svasdssvasds

เจ๋ง! สนามบินในเยอรมนี ปูพื้นรันเวย์ด้วยยางมะตอย ทำจากเม็ดมะม่วงหิมพานต์

เจ๋ง! สนามบินในเยอรมนี  ปูพื้นรันเวย์ด้วยยางมะตอย ทำจากเม็ดมะม่วงหิมพานต์

สนามบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนีอย่าง แฟรงก์เฟิต (FRA) กำลังทดสอบรันเวย์สนามบิน ที่สร้างขึ้นจากคอนกรีตยางมะตอย (Asphalt Concrete) ซึ่งมีส่วนผสมของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew Shells) สุดเจ๋ง แข็งแร็งทนทนกว่ายางมะตอยกว่าปกติถึง 10 เท่า

หากในอนาคต สนามบินแฟรงก์เฟิตเสร็จสิ้นการทดสอบ และประกาศว่าจะใช้งานรันเวย์ดังกล่าว นี่จะถือเป็นสนามบินแรกในโลกที่มีการหยิบวัสดุธรรมชาติ มาสร้างเป็นคอนกรีตรักษ์โลก 

 ก่อนจะเข้าใจว่ายางมะตอยที่ทำมาจากเม็ดมะม่วงหิมพานต์เจ๋งอย่างไร แต่เข้าใจก่อนว่ายางมะตอยปกติ ประกอบไปด้วยอะไร ทนทานแค่ไหน โดยปรกติ คอนกรีตยางมะตอยจะถูกผลิตขึ้นจากวัสดุมวลรวม (Aggregate) จำพวก หินบด กรวด ทราย ฯลฯ ผสมเข้ากับ บิทูเมน (Bitumen) ซึ่งจะมีลักษณะเหนียวหนืด 

Credit Reuters

รวมถึง แอสฟัลทีน (Asphaltenes) ที่มีลักษณะเป็นผง กับ มัลทีน (Maltenes) ที่มีลักษณะเป็นของเหลว 2 อนุภาคนี้จะช่วยให้บิทูเมนมีความยืดหยุ่นและเกาะติดกับวัสดุมวลรวมได้ดียิ่งขึ้น

แต่อย่างไรก็ดี บริษัทสตาร์ทอัปของเยอรมนีชื่อ B2Square ได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า ไบโอบิทูเมน (BioBitumen) ซึ่งสามารถนำวัสดุธรรมชาติอื่น ๆ ในที่นี้คือ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มาผสมรวมกับบูทิเมนได้ 

ทำไมต้องเม็ดมะม่วงหิมพานต์? คำถามที่ใครหลายคนอาจสงสัย ทางบริษัทให้เหตุผลว่า เปลือกของเม็ดมะม่วงหิมพานต์มีความทนทาน แถมยังสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนได้ คือระหว่างเจริญเติบโตเม็ดมะม่วงหิมพานต์จะดูดซับ C02 เอาไว้

Credit Reuters

ซึ่งคาร์บอนในเปลือกจะถูกทำให้เป็นกลางด้วยเทคนิคของบริษัท จากนั้น จะถูกส่งไปแปรรูปเป็นส่วนผสมยางมะตอย หรือพูดให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็คือ พวกเขาฝังก๊าซคาร์บอนเอาไว้ที่พื้นรันเวย์แล้วนั่นเอง

B2SQUARE อ้างว่าไอโอบิทูเมนของบริษัทมีความทนทานมากกว่าบิทูเมนธรรมดาถึง 10 เท่า และไบโอบิทูเมน 1,000 กิโลกรัม สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 1,561 กิโลกรัม

Credit AFP

ปัจจุบัน สนามบินแฟรงก์เฟิตกำลังใช้วัสดุนี้ปูพื้นผิวรันเวย์สนามบิน ระยะทางยาว 200 เมตร ด้านหนึ่งปูด้วยยางมะตอยที่มีส่วนผสมของไบโอบิทูเมน และอีกด้านปูด้วยยางมะตอยธรรมดา ซึ่งจะทำให้สามารถเปรียบเทียบคุณภาพของยางมะตอยทั้ง 2 ชนิดได้

หากการทดสอบประสบความสำเร็จ ก็อาจจะปูทางไปสู่การใช้งานพื้นยางมะตอยแบบใหม่ ซึ่งทำให้สนามบินแฟรงก์เฟิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แผนที่ต้องการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็น 0 ภายในปี 2045 อาจอยู่ไม่ไกลแล้ว

 

ที่มา: Internationalairport

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related