svasdssvasds

ไทยมี “แนวปะการัง” 149,182 ไร่ สมบูรณ์ดีมาก 53% ลุยอนุรักษ์ต่อ

ไทยมี “แนวปะการัง” 149,182 ไร่ สมบูรณ์ดีมาก 53% ลุยอนุรักษ์ต่อ

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อัปเดตไทยมีแนวปะการัง! 149,182 ไร่ สมบูรณ์ดีมาก 53% ส่วนสถานภาพเสียหาย 24% พร้อมเร่งอนุรักษ์ต่อ

SHORT CUT

  • ความสมบูรณ์ของทะเลไทย บางทีก็ต้องวัดจากปะการัง อัปเดตไทยมีแนวปะการัง! 149,182 ไร่ สมบูรณ์ดีมาก 53% ส่วนสถานภาพเสียหาย 24%  พร้อมเร่งอนุรักษ์ต่อ
  • ทั้งนี้ได้แบ่งพื้นที่สำรวจรูปแบบสถานี จำนวน 336 สถานี โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 176 สถานี และ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 160 สถานี  พื้นที่ทำการสำรวจ ทั้งสิ้นจำนวน 103,122 ไร่
  • พร้อมลุยสำรวจและศึกษาสถานภาพแนวปะการังต่อไปเพื่อวางแผนการจัดการและอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการฟื้นฟูพื้นที่ที่เสื่อมโทรมซึ่งข้อมูลเหล่านี้

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อัปเดตไทยมีแนวปะการัง! 149,182 ไร่ สมบูรณ์ดีมาก 53% ส่วนสถานภาพเสียหาย 24% พร้อมเร่งอนุรักษ์ต่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้รายงานว่าสถานภาพปะการังในประเทศไทยในปี 2567 และในปี 2568 มีการติดตามสถานภาพปะการังภายหลังเกิดการฟอกขาว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเฝ้าระวัง และอนุรักษ์แนวปะการังซึ่งมีผลกระทบทั้งต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้

สรุปข้อมูลการสำรวจปะการังในปี 2567

•พื้นที่แนวปะการัง ในประเทศไทย ทั้งหมด 149,182 ไร่

•แบ่งพื้นที่สำรวจรูปแบบสถานี จำนวน 336 สถานี โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 176 สถานี และ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จำนวน 160 สถานี  พื้นที่ทำการสำรวจ ทั้งสิ้นจำนวน 103,122 ไร่ หรือประมาณ 48.45% ของพื้นที่ทั้งหมด

•พบพื้นที่ปะการังที่มีชีวิต จำนวน 50,765.1 ไร่

•สภาพปะการัง สมบูรณ์ดี - สมบูรณ์ดีมาก 53%

•สภาพปะการังสมบูรณ์ปานกลาง 23%

•สถานภาพเสียหาย - เสียหายมาก: 24%

สำหรับข้อมูลหลังการฟอกขาวในปี 2568 (ณ เมษายน) รายละเอียดดังนี้

-  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจไปแล้วจำนวน 79 สถานี

- พื้นที่ปะการังมีชีวิตพบประมาณ 11,658 ไร่ (45% ของพื้นที่แนวปะการังที่ทำการสำรวจ)

ไทยมี “แนวปะการัง” 149,182 ไร่ สมบูรณ์ดีมาก 53% ลุยอนุรักษ์ต่อ

อย่างไรก็ตาม กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ดำเนินการสำรวจและศึกษาสถานภาพแนวปะการัง เพื่อวางแผนการจัดการและอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการฟื้นฟูพื้นที่ที่เสื่อมโทรมซึ่งข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการวางแผนอนุรักษ์และเสริมสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related