svasdssvasds

วันมาฆบูชา 2567 ตรงกับวันไหน ประวัติ วันสำคัญทางพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา 2567 ตรงกับวันไหน ประวัติ วันสำคัญทางพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา 2567 วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ประวัติ วันสำคัญทางพุทธศาสนา กล่าวคือการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุ 1,250 รูป ที่มารวมกันโดยมิได้นัดหมาย

SHORT CUT

  • วันมาฆบูชา ปีนี้ตรงกับวันที่ 24 ก.พ. 67 และกำหนดให้หยุดเชยวันที่ 26 ก.พ. 67
  • วันที่พระภิกษุ 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
  • ความสำคัญ เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก
  • กำเนิดหลักธรรมโอวาทปาติโมกข์คำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา 2567 วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ประวัติ วันสำคัญทางพุทธศาสนา กล่าวคือการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระภิกษุ 1,250 รูป ที่มารวมกันโดยมิได้นัดหมาย

วันมาฆบูชา 2567 ตรงกับวันไหน ประวัติ วันสำคัญทางพุทธศาสนา

สำหรับ วันมาฆบูชา ตรงกับวันเเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ถือเป็นวันหยุดยาวคือวันเสาร์ อาทิตย์ และวันจันทร์ ถือเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตามปฏิทินวันหยุดราชการ และมีความสำคัญในเชิงพุทธศาสนาคือการที่พระพุทธเจ้าแสดงโอวาทปาติโมกข์เป็นครั้งแรก

วันมาฆบูชา 2567 ตรงกับวันไหน ประวัติ วันสำคัญทางพุทธศาสนา

ประวัติ วันมาฆบูชา ความเป็นมา เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2,500 ปีก่อน เหตุการณ์สำคัญเรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" หมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ 4" ประกอบด้วย

  1. พระภิกษุสงฆ์จำนวน 1,250 รูปมารวมกันโดยไม่ได้นัดหมาย 
  2. เป็นผู้ได้อภิญญา 6 และได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า หรือเรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา"
  3. พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นล้วนแต่เป็นผู้บรรลุพระอรหันต์แล้วทุกๆ องค์
  4. เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง วันเพ็ญเดือนมาฆะ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3

วันมาฆบูชา 2567 ตรงกับวันไหน ประวัติ วันสำคัญทางพุทธศาสนา

วันมาฆบูชา 2567 ตรงกับวันที่ 24 มี.ค. 66 ประวัติ ความหมาย คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นครั้งแรก ประกอบด้วยหลักธรรม 3 ประการ ที่เป็นธรรมนูญของพระสงฆ์ใน การยึดถือปฏิบัติต่อไป ประกอบด้วย

  1. ไม่ทำความชั่ว 
  2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม 
  3. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์

วันมาฆบูชา 2567 ตรงกับวันไหน ประวัติ วันสำคัญทางพุทธศาสนา

ในส่วนของกิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันพระใหญ่ "วันมาฆบูชา 2567" คือการตักบาตรทำบุญ รักษาศีล และการเวียนเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัยด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา

 

 

related