svasdssvasds

กฟผ. เทหมดหน้าตัก เร่งพัฒนา "Climate Tech" แก้ปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ

กฟผ. เทหมดหน้าตัก เร่งพัฒนา "Climate Tech" แก้ปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ

เทคโนโลยีสีที่ใช้ต่อสู้กับวิกฤตสภาพอากาศ หรือ Climate Tech นั้นสำคัญแค่ไหน แล้วปัจจุบัน ความสามารถในการพัฒนาคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว สปริงชวนเปิดมุมมองไปกับ วฤต รัตนชื่น  ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และการพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หรือ Climate Change คือปัญหาที่ทุกชาติในโลกเผชิญร่วมกัน และเพื่อแก้ปัญหานั้นเราจึงต้องนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่เหมาะสมเข้ามารับมือและแก้ไขปัญหา เพื่อเปิดทางไปสู่ Net Zero 

ในงาน Innovation Keeping the World 2024 นวัตกรรม ยั่งยืน สู้ภาวะโลกเดือด จัดขึ้นโดย สปริงนิวส์ ก็นับว่าเป็นอีกงานหนึ่งที่เป็นเวทีที่เดินหน้าเรื่องความยั่งยืนอย่างเข้มข้น

Innovation Keeping the World 2024 นวัตกรรม ยั่งยืน สู้ภาวะโลกเดือด จัดขึ้นโดย สปริงนิวส์

หนึ่งในไฮไลท์ ที่สำคัญคือ วฤต รัตนชื่น 
ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และการพัฒนาธุรกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยในงานสัมมนา Innovation Keeping the World 2024 นวัตกรรม ยั่งยืน สู้ภาวะโลกเดือด จัดขึ้นโดย “สปริงนิวส์” ว่า 

กฟผ. เทหมดหน้าตัก เร่งพัฒนา \"Climate Tech\" แก้ปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ

"ทุกประเทศทั่วโลกต้องเทหมดหน้าตักเพื่อคิดค้นหรือพัฒนาเทคโนโลยีสู้โลกร้อน เพราะไม่ว่าจะเป็นแผนเทคโนโลยีของประเทศใด ก็ยังไม่สามารถการันตีได้ว่าเทคโนโลยีจะสามารถแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้"

นอกจากนี้ วฤต รัตนชื่น เปิดเผยว่า ปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ใช้ต่อสู้หรือกอบกู้โลกจากสถานการณ์โลกเดือดมีอยู่ด้วยกัน 3 เฟส ได้แก่

  • เฟสที่ 1 – เทคโนโลยีที่พร้อมใช้งาน อาทิ พลังงานหมุนเวียน โดยพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะกับประเทศไทยมากที่สุดคือ พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)  
  • เฟสที่ 2 – เทคโนโลยีที่ทำได้แล้ว แต่มีต้นทุนสูง และยังไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย อาทิ ไฮโดรเจน หรือเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน
  • เฟสที่ 3 - เทคโนโลยีที่ยังไม่สำเร็จ อาทิ ดวงอาทิตย์เทียม

สำหรับเทคโนโลยีเฟสที่ 3 วฤต รัตนชื่น มองว่าเป็นเรื่องของอนาคต ซึ่งคาดว่าคนในรุ่นเหลนจะเป็นผู้ที่ได้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ แม้เวลาผ่านไปหลายสิบปี เด็ก ๆ เหล่านี้เกษียณอายุจากงานแล้ว เราก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าเทคโนโลยีในเฟสที่ 3 จะเกิดขึ้นหรือยัง และท้ายที่สุดจะช่วยกู้โลกสำเร็จหรือไม่

กฟผ. เทหมดหน้าตัก เร่งพัฒนา \"Climate Tech\" แก้ปัญหาวิกฤตสภาพอากาศ

หาก Climate Tech บูม ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นหรือไม่?

วฤต รัตนชื่น อธิบายว่า เทคโนโลยีในเฟสที่ 1 สามารถใช้งานและทำได้ทันที ไม่กระทบกับต้นทุนค่าไฟฟ้า ดังนั้น ประเทศไทยต้องเร่งดำเนินการเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีในเฟสที่ 1 ให้ได้โดยเร็ว

ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีในเฟสที่ 2 ซึ่งยังมีข้อจำกัดเรื่องต้นทุน วฤต รัตนชื่น มองว่าจำเป็นต้องเร่งพัฒนา เพิ่มประสิทธิภาพ หรือเพิ่มความสามารถของเทคโนโลยีเพื่อให้ต้นทุนลดลง เมื่อต้นทุนลดลงแล้ว การใช้เทคโนโลยีในเฟสที่ 2 ก็จะแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

วฤต รัตนชื่น กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาเทคโนโลยีไม่สามารถพิจารณาแค่เรื่องลดคาร์บอนอย่างเดียวได้ แต่จำเป็นพิจารณาถึงเรื่องราคาที่ยอมรับได้ กล่าวคือต้องรักษาการแข่งขันของประเทศให้ได้ ราคาถูกหรือแพงขึ้นจำเป็นต้องพิจารณาและเทียบเคียงกับต่างประเทศไปพร้อม ๆ กัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related