svasdssvasds

London Bridge is falling down บทเพลงผ่านยุคสมัยแฝงปรัชญาการเกิด-ดับของชีวิต

London Bridge is falling down บทเพลงผ่านยุคสมัยแฝงปรัชญาการเกิด-ดับของชีวิต

บทเพลงกล่อมเด็ก London Bridge is falling down หนึ่งในเพลงที่บันทึกหน้าประวัติศาสตร์ สอดแทรกความหมายลึกซึ้งของชีวิต ถูกถ่ายทอดอยู่ในวัฒนธรรมร่วมสมัยมาจวบจนปัจจุบัน

บทเพลง London Bridge Is Falling Down หรือที่รู้จักกันในชื่อ "My Fair Lady" และ "London Bridge" แม้จะยังไม่สามารถหาความเชื่อมโยงกับปฏิบัติการของ Operation London Bridge ที่เป็นชื่อรหัสลับและแผนรับมือหลังจากที่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จสวรรคต ด้วยพระชนมายุ 96 พรรษาโดยประกาศอย่างเป็นทางการจากพระราชวังบัคกิงแฮม เมื่อวันที่ 8 กันยายน ตามเวลาท้องถิ่นของอังกฤษ โดยพระองค์ทรงครองราชย์มาครบ 70 ปี การสูญเสียสมเด็จพระราชินีนาถฯ สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้แก่คนทั่วโลก

(ทั้งนี้เนื่องจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง เสด็จสวรรคตขณะพำนักในปราสาท ไฮแลนด์ บัลมอรัล ของ สกอตแลนด์ จึงมีการแย้งว่าต้องใช้ "Operation Unicorn" แทน Operation London Bridge ทั้งนี้ยูนิคอร์นเป็นสัตว์ประจำชาติของสกอตแลนด์และเป็นส่วนหนึ่งของตราแผ่นดินร่วมกับสิงโตแห่งอังกฤษ)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยรหัสลับสำหรับแจ้งข่าวสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองนี้ คริสโตเฟอร์ ไกดต์ (Christopher Geidt) ราชเลขาธิการ รับหน้าที่ยกหูผ่านโทรศัพท์ที่มีระบบการป้องกันอย่างแน่นหนา เป็นข้าราชการคนแรกที่แจ้งข่าวกับนายกรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญอื่น ๆ ให้ทราบ เพื่อเริ่มดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ Operation London Bridge 

ทั้งนี้รหัสลับสำหรับบอกข่าวการสวรรคตของคนในราชวงศ์นั้น เริ่มขึ้นเมื่อสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 6 สวรรคตใน ค.ศ. 1952 โดยใช้ข้อความแจ้งข่าวว่า Hyde Park Corner แก่คนวงในและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อสื่อถึงว่าพระเจ้าแผ่นดินสิ้นแล้ว ซึ่งแต่ละพระองค์จะมีชื่อปฏิบัติการรับมือในกรณีสวรรคตเฉพาะพระองค์ ยกตัวอย่าง เช่น 

  • สำหรับสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี ใช้ชื่อ "ปฏิบัติการสะพานเทย์" (Operation Tay Bridge)
  • สำหรับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระใช้ชื่อ "ปฏิบัติการสะพานฟอร์ท" (Operation Forth Bridge) 
  • สำหรับเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ใช้ชื่อ "ปฏิบัติการสะพานเมนาย" (Operation Menai Bridge) 

ประวัติ The London Bridge หรือ สะพานลอนดอน 
ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 2000 ปีของ The London Bridge ตั้งแต่ก่อสร้างก็มีการซ่อมแซมเรื่อยมา จนถึงกลางศตวรรษที่ 18 สะพานลอนดอนเดิมเป็นเพียงทางสำหรับคนข้ามแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอน โดยโครงสร้างได้รับความเสียหายจากไฟไหม้ใหญ่ เมื่อปี ค.ศ. 1633 และรอดพ้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้อีกครั้งในปี 1666

ช่วงท้ายของศตวรรษที่ 18 ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า 19 โค้งที่เป็นของโครงสร้างของสะพานลอนดอนเดิมทรุดโทรมและสิ่งกีดขวางการจราจรในแม่น้ำ จึงทำให้มีการขยายซ่อมแซมให้กว้างขึ้น ในปี ค.ศ. 1763 ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 19 จึงถูกสร้างขึ้นใหม่แทนที่ ในหลายเวอร์ชันก่อนที่จะมาเป็น The London Bridge หรือ สะพานลอนดอน ในปัจจุบัน

  • ในปี 1831 สะพานลอนดอนโฉมใหม่ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ
  • ในปี 1972 สะพานรูปแบบใหม่ถูกสร้างขึ้นใช้อีกครั้ง 
  • ในปี 1831 สะพานลอนดอนเดิมนี้ถูกรื้อถอนโครงสร้างและขายให้กับนักธุรกิจ McCulloch ในราคา 2.4 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำมาสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งในเมืองเลกฮาวาซูซิตี รัฐแอริโซนาในสหรัฐอเมริกา ในปี 1971 จนถึงปัจจุบันทั้งนี้หินแต่ละบล็อกที่นำมาจากสะพานเดิมจะถูกลงตัวเลขกำกับทุกชิ้น 

Views to the south from 20 Fenchurch Street - 006.jpg
By <a href="//commons.wikimedia.org/wiki/User:Jordiferrer" title="User:Jordiferrer">Jordiferrer</a> - <span class="int-own-work" lang="en">Own work</span>, CC BY-SA 4.0, Link

ทั้งนี้เบื้องหลังที่่น่าสนใจเสาไฟหรูหรา ดั้งเดิมของสะพานลอนดอนนั้นถูกหลอมมาจากปืนใหญ่ที่กองทัพอังกฤษหลอมละลายขึ้นในจากช่วงสมัยของนโปเลียนหลังยุทธการวอเตอร์ลูในปี 1815

ที่มาบทเพลง London Bridge Is Falling Down

มีประวัติศาสตร์ยาวนานสืบกลับไปได้ถึงในช่วงยุคกลาง (คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15) จนเป็นบทเพลงที่ถูกอ้างอิงในงานวรรณกรรมและวัฒนธรรมร่วมสมัยมาจนถึงปัจจุบัน

  • ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีบันทึกเสียงบทเพลงนี้เป็นครั้งแรก
  • ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 เนื้อเพลงถูกพิมพ์ครั้งแรกในรูปแบบร่วมสมัยซึ่งถูกแปลงไปเป็นเวอร์ชันต่างๆ ทั่วโลก
  • ในศตวรรษที่ 19 บทเพลงนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาหลังจากมีการบันทึกเสียงพร้อมกับใส่ทำนอง 

ซึ่งในบทเพลงกล่อมเด็กนี้ แต่ละท่อนจะสะท้อนเชื่อมโยงถึงการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของสะพานลอนดอนแห่งนี้ 
แต่ท่อนแรกที่ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้บ่อยที่สุดและโด่งดังที่สุด คือ 

London Bridge is falling down,
Falling down, falling down.
London Bridge is falling down,
My fair lady.

สะพานลอนดอนกำลังพังลงมา
พังลงมา พังลงมา
สะพานลอนดอนกำลังพังลงมา
นางฟ้าของฉัน

โดยบทเพลงนี้ใช้รูปแบบการแต่งสำหรับเพลงกล่อมเด็กโดยทั่วไป ที่จะแบ่งเป็นสี่วรรค และคำแรกมีสองพยางค์ ซึ่งจะเน้นที่พยางค์แรกของแต่ละวรรค โดยร้องซ้ำสองครั้งเพื่อช่วยให้จดจำง่ายแทนการใช้คำคล้องจอง

เกมที่ทำให้บทเพลงยืนยง
สิ่งทำให้เพลงนี้กลายเป็นบทเพลงประจำสำหรับช่วงวัยอนุบาลที่ยังใช้ต่อกันเรื่อยมาจนปัจจุบัน นั่นก็เพราะสามารถมีการละเล่นประกอบการร้องเพลงได้ โดยรูปแบบจะเป็นการให้เด็กสองคนยืนหันหน้าเข้าหากันจับมือชูขึ้นสูงเสมือนสะพานและให้เด็กคนอื่นๆ เดินลอด ถ้าจบเพลงแล้วลดมือลงที่ใครคนนั้นก็ถือว่าโดนจับได้ เรียกเสียงหัวเราะให้กับเด็กๆ ในกิจกรรมนี้ 

ความหมายบทเพลง “London Bridge Is Falling Down” 
เบื้องหลังนั้นคือการแสดงให้ถึงความไม่แน่นอนจีรังของชีวิต มีเกิดและมีดับ เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ในเมื่อสะพานลอนดอนอันยิ่งใหญ่ยังสามารถพังทลาย ก็เฉกเช่นเดียวกับทุกสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน แม้สะพานจะสร้างขึ้นอย่างยากลำบาก แต่เมื่อถึงเวลาผ่านยุคสมัย บทเพลงก็ชี้ให้เห็นว่าชิ้นส่วนต่างๆ ของมันก็กระจัดกระจาย ลอยไปบนแม่น้ำ ไม่ว่าจะเป็นสลักเล็กๆ หรือ คานเหล็กใหญ่โตก็ตาม 

ตำนานการบูชาด้วยชีวิตมนุษย์
เคยมีตำนานเล่าต่อกันว่าถ้าไม่บูชายัญด้วยชีวิตมนุษย์ในใต้โครงสร้าง จะทำให้สะพานลอนดอนพังทลาย ก็เพื่อให้เป็นยามคอยดูแลรักษา อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานยืนยันทางโบราณคดีในการตรวจเจอศพมนุษย์จากโครงสร้างเดิมในฐานของสะพาน แต่เคยพบศพจริงในปี 2007 

Fair Lady”นางฟ้า นางงาม ในที่นี้สื่อถึงใคร 
ซึ่งมีหลากหลาย ทฤษฎีให้ความเห็นไว้ เช่น บางคนบอกว่าเป็นพระแม่มารี ซึ่งมีในประวัติศาสตร์ ช่วงที่โดนพวกไวกิ้งบุกโจมตีนั้นเกิดขึ้นตรงกับในวันเกิดของพระแม่มารี บางคนอ้างว่า “Fair Lady” ในที่นี้คือมาทิลด้าแห่งสกอตแลนด์ผู้ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี 1080 ถึง 1118 ซึ่งมีส่วนสำคัญในระหว่างการสร้างสะพานอยู่หลายช่วงสมัย แต่ก็มีคนอ้างถึง เอเลนอร์แห่งโพรวองซ์ (1223-1291) ซึ่งดูแลรายได้ของสะพานตั้งแต่ปี 1269 ถึง 1291 เป็นต้น 

มรดกของเพลงนี้ที่ให้ไว้แก่สังคม 
เพลงกล่อมเด็กเพลงนี้ถือเป็นหนึ่งในเพลงที่โด่งดังที่สุดเพลงหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ เพราะได้ถูกอ้างถึงในหลายบริบท อาทิกวีเอกชื่อดังของโลก T.S. Eliot กล่าวอ้างในบทกวีที่ชื่อ The Waste Land ซึ่งเป็น หนึ่งในบทกวีที่สำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 20 และเป็นงานที่สำคัญของกวีนิพนธ์สมัยใหม่ในปี 1956 ได้มีละครเพลงชื่อเรื่อง My Fair Lady ซึ่งบางคนก็อ้างอิงว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทเพลงกล่อมเด็กนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

ที่มา

สำรวจโลก

BBC

wikipedia

americansongwriter

golakehavasu