svasdssvasds

เรื่องต้องแชร์ : ขาช้อปต้องรู้นำของเข้าประเทศเท่าไหร่โดนภาษี

เรื่องต้องแชร์ : ขาช้อปต้องรู้นำของเข้าประเทศเท่าไหร่โดนภาษี

กรมศุลกากร ชี้ การนำของมีค่าออกนอกประเทศจะแจ้งหรือไม่แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ก็ได้ แต่การจดแจ้งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร เมื่อเดินทางกลับเข้ามาในประเทศ พร้อมเตรียมปรับแก้กฎระเบียบให้มีความชัดเจน ป้องกันการเกิดความสับสน

กรมศุลกากร ออกประกาศ ออกประกาศ 2 ฉบับ ได้แก่ หลักเกณฑ์สำหรับผู้โดยสารและสัมภาระบินจากสนามบินหนึ่งไปอีกสนามบินหนึ่ง แล้วต่อเครื่องเพื่อไปต่างประเทศ และ “การปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมกับตนทางอากาศยาน”

โดยเป็น ประกาศเดิมมาประกาศใช้ใหม่ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรปี 2560 ซึ่งถือเป็นประกาศตามมาตรฐานสากล เพื่อช่วยป้องกันในกรณีที่คนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ และถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบพบมีสินค้าราคาแพงติดตัวจะต้องเสียภาษีนำเข้าให้ถูกต้องตามกฎหมาย

ซึ่งสามารถสรุปประกาศออกมาได้ว่า

เรื่องต้องแชร์ : ขาช้อปต้องรู้นำของเข้าประเทศเท่าไหร่โดนภาษี

ขั้นตอนก่อน ออกประเทศ ต้องแสดงทรัพย์สิน ของใช้ที่นำออกไป ได้แก่ นาฬิกา กล้องถ่ายรูป โน๊ตบุ๊ก เพื่อผลประโยชน์เมื่อกลับเข้าประเทศ มีหลักฐานแสดงว่าสิ่งของดังกล่าวไม่ใช่สิ่งของที่ซื้อมาจากต่างประเทศ ที่อาจต้องเสียภาษี

สำหรับขาเข้าประเทศ ศุลกากร แบ่งช่องแสดงออกเป็น 2 ช่อง ซึ่งปัจจุบันผู้โดยสารมักจะเดินผ่านช่องสีเขียว โดยอาจไม่เจตนา ไม่รู้ว่าตัวเองมีสิ่งของต้องสำแดง

ช่องเขียว (ยกเว้นภาษี)

- ของใช้ไม่เกิน 2 หมื่นบาท จำนวนตามสมควร

- บุหรี่ ไม่เกิน 200 มวน

- สุรา ไม่เกิน 1 ลิตร

ขาเข้า ช่องแดง (จ่ายภาษี)

- สิ่งของไม่เกิน 2 แสนบาท

- สิ่งของ 1 ชิ้น เกิน 2 แสนบาท

- สินค้าดิวตี้ฟรี

 

 

นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดี รักษาการที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร และโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า แนวปฎิบัติดังกล่าวเป็นแนวปฎิบัติเดิม แต่ได้ออกประกาศใหม่ เนื่องจาก พรบ.กรมศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ถูกยกเลิก ทำให้กฎหมายลูกถูกยกเลิกไปด้วย ดังนั้นเพื่อให้แนวปฎิบัติสามารถดำเนินการได้ จึงต้องออกประกาศใหม่ ตาม พรบ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ทั้งนี้เนื้อหาของประกาศฉบับนี้ไม่ได้กำหนดให้ผู้โดยสารขาออกที่เดินทางไปต่างประเทศ และได้นำสิ่งของติดตัวไปด้วย จะต้องมาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ แต่เพื่อความสะดวกเวลาเดินทางกลับและเมื่อนำสิ่งของเหล่านั้นกลับเข้ามาในประเทศอีกครั้ง จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่ เพียงแค่ยื่นเอกสารเป็นหลักฐานก็สามารถเข้าประเทศได้ทันที ทั้งนี้ยืนยันว่ามาตรการดังกล่าวไม่ใช่การบังคับ ซึ่งผู้โดยสารสามารถเลือกไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ หรือไม่แจ้งก็ได้ ซึ่งเป็นความสะดวกของผู้โดยสารเอง

ประชาชนสับสน ทางกรมศุลกากรเตรียมปรับแก้กฎระเบียบ

ส่วนประกาศที่อาจก่อให้เกิดความสับสนต่อประชาชนนั้น ทางกรมศุลกากรอยู่ระหว่างเตรียมปรับแก้กฎระเบียบให้มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น

สำหรับสินค้าที่ซื้อในร้านค้าปลอดอากรขาออก ไม่ว่าจะเป็นในต่างประเทศหรือภายในคิงพาวเวอร์ เมื่อนำกลับเข้ามาในประเทศ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย คือ ได้รับการยกเว้นค่าภาษีอากร เมื่อสินค้ามีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 20,000 บาท แต่หากมีราคาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะต้องเสียภาษีอากรด้วย ส่วนกรณีที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบการนำเข้าสินค้ามูลค่าเกินกว่ากฎหมายกำหนด เจ้าหน้าที่สามารถยึดทรัพย์ได้ทันทีหากผู้โดยสารไม่สามารถชี้แจงได้ แต่หากผู้โดยสารต้องการนำสินค้าเข้าประเทศ จะต้องเสียภาษีตามชนิดสินค้า อาทิ ภาษีเบ็ดเตล็ด จะต้องเสีย 30% ของมูลค่าสินค้า

สำหรับสถิติการแจ้งสำแดงขาออกตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 - ปัจจุบัน มีเพียง 82 ราย หรือเฉลี่ยเดือนละไม่เกิน 10 ราย และตั้งแต่มีกระแสข่าวดังกล่าวพบว่าการจดแจ้งยังเป็นปกติ ส่วนสถิติการตรวจจับผู้นำเข้าสินค้าเลี่ยงภาษี ส่วนใหญ่เป็นการจับกุมที่มูลค่าเกิน 200,000 บาทขึ้นไป โดยเป็นกลุ่มสินค้าแฟชั่น รองเท้า นาฬิกา และของเลียนแบบ ซึ่งผู้กระทำผิดส่วนใหญ่เป็นแม่ค้ารับพรีออเดอร์สินค้า แต่ไม่ได้จับกุมทุกวัน หรือเฉลี่ยจับกุมอย่างน้อยวันละ 1 ราย