SHORT CUT
ที่สุด แห่งปี2567 โลกเดือด-ทะเลเดือด สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ภัยธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเพียบ
ส่วนในปี2568 โลกอยู่ในภาวะแบบไหน ปกติหรือลานีญา ระบบนิเวศทางทะเลยังคงย่ำแย่ พะยูนยังคงตาย Rain Bomb เกิดบ่อยขึ้นและหนักขึ้น
ใกล้หมดปี2567 แล้ว วันนี้จะมาดู [ ที่สุด แห่งปี2567 ] โลกเดือด-ทะเลเดือด สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ภัยธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเพียบ
เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะหมดปี2567 และย่างก้าวสู่ปี2568 อย่างเป็นทางการ แน่นอนว่าปัญหาที่น่าจับตามองทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยนั่นก็คือปัญหาสิ่งแวดล้อม โลกเดือด ทะเลเดือด สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ภัยธรรมชาติ ที่รุนแรงยังคงต้องหน้าจับตามอง เพราะปี2567 ที่ผ่านมาโลกของเราสาหัสสากรรจ์เหลือเกิน โดยเฉพาะประเทศไทยได้รับผลกระทบจำนวนมาก ทั้งอากาศที่ร้อนขึ้น ภัยแล้ง เอลนีโญ-ลานีญา น้ำท่วม ภัยพิบัติมากมาย วันนี้ #SPRiNG จะพาไปย้อนดูว่าเราเจออะไรมาบ้าง และอนาคตปี2568 จะเป็นอย่างไร
มาเริ่มกันที่ “ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์” รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ KEEP THE WORLD เมื่อ 19 พ.ค.67 ที่ผ่านมา พร้อมเผยว่า อีก 70 ปีข้างหน้าเราจะเจอโลกเดือดขึ้นเรื่อยๆโหดขึ้นเรื่อยๆ ปะการังจะตายหมดใน 30 ปี และมีโอกาสที่ปลาจะหายไปจากท้องทะเล ป่าจะพินาศ มีไฟป่ามหาศาล ควันต่างๆจะโหดร้ายมากขึ้น นี่คืออีกหนึ่งมุมมองของนักวิชาการไทย
พร้อมกันนี้จะพามาดู ปี2567 ปีแห่งหายนะ ‘ปะการังฟอกขาว’ ว่าสถานการณ์ในไทย และทั่วโลกเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ “ผศ.ดร.ธรณ์” ยังได้มีการโพสต์ส่วนตัว เมื่อ 6 พ.ค.67 ที่ผ่านมาว่า น้ำทะเลไทยร้อนที่สุดตั้งแต่เคยตรวจวัดมา หายนะปะการังฟอกขาวเพิ่งเริ่มต้น เราอาจเจอระดับรุนแรงสุด ที่ผ่านมาเป็นแค่เผาหลอก ทะเลเดือดระดับเผาจริงจะเริ่มนับจากนี้เป็นต้นไป และยังบอกเล่าถึงปัญหาโลกเดือดที่กระทบต่อสัตว์ทะเลหายากอีกว่า โลกร้อนขึ้นทรายร้อนขึ้น เต่ามะเฟืองเกือบทั้งหมดฟักเป็นเพศเมีย เหลือตัวผู้เพียงน้อยนิด ยิ่งเวลาผ่านไป โลกร้อนขึ้น ตัวผู้ยิ่งน้อยลง แม่เต่าบางตัวเจอตัวผู้ผสมพันธุ์เพียงไม่มาก ทำให้สัดส่วนของไข่ไม่มีเชื้อสูงขึ้น และไม่ได้รับการผสม
ปัญหาโลกเดือด ทะเลเดือดในไทยยังส่งผลถึง พะยูน “ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์” ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้สัมภาษณ์ KEEP THE WORLD เมื่อ 29 พ.ย.67 ที่ผ่านมาว่า ไทยมีพะยูนอาศัยอยู่ทั้ง ทะเลอ่าวไทย อันดามัน แต่ฝั่งอันดามันน่าห่วงที่สุด ตั้งแต่ระนองไปจนถึงสตูล ตรังนี่น่าจะวิกฤตสุดๆ ตอนนี้เหลือไม่ถึง 10 ตัว สาเหตุที่ทำให้พะยูนตาย คือ โลกร้อน ทำให้หญ้าทะเลตาย ซึ่งเป็นอาหารหลักของพวกมัน
ส่วนสาเหตุที่ทำให้พะยูนตายจำนวนมากแบบนี้มีอยู่ 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยแรก 60% ของการตายของพะยูนไทย คือ ภาวะโลกร้อน อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลอย่างเห็นได้ชัดต่อหญ้าทะเล อันเป็นอาหารหลักของพะยูน โดยไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาวะโลกร้อนทำให้พื้นที่หญ้าทะเลจังหวัดตรังและกระบี่หายไปแล้วมากกว่า 20,000 ไร่ เป็นผลให้พะยูนขาดอาหาร มีการอพยพย้ายถิ่นไปยังทะเลอื่นที่ยังพอมีหญ้าทะเล ดังนั้น ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา สาเหตุการตายของพะยูน 60% มาจากการป่วยจากการขาดอาหาร
และปัจจัยที่สอง อีก 40% ของการตายพะยูนมาจากอุบัติเหตุและกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ติดอุปกรณ์ประมง ถูกเรือชน จากการสัญจรทางน้ำที่รวดเร็วเกินไป เพราะพะยูนเค้าจะหากินหญ้าทะเลบริเวณน้ำตื้นค่ะ ใบพัดเรืออาจไปโดนได้
ล่าสุด ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดสถานการณ์หญ้าทะเลเสื่อมโทรมในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแหล่งหญ้าทะเลที่สำคัญและเป็นแหล่งอาศัยหลักของพะยูนในประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดตรัง ซึ่งถือเป็นเมืองหลวงของพะยูน ส่งผลกระทบทำให้พะยูนเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและต้องอพยพไปยังพื้นที่ใหม่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยกำหนด 4 มาตรการ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติพะยูนเกยตื้นและหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ประกอบด้วย
พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการร่วมพิทักษ์พะยูน ทส.พร้อมเสนอของบกลางประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เป็นจำนวนเงิน 615 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมอนุรักษ์พะยูนและแหล่งหญ้าทะเล
ส่วนในปี2568 ผศ.ดร.ธรณ์ ได้เล่าเรื่องราวผ่าน Carbon Markets Club คลับรักษ์โลก ลดก๊าซเรือนกระจก แห่งแรกในประเทศ พร้อม 5 คำทำนาย ผ่านการคาดการณ์จากข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง