SHORT CUT
15 พ.ค.68 ไทยเข้าสู่ “ฤดูฝน” อย่างเป็นทางการ มาพร้อมความเสี่ยงเกิดภัยพิบัติที่สุดในหน้านี้ เปิดสถิติ ปี’67 เกิดภัยพิบัติ 1,112 เหตุการณ์ ลุ้น! ปี’68 งบ 370 ล้าน จะเอาอยู่มั้ย?
ย่างเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเต็มรูปแบบแล้ววันนี้ 15 พ.ค.68 โดย กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศ ว่าประเทศไทยเข้าสู่ “ฤดูฝน” อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 15 พ.ค.68 พร้อมคาดการณ์ภาพรวมปีนี้ฝนน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ภาคเหนือ อีสาน เสี่ยงมีพายุพัดถล่ม 1–2 ลูก แม้ว่าฝนอาจน้อยกว่าปีที่ผ่าน แต่… ถึงอย่างไรก็ขึ้นชื่อว่าหน้าฝนที่มักจะมีความเสี่ยงในเรื่องของการภัยพิบัติที่สุด ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ดินถล่ม และอื่นๆอีกมากมายที่จะตามมาหากฝนตกหนัก
ทั้งนี้ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า ปี2567 ที่ผ่านมาไทยเผชิญเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย เกิดเหตุรวม 1,112 เหตุการณ์ แบ่งตามรายละเอียดดังนี้
•แผ่นดินถล่ม-น้ำป่าไหลหลาก 160 เหตุการณ์
•แผ่นดินไหว 947 เหตุการณ์
•หลุมยุบรวม 5 เหตุการณ์
•พื้นที่เสี่ยงแผ่นดินถล่ม 54 จังหวัด
•พื้นที่เสี่ยงแผ่นดินถล่ม 463 อำเภอ
•พื้นที่เสี่ยงแผ่นดินถล่ม 1,984 ตำบล 15,559 หมู่บ้าน
•พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม รวม 142,067 ตารางกิโลเมตร
•พื้นที่เสี่ยงดินถล่ม ร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศไทย
สำหรับแนวทางการรับมือเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย มีดังนี้
•ปี2568 ตั้งเครื่องติดตามการเคลื่อนตัวของดิน 140 สถานี
•อนาคตติดตั้ง 600 สถานีทั่วประเทศ
ด้าน ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เปิดเผยว่า ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัยเพื่อรับมืออนาคต จากข้อมูลเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยในรอบปี 2567 พบว่า ประเทศไทยเผชิญเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย รวม 1,112 เหตุการณ์ แบ่งเป็น แผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก 160 เหตุการณ์ แผ่นดินไหว 947 เหตุการณ์ และหลุมยุบรวม 5 เหตุการณ์
อย่างไรก็ตามจากการสำรวจล่าสุด พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินถล่มระดับสูงมากถึงปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ 54 จังหวัด 463 อำเภอ 1,984 ตำบล 15,559 หมู่บ้าน คิดเป็นพื้นที่เสี่ยงรวม 142,067 ตารางกิโลเมตร (84.8 ล้านไร่) หรือประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศไทย
ขณะที่ นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) เปิดเผยว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงเกิดพิบัติมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ดินถล่ม และอื่นๆ และประเทศไทยเสี่ยงเป็นอันดับ 3 รองจาก ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ดังนั้นจะต้องเร่งสร้างระบบการแจ้งเตือนภัย และหาแนวทางรับมือเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงให้ได้ จากการสำรวจ พบว่า ปัจจุบันพื้นที่เสี่ยงเหล่านี้มี 600-700 จุดทั่วประเทศ ซึ่งสามารถเตือนภัยให้พี่น้องประชาชนได้บางส่วน ซึ่งมีเครื่องมือเตือนภัยมีอยู่แล้วบางส่วน แต่จำเป็นต้องของงบกลางเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
สำหรับแนวทางการรับมือ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ได้มีการเสนอการของบประมาณกลางวงเงิน 370 ล้านบาท ของกรมทรัพยากรธรณี เพื่อเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติ ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบ โดยก่อนนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการเซ็นต์อนุมัติให้เรียบร้อยแล้ว สำหรับงบดังกล่าวจะครอบคลุมถึงพิบัติทั้งหมด เช่น แผ่นดินไหว ดินโคลนถล่ม เป็นการเตรียมเครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ ที่จะมีการติดตั้งเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง จะป้องกัน และเฝ้าระวังทุกรอยเลื่อนที่มีโอกาสทำให้แผ่นดินไหว ซึ่งปัจจุบันโอกาสความเป็นไปได้ของแต่ละรอยเลื่อนไม่เท่ากัน
หน้าฝนย่างก้าวเข้ามาแล้ว ต้องลุ้นกันอีกทีว่าปี 2568 ประเทศไทยจะเผชิญกับภัยพิบัติอะไรบ้างหรือไม่ หรืออาจไม่เผชิญกับภัยพิบัติเลยก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก ลุ้นกันว่าภายใต้งบประมาณ 370 ล้านบาท จะรับมือได้หรือไม่?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
13 พ.ค. ทดสอบ Cell Broadcast ระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ 5 จังหวัด
รัฐทุ่ม 370 ล้าน รับมือ “ภัยพิบัติ” ดินสไลด์-น้ำท่วม-แผ่นดินไหว