svasdssvasds

"เก็บภาษีคาร์บอน" เกมการค้าใหม่! ส่งออกไทย เผชิญ CBAM ยุโรป– CCA อเมริกา

"เก็บภาษีคาร์บอน" เกมการค้าใหม่! ส่งออกไทย เผชิญ CBAM ยุโรป– CCA อเมริกา

ภาคธุรกิจไทย ผู้ส่งออกไทยต้องเตรียมเผชิญภาษีคาร์บอน CBAM ยุโรป CCA อเมริกา ที่หนักพอกัน กับการเก็บภาษีคาร์บอน ดังนั้นขณะนี้ต้องเร่งปรับตัวเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

SHORT CUT

  • ภาคธุรกิจไทย ผู้ส่งออกไทย ต้องเตรียมเผชิญ CBAM ยุโรป CCA อเมริกา
  • ทั้งสองมาตรการมีเป้าหมายเดียวกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • แต่มีส่วนที่แตกต่างกัน เช่น มาตรการ CBAM จะใช้บังคับกับสินค้านำเข้าเท่านั้น

ภาคธุรกิจไทย ผู้ส่งออกไทยต้องเตรียมเผชิญภาษีคาร์บอน CBAM ยุโรป CCA อเมริกา ที่หนักพอกัน กับการเก็บภาษีคาร์บอน ดังนั้นขณะนี้ต้องเร่งปรับตัวเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

ต้องยอมรับโลกการค้าในปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงขึ้น และโลกการค้าใหม่มุ่งสู่ธุรกิจสีเขียว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การค้าการขายก็จะซื้อขายกันเฉพาะธุรกิจธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนน้อย โดยเฉพาะยุโรป และอเมริกา ที่ออกกฎระเบียบการค้าใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ และจะมีการเก็บภาษีคาร์บอน จึงทำให้ผู้ประกอบการส่งออกไทย ต้องเร่งปรับตัวเพื่อทำสินค้าของตัวเองให้รักษ์โลก และส่งออกได้แบบสบายๆ และไม่ต้องเสียภาษีคาร์บอนในปริมาณที่มาก เพราะจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

ที่ผ่านมา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สหรัฐมีการได้เสนอร่างกฎหมาย Clean Competition Act (CCA) ตั้งเป้าเก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้าที่กระบวนการผลิตมีการปล่อยคาร์บอนปริมาณสูง โดยเสนอให้ผู้ผลิตของสหรัฐและผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ จะต้องเสียภาษีคาร์บอน 55 ดอลลาร์ต่อการปล่อยคาร์บอน 1 ตัน หากกระบวนการผลิตสินค้ามีการปล่อยคาร์บอนเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

 

ทั้งนี้หากกฎหมายได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาในปี 2567 จะเริ่มใช้บังคับกับสินค้า เช่น เพลิงฟอสซิล ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ปุ๋ย ไฮโดรเจน กรดอะดิพิก ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม กระจก เยื่อกระดาษและกระดาษ และเอทานอล และภายในปี 2569 จะขยายให้ครอบคลุมสินค้าสำเร็จรูปที่มีสินค้าข้างต้นเป็นส่วนประกอบในการผลิต ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าว ยังอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา

ส่วน CBAM ของยุโรป มีสินค้า 8 ประเภท ที่นำเข้ามาจำหน่ายในสหภาพยุโรป ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า ไฮโดรเจน เคมีภัณฑ์ และพลาสติกและอาจพิจารณาขยายขอบเขตให้ครอบคลุมสินค้าประเภทอื่นเพิ่มเติมได้ในอนาคต โดยในช่วง 3 ปีแรก (2566-2568) จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งผู้นำเข้ามีหน้าที่เพียงแค่รายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป

ทั้งนี้จะเริ่มบังคับใช้มาตรการนี้เต็มรูปแบบ ซึ่งผู้นำเข้าจะต้องซื้อและส่งมอบใบรับรอง CBAM ปัจจุบันร่างกฎหมาย CBAM อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาของรัฐสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป โดยยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการเร่งรัดกำหนดการมีผลบังคับใช้หรือขยายขอบเขตให้ครอบคลุมประเภทสินค้าเพิ่มขึ้นหรือไม่

อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบร่างกฎหมาย CCA ของสหรัฐกับมาตรการ CBAM ของสหภาพยุโรป พบว่า ทั้ง 2 มาตรการมีเป้าหมายเดียวกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่มีส่วนที่แตกต่างกัน เช่น มาตรการ CBAM จะใช้บังคับกับสินค้านำเข้าเท่านั้น และจะเก็บภาษีคาร์บอนที่เกิดขึ้นทั้งหมด ส่วนร่างกฎหมาย CCA จะใช้บังคับกับสินค้าที่ผลิตภายในประเทศและสินค้านำเข้า และจะเก็บภาษีคาร์บอนเฉพาะส่วนที่เกินกว่ากำหนดเท่านั้น

ไม่ว่าจะเป็นมาตรการไหนระหว่าง CCA และ CBAM ส่งออกไทยถ้าปรับตัวไม่ทันก็มีหนาวแน่นอน!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related