svasdssvasds

ยังไม่ปลอดภัย เผยสภาพปลาแม่น้ำกก เป็นตุ่ม จับได้ช่วง เม.ย. - พ.ค. 68

ยังไม่ปลอดภัย เผยสภาพปลาแม่น้ำกก เป็นตุ่ม จับได้ช่วง เม.ย. - พ.ค. 68

พบปลาน้ำกกมีแผลพุพอง-สารหนูเกิน 19 เท่า ประชาชนเริ่มได้รับผลกระทบ แม่น้ำยังขุ่น-สีเข้มผิดปกติ สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต จี้รัฐเร่งเจรจาข้ามแดน หยุดสารพิษจากเหมืองรัฐฉาน

SHORT CUT

  • พบสารหนูในแม่น้ำกกเกินมาตรฐาน 19 เท่า ส่งผลให้ปลาเป็นแผลพุพอง ประชาชนแสบตา-ตาบวม คาดมาจากสารปนเปื้อนในน้ำ
  • สถานการณ์ยังวิกฤต น้ำยังขุ่น สีเข้มผิดปกติ หน่วยงานประกาศเตือนงดใช้น้ำ ชาวบ้านหวั่นกระทบสุขภาพระยะยาว
  • สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต จี้รัฐเร่งเจรจาข้ามแดน 4 ฝ่าย หยุดสารพิษจากเหมืองรัฐฉาน เสนอตั้งศูนย์ตรวจน้ำ-สื่อสารโปร่งใส ตรวจสารพิษทั่วลุ่มน้ำภาคเหนือ

พบปลาน้ำกกมีแผลพุพอง-สารหนูเกิน 19 เท่า ประชาชนเริ่มได้รับผลกระทบ แม่น้ำยังขุ่น-สีเข้มผิดปกติ สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต จี้รัฐเร่งเจรจาข้ามแดน หยุดสารพิษจากเหมืองรัฐฉาน

คุณจะกล้าซื้อไหมหากรู้ว่าปลานี้มาจาก “แม่น้ำกก” สายน้ำซึ่งเคยเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตพี่น้องประชาชนในภาคเหนือ แต่ปัจจุบันกลายเป็นแม่น้ำที่ไม่มีใครกล้าย่างกรายเข้าไป เฟื่องไปด้วยมลพิษ กระทบชีวิตทั้งสัตว์น้ำ และสุขภาพประชาชน ขณะเดียวกันยังไม่มีมาตรการใดจากส่วนกลาง

ยังไม่ปลอดภัย เผยสภาพปลาแม่น้ำกก เป็นตุ่ม จับได้ช่วง เม.ย. - พ.ค. 68

30 เม.ย. 68 ที่ผ่านมา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเก็บตัวอย่างน้ำแม่น้ำกกในจังหวัดเชียงราย 9 จุด เพื่อไปตรวตหาสารหนู ผลพบว่า ค่าสูงเกินมาตรฐานถึง 19 เท่า โดยจุดที่มากที่สุดคือ น้ำรวกไหลลงแม่น้ำโขง สามเหลี่ยมทองคำ อ.เชียงแสน พบสารหนูปริมาณ 0.19* mg/L (ค่ามาตรฐานต้องน้อยกว่า 0.01 mg/L)

ยังไม่ปลอดภัย เผยสภาพปลาแม่น้ำกก เป็นตุ่ม จับได้ช่วง เม.ย. - พ.ค. 68

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้หน่วยงานราชการทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายประกาศคำเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากแม่น้ำโดยตรง และเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 68 ที่ผ่านมา นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าฯ เชียงราย สั่งประชาชนงดใช้น้ำ หลังพบว่าน้ำกกขุ่นและสีเข้มผิดปกติ

5 พ.ค. 68 ที่ผ่านมา มูลนิธิสยามเชียงราย รับแจ้งเหตุชาวบ้านเมืองงิม หมู่ 4 ตำบลริมกก อำเภอเมืองเชียงราย เกิดอาการปวดแสบตาและตาบวมหลังลงคลองผันน้ำจากแม่น้ำกกเพื่อหาของที่ตกหล่นในน้ำ

ยังไม่ปลอดภัย เผยสภาพปลาแม่น้ำกก เป็นตุ่ม จับได้ช่วง เม.ย. - พ.ค. 68

ภายหลังเจ้าหน้าที่จากมูลนิธิฯ เข้าไปตรวจสอบอาการของชาวบ้านรายดังกล่าวพบว่าไม่ใช่การระคายเคืองจากแมลงหรือสิ่งแปลกปลอมทั่วไป แต่อาจเป็นการอักเสบจากสารปนเปื้อนในน้ำ ล่าสุด เตรียมตัวเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าเกี่ยวข้องกับสารพิษในแม่น้ำกกหรือไม่

6 พ.ค. 68 สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเร่งเจรจาระหว่างประเทศ 4 ฝ่าย ได้แก่ ไทย เมียนมา กลุ่มกองกำลังชาติพันธุ์ในรัฐฉาน และจีน เพื่อแก้ปัญหาการปล่อยสารพิษจากเหมืองต้นน้ำในเขตรัฐฉาน ประเทศเมียนมา อันเชื่อกันว่าเป็นต้นเหตุหลักของสารพิษแม่น้ำกก

ยังไม่ปลอดภัย เผยสภาพปลาแม่น้ำกก เป็นตุ่ม จับได้ช่วง เม.ย. - พ.ค. 68

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต เสนอ 7 แนวทางก้ไขปัญหาสารพิษแม่น้ำกก

  • แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษข้ามพรมแดน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และนักวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งในแหล่งกำเนิดมลพิษ ระหว่างทาง และผู้รับผลพิษ จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพน้ำในลุ่มน้ำกก จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย ภายใน 30 วัน
  • เปิดเผยและซักซ้อมมาตรการรับมืออุทกภัยลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำสาย อย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วม และมีประสิทธิภาพ
  • สร้างความร่วมมือกับประเทศเมียนมา และกลุ่มกองกำลังว้า เพื่อเพิ่มจุดเก็บตัวอย่างน้ำ เพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของสารปนเปื้อน ตลอดลำน้ำกก น้ำสาย ทั้งพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ทำเหมืองในรัฐฉาน ประเทศพม่า และพื้นที่แม่น้ำกกในประเทศไทย
  • การสร้างระบบสื่อสารสาธารณะที่โปร่ง เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพน้ำจังหวัดเชียงราย
  • การขยายขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นการลุกล้ำหรือทำลายสิ่งแวดล้อม ตลอดลุ่มน้ำ
  • เปิดการเจรจา 4 ฝ่ายคือ ไทย เมียนมา กองกำลังชาติพันธุ์ที่ควบคุมพื้นที่สัมปทานเหมือง และประเทศจีน เพื่อร่วมกันหาทางออกอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบ โดยมีกลไกระดับอาเซียนบวกประเทศจีน
  • การแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานในทุกระดับให้มีสัดส่วนของประชาชน ผู้ได้รับผลกระทบภาคประชาสังคม

อย่างไรก็ดี ยังไม่มีการเจรจาแก้ไขปัญหาจากภาครัฐที่เป็นรูปธรรม สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตเผยว่า จากนี้ทางสมาคมฯ จะร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาชนทำแผนและรับมือผลกระทบ 3 ระดับ ได้แก่

  • ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบสารเคมีปนเปื้อนในน้ำ ปลา และสัตว์น้ำ ในแม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำรวกและแม่น้ำมะ
  • ตรวจสอบสารเคมีปนเปื้อนในน้ำ ปลา และสัตว์น้ำในลำน้ำโขงจังหวัดเชียงราย และลำห้วยสาขาแม่น้ำกก จากอำเภอท่าตอน จังหวัดเชียงใหม่จนถึงปากแม่น้ำกกจำนวน 28 ลำห้วย
  • ตรวจสอบสารเคมีปนเปื้อนในน้ำ ปลา และสัตว์น้ำในแม่น้ำคำ แม่น้ำอิง และแม่น้ำงาว ระยะทาง 10 กิโลเมตรจากปากแม่น้ำ เพื่อหาข้อเท็จจริงในการสื่อสารให้กับชุมชนได้ตั้งรับปรับตัวจากข้อกังวลผลกระทบที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น ซึ่งในขณะนี้ได้ส่งตัวอย่างปลา จำนวน 4 ตัวอย่าง ให้ประมงจังหวัดเชียงรายตรวจสอบ คาดว่าจะทราบผลในอีก 3 สัปดาห์

 

ที่มา: สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related