SHORT CUT
แพทย์ นับเป็นบุคลากรที่มีส่วนสำคัญต่อการดูแลคุณภาพชีวิตของประชากรไทย ปัจจุบันจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในปี 2564 มีแพทย์จำนวน 38,820 คน สัดส่วนแพทย์ต่อจำนวนประชากร คิดเป็นแพทย์ 1 คน ต่อประชากร 1,680 คน (กลุ่มคลังข้อมูลสถิติ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ )
ตามที่เราได้เห็นข่าวนักเรียนแพทย์บางส่วนลาออกจากราชการ โดยหนึ่งในสาเหตุที่พบมากคือการทำงานหนักและพักผ่อนไม่เพียงพอ สถานการณ์ภาวะขาดแคลนแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้แพทย์ในประเทศไทยทำงานหนักจนเกิดผลกระทบโดยตรงต่อทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น โรคประจำตัว หรือภาวะผิดปกติบางอย่างในร่างกายและจิตใจ สุดท้ายทำให้สูญเสียบุคลากรแพทย์ไปในที่สุด การสูญเสียเช่นนี้ถือเป็นการสูญเสียที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อวงการแพทย์และประเทศชาติ
โรงพยาบาลเมดพาร์ได้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลบุคลากรทางการแพทย์ เพราะการช่วยชีวิตแพทย์หนึ่งท่าน สามารถช่วยชีวิตประชาชนต่อไปได้อีกหลายหมื่นคน จึงได้ริเริ่มโครงการ “Save Doctors, Save People, Save Thailand” ตั้งแต่ในปี 2564 ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้สังกัดโรงพยาบาล เพราะบุคลากรเหล่านี้เป็นกำลังหลักสำคัญในการต่อสู้กับโรคระบาด แต่นโยบายการฉีดวัคซีนของรัฐบาลในเวลานั้นยังไม่ทั่วถึงและทันเวลา
ยังเป็นเรี่ยวแรงหลักในการขยายขอบเขตบริการฉีดวัคซีนไปยังประชาชนทั่วไป รวมถึงชาวต่างชาติในระยะต่อมา โรงพยาบาลยังคงเปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา แสดงถึงความมุ่งมั่นของเราที่จะดูแลสุขภาพของประชาชนตลอดช่วงเวลาที่ยากลำบาก
สำหรับภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA: OSA) เป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงกันมากในปัจจุบันเนื่องจากผลร้ายต่อสุขภาพที่ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญมากนัก จากสถิติของสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทยปี 2563 ประชากรไทยเกือบ 20% มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น และประชากรทั่วโลกป่วยด้วยภาวะนี้ประมาณ 1 พันล้านคนหรือประมาณ 14% ของประชากรทั้งโลก
ปัญหาการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคนอนไม่หลับ ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ที่มีความรุนแรงสูงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น โรคหัวใจ ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น นอกจากนี้ความอ่อนเพลียในตอนกลางวันอันเป็นผลมาจากการนอนหลับที่ไม่เพียงพอ หรือไม่มีคุณภาพ อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานที่ต้องรับผิดชอบชีวิตผู้อื่นของแพทย์ รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุขณะทำงาน หรือขณะขับรถได้อีกด้วย
โรงพยาบาลเมดพาร์คเชื่อว่าการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของแพทย์โดยการแก้ปัญหาเรื่องการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นเรื่องจำเป็นอย่างที่สุด ด้วยเวลาพักผ่อนที่มีอย่างจำกัดหากแพทย์ได้นอนหลับเพื่อช่วยฟื้นฟูสุขภาพอย่างเพียงพอแล้ว จะช่วยให้แพทย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในวันต่อมา
ทาง Spring ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ นพ.จิรยศ จินตนาดิลก โครงการนี้จะเป็นผลดีต่อภาพรวมในเมืองไทย และมีผลต่อ work performance รัฐบาลควรทำการ audit ว่ากลุ่มไหนที่มีความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องรักษา เพราะ ศัตรูของสิ่งที่ดี คือสิ่งที่ดีกว่า ถ้าคุณมีภาวะนอนไม่หลับวันนี้ วันหน้าคุณได้หลับแน่ ต้องเปลี่ยน Mindset กันใหม่ได้แล้ว
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้แพทย์ทั่วประเทศไทยที่สนใจเข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อค้นหาความผิดปกติขณะนอนหลับ ซึ่งอาจไม่ทราบหรือสังเกตเห็นมาก่อน
2.ในกรณีตรวจพบโรคโรงพยาบาลเมดพาร์คสามารถให้บริการดูแลรักษาเบื้องต้นและวางแผนการรักษาในระยะยาว เพื่อให้แพทย์นั้นสามารถดูแลประชาชนต่อไปได้อีกจำนวนมาก
3.เพื่อร่วมมือกับพันธมิตรที่มีแนวคิดช่วยเหลือสังคมในการดูแลแพทย์ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตและส่งเสริมให้แพทย์พักผ่อนนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อประชาชนอย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมาย
เกณฑ์สำหรับผู้ที่สามารถเข้ารับการตรวจได้ ผู้ที่เข้ารับการตรวจได้จะต้องเป็นแพทย์ที่ผ่านเกณฑ์ดังต่อไปนี้
รายการตรวจในโปรแกรมการตรวจประสิทธิภาพในการนอนหลับ ประกอบไปด้วย
ผลที่ได้รับ
1.จำนวนแพทย์ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 439 ท่าน โดยแพทย์ที่ผ่านการคัดกรองเบื้องต้น สามารถเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพื่อค้นหาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจำนวน 279 ท่าน (ถือเป็น 63.55%) โดยแบ่งเป็นแพทย์ที่เข้ารับการตรวจในปี 2023 จำนวน 116 ท่าน และ 163 ท่าน ในปี 2024
2. ผลการตรวจภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับของแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง