เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ "Eco Industrial Town" มีความหมายว่า เมืองที่มีการเจริญเติบโตโดยมีอุตสาหกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ต้องปกป้องสิ่งแวดล้อม อาทิ รีไซเคิลขยะ พลังงานสะอาด มลพิษ มาดูกันว่า มาบตาพุด สามารถทำได้หรือยัง และทำอย่างไร?
ถามกันตรง ๆ เลยว่าเวลานึกถึง “มาบตาพุด” คุณนึกถึงอะไร...? ทะเล ชุมชน มลพิษ หรือโรงงานอุตสาหกรรม
แต่ดูเหมือนว่าภาพจำมาบตาพุดอาจผูกโยงอยู่กับข้อหลังมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เนื่องจากเมืองแห่งนี้คือแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของจังหวัดระยอง หรืออาจพูดได้ว่าของประเทศไทย
ด้วยเหตุฉะนี้ กรมลดโลกร้อนจึงร่วมมือกับเมืองมาบตาพุดพัฒนาเมือง สิ่งแวดล้อม ชุมชน รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และบริบทเมืองอุตสาหกรรมได้อย่างปลอดภัย
นายพิรุณ สัยยะ สิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมลดโลกร้อนได้ดำเนินการส่งเสริมและร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
และการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.)
ซึ่งพื้นที่จังหวัดระยองเป็นเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะเทศบาลเมืองมาบตาพุดที่มีการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างสมดุล
จนได้รับ “รางวัลเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับเงิน” ปี 2566 อีกทั้งมีเครือข่าย ทสม. ตำบลวังหว้า จังหวัดระยอง เครือข่ายชุมชนที่ดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมด้านการจัดขยะ ที่เป็นต้นเหตุหนึ่งภาวะโลกเดือด ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหา
แถมยังสร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน จนได้รับรางวัลเครือข่าย ทสม.ดีเด่นระดับภาค ด้านการจัดการขยะมูลฝอย ในปี 2562 และสามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ทางด้านของ นายถวิล โพธิบัวทอง นายกเทศบาลเมืองมาบตาพุด จ.ระยอง เปิดเผยว่าเทศบาลเมืองมาบตาพุด จ.ระยอง มีแผนพัฒนาท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลด้านที่ 4
การจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาคอุตสาหกรรม พัฒนา ป้องกัน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่คุณภาพชีวิตของประชาชน มีศูนย์บริการสาธารณสุขที่เป็นความร่วมมือระหว่างเทศบาลเมืองมาบตาพุดและภาคอุตสาหกรรม 7 แห่ง
SPRiNG ชวนไปลัดเลาะดูต่อดีกว่าว่าเมือง "มาบตาพุด" มีวิธีดูแลสิ่งแวดล้อมยังไง?
มลพิษกับเมืองอุตสาหกรรมเป็นของคู่กันเหมือนส้อมคู่กับช้อน แต่สิ่งที่ต้องถกเถียงกันคือเราจะทำอย่างไรถึงจะควบคุม ตรวจวัด และป้องกันมลพิษเหล่านั้นได้เพื่อการันตีลมหายใจสะอาดให้กับประชาชน มาตรการที่เมืองมาบตาพุด มีดังนี้
ที่นี่มีการทำธนาคารขยะ หรือ Recycle Waste Bank กล่าวคือมีการจัดการขยะอย่างถูกวิธี คัดแยกขยะแต่ละประเภทอย่างละเอียด และส่งไปรีไซเคิล ทำให้ในปี 2566 เมืองมาบตาพุดสามารถรีไซเคิลขยะ 20,996 กิโลกรัม ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 52,710 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
และเมื่อพูดถึงการจัดการขยะ ชื่อของ “ชุมชนวังหว้า” จะผุดขึ้นมาทันที ชุมชนนี้ตั้งอยู่ที่ ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง ชุมชนวังหว้าถูกเรียกขานว่าเป็นชุมชนต้นแบบด้านการจัดการขยะ
ทีมข่าว SPRiNG มีโอกาสได้ลงพื้นที่ร่วมรับฟังการบรรยายของ สายัณห์ รุ่งเรือง รองประธานชุมชนบ้านเอื้ออาทรวังหว้าจังหวัดระยอง เกี่ยวกับวิธีการจัดการขยะภายในชุมชน โดยสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
สายัณห์ รุ่งเรือง เปิดเผยว่าตนย้ายมาอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2555 ณ เวลานั้นหันไปทางไหนก็เจอแต่ขยะ น้ำขยะไหลนองส่งกลิ่นเหม็นเน่า เป็นชุมชนที่ไม่น่าอยู่ หลังจากนั้นจึงชักชวนเพื่อนบ้านให้เริ่มจัดการขยะ
ซึ่งช่วงแรกผู้คนยังไม่ให้ความร่วมมือ แต่ปัจจุบันทุกคนมองการจัดการขยะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เนื่องจากช่วยให้สิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างที่ไม่เคยจินตนาการมาก่อน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ “วังหว้า” ได้รับรางวัลมากมาย และคู่ควรได้รับกับคำว่า “ชุมชนต้นแบบ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง