกังวล
ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนที่บ่งบอกว่า ความเครียดและความวิตกกังวลนั้นมีความเกี่ยวข้องชัดเจนกับการเกิดมะเร็งเต้านม แต่พบว่าการลดความเครียดและทำให้จิตใจสงบนั้น สามารถเพิ่มความสามารถของภูมิต้านทานในร่างกายได้

รอยยิ้มและความหวังเกิดขึ้นทันที ศูนย์รังสีรักษา โรงพยาบาลไทยนครินทร์

มะเร็ง ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่ต้องรู้ก่อน และติดตาม เพราะมะเร็งเป็นได้ตั้งแต่เกิด เนื่องจากสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ประกอบกับได้รับสารก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลไทยนครินทร์ ตระหนักถึงความสำคัญของโรคมะเร็ง จึงดำเนินการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บริการ ตรวจวินิจฉัย ค้นหา และรักษา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก รวมทั้งหาแนวทางป้องกันโรคมะเร็งทุกระบบ โดยแพทย์ที่ชำนาญ การเฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง โดยดูแลผู้ป่วยและญาติแบบองค์รวมทั้งร่างกาย และจิตใจ

ศูนย์มะเร็งและรังสีรักษา โรงพยาบาลไทยนครินทร์ พร้อมที่จะช่วยคุณในการต่อสู้กับมะเร็งทุกสถานการณ์ เพื่อให้มีชีวิตที่ยาวนานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในบรรยากาศของความเป็นเพื่อน มีความเป็นส่วนตัว สะดวกสบาย และลดความเครียด
 

related