svasdssvasds

แจงยิบ! “สิทธิประโยชน์ EEC” ใครได้-ใครเสีย?

แจงยิบ! “สิทธิประโยชน์ EEC” ใครได้-ใครเสีย?

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ชี้แจงประเด็นเกี่ยวกับ “สิทธิประโยชน์ต่อนักลงทุนในพื้นที่ EEC กับการดำเนินโครงการในมิติต่าง ๆ” ... โดยในวันนี้ (28 ก.ย. 60) ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเอกฉันท์ 175 คะแนน รับหลักการ “ร่าง พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ...” ซึ่งกำหนดกรอบเวลาทำงานต้องให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ก่อนส่งกลับมาให้ สนช. ลงมติอีกครั้ง

แจงยิบ! “สิทธิประโยชน์ EEC” ใครได้-ใครเสีย?

-“สิทธิในการใช้ที่ดิน” ของนักลงทุนต่างชาติ ที่ยาวถึง 99 ปี ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ระยะยาวเกินไป”-

“คำถามนี้อยู่บนความเข้าใจที่ผิด เพราะ พ.ร.บ.EEC กำหนดระยะเวลาที่ใช้สิทธิการเช่าใช้ที่ดินนั้น คือ ‘สูงสุด 50 ปี และต่อได้อีกไม่เกิน 49 ปี’ ซึ่งปัจจุบันนี้มีกฎหมายที่กำหนดการใช้ที่ดินระยะยาวอยู่แล้ว เช่น

1.พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรม พ.ศ. 2542 กำหนดระยะเวลาการเช่าไว้ 30-50 ปี และต่อให้ต่ออายุการเช่าอีกได้ไม่เกิน 50 ปี

2.คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 17/2558 กำหนดให้การเช่าที่ดินในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน มีระยะเวลาการเช่าไม่น้อยกว่า 50 ปี และอาจต่ออายุการเช่าได้อีกตามระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด

3.ในประเทศอื่น ๆ เช่น ‘มาเลเซีย’ กำหนดให้เช่าได้ไม่เกิน 99 ปี, ‘กัมพูชา-ลาว’ กำหนดระยะเวลาการเช่าที่ดินในเขตส่งเสริมได้สูงสุด 99 ปี ส่วน ‘เวียดนาม’ 70 ปี และต่อได้หลายครั้ง

4.ด้านการถือครองที่ดิน ปัจจุบัน พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 กำหนดให้ผู้ประกอบการต่างชาติ สามารถถือกรรมสิทธิในที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด รวมทั้ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุนฯ กำหนดให้ผู้ประกอบการมีสิทธิถือกรรมสิทธิที่ดินได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดตามอายุบัตรส่งเสริม”

-ปริมาณการใช้งบประมาณแผ่นดินในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของ “โครงการ EEC” นั้น ถือว่า มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย มากกว่ากรอบงบประมาณของรัฐบาลใด ๆ ก่อนหน้านี้-

“รัฐบาลที่ผ่าน ๆ มา เห็นความจำเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยกำหนดไว้ 1.5 ล้านล้านบาทบ้าง 2.0 ล้านล้านบาทบ้าง แต่ไม่ได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะขยายให้ EEC เป็นประตูเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจโลก ก็อยู่บนความจำเป็นเดียวกับรัฐบาลที่ผ่านมา

แจงยิบ! “สิทธิประโยชน์ EEC” ใครได้-ใครเสีย?

โครงการหลัก ๆ เกือบทั้งหมดใน EEC ที่จริงเป็นการ ‘ริเริ่ม’ และ ‘อนุมัติ’ จากรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้อยู่แล้ว เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง, โครงการท่าเรือแหลมฉบัง, ท่าเรือมาบตาพุด และมอร์เตอร์เวย์ โดยโครงการเหล่านี้ผ่านการพิจารณาและบางโครงการก็ได้การดำเนินการทำ EIA แล้วเสร็จไปแล้ว ขณะที่ หลายโครงการก็อยู่ในกระบวนการทำ EIA กันมาโดยต่อเนื่อง

EEC ทำหน้าที่ประสานโครงการเหล่านี้ให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศโดยเฉพาะ

1.สนามบินอู่ตะเภา ต้องเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก คือ เป็น ‘ฮับของธุรกิจการบินของไทย’

2.รถไฟความเร็วสูง ต้องเชื่อม 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์เต็มที่และสนับสนุนการท่องเที่ยว ลดความแออัดของสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ

3. 3 ท่าเรือน้ำลึก ต้องมีรถไฟรางคู่เข้าเชื่อม เพื่อเพิ่มการขนส่งทางราง ลดการขนส่งทางถนนโดยเร็วที่สุด ให้ได้มากที่สุด เพื่อความสะดวกในการเดินทางและลดอุบัติเหตุ

โครงการใหม่ที่เกิดขึ้นใน EEC คือ การพัฒนา ‘สนามบินอู่ตะเภา’ ให้เป็นเมืองการบินภาคตะวันออก

อย่างไรก็ตาม เป็นความตั้งใจที่ยาวนานหลายทศวรรษ ตั้งแต่มีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกครั้งนี้ คือ การทำให้วิสัยทัศน์และความตั้งใจที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ก็เห็นความจำเป็นในการนำ ‘สนามบินอู่ตะเภา’ มาใช้ประโยชน์ทางเชิงพาณิชย์ตลอดมา จึงเป็นความภูมิใจของ EEC ที่รัฐบาลชุดนี้สามารถผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจน”

-การให้เอกชนเข้ามาบริหารพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ เป็นการให้ประโยชน์แก่เอกชนบางราย?-

“ต้องเข้าใจว่า ทุกทางเลือกมีข้อจำกัด มีข้อดี ข้อเสีย ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระงบประมาณแผ่นดินในการลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐาน และเพื่อเป็นการไม่ทำให้รัฐบาลต้องกู้เงินเพื่อลงทุนกับโครงการต่าง ๆ รัฐบาลได้เลือกที่จะใช้วิธีการร่วมทุนกับเอกชน หรือ PPP (Public Private Partnership) ที่รัฐบาลเองจะมีเอกชนเป็นคู่สัญญา

**การหาเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหาได้ 3 ทาง ซึ่งมีความเหมาะสมต่างกัน**

1.ใช้งบประมาณ ...ไม่เหมาะสม เพราะงบประมาณมาจากภาษีอากร ซึ่งควรนำไปช่วยเหลือประชาชนทางด้านการศึกษา การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย การป้องกันประเทศ และการสาธารณสุข

หากใช้วิธีนี้ ไม่มีงบประมาณไปช่วยด้านสังคมและช่วยคนจน”

2.เงินกู้ ...เหมาะสมกับบางโครงการ เช่น รถไฟรางคู่-อ่างเก็บน้ำ เพราะเป็นโครงการที่ความจำเป็นสูง แต่มีผลตอบแทนทางการลงทุนน้อย และรัฐต้องลงทุนเอง เพื่อแก้ไขปัญหาการผูกขาด และเอกชนไม่สามารถร่วมลงทุนได้

หากใช้วิธีนี้มาก ๆ เกินกำลัง จะเป็นหนี้สาธารณะไปถึงคนรุ่นต่อไป

3.การร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน ...เหมาะสมสำหรับโครงการที่มีผลตอบแทนทางการเงินและเอกชนสนใจลงทุน โดยหากรัฐจะให้เงินชดเชยบ้าง ก็ได้ กรณีเหมาะสมสำหรับ รถไฟความเร็วสูง, สนามบินอู่ตะเภา และท่าเรือน้ำลึก ซึ่งจะเป็นการประหยัดเงินงบประมาณให้ประเทศสามารถไปหางานที่สำคัญให้กับประเทศและประชาชนผู้มีรายได้น้อย

แจงยิบ! “สิทธิประโยชน์ EEC” ใครได้-ใครเสีย?

หากใช้วิธีนี้ ได้การลงทุนจากเอกชนมีเงิน เงินเหลือจำนวนมาก และได้ใช้ประโยชน์จากโครงการทันที โดยต้องดูแลกำกับโครงการตามสัญญาด้วย วิธีนี้ เอกชนผู้ร่วมลงทุนเองจะเข้ามาบริหารพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่ได้จากสัญญา ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล ย้ำว่า วิธีนี้เป็นการลดภาระทางงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลได้”

-การใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวนมากมายมหาศาล ควรกระจายไปในทุก ๆ พื้นที่ มากกว่าการลงกับจังหวัดเพียงแค่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออกเท่านั้น-

“พื้นที่นี้ได้ถูกวางตำแหน่งและได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ยุค Eastern Seaboard เมื่อ 3 ทศวรรษที่แล้ว ให้เป็น ‘ประตูของประเทศ’ ท่าเรือขนาดใหญ่ก็ตั้งอยู่ที่นี่ เป็นปากประตูของเศรษฐกิจทั้งประเทศ มิใช่เป็นพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เป็นของตนเอง การลงทุนพัฒนากับประตูของประเทศ เป็นการลงทุนเพื่อคนทั้งประเทศ ที่ผู้ได้รับประโยชน์ คือ ประเทศไทยทั้งหมด มิใช่พื้นที่เดียว

คนในพื้นที่ 3 จังหวัด เขาคิดตรงกันข้ามว่า ทำไมต้องมาแบกรับภาระการเป็นประตูและเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจให้กับคนทั้งประเทศ

นอกจากนี้ การวางแผนโครงสร้างพื้นฐานมิได้พิจารณาอย่างเป็นอิสระจากโครงข่ายอื่น ๆ ในภูมิภาคอื่น ๆ หากแต่ได้มีการวางแผนให้เชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์แบบ เช่น การขนส่งระบบรางพื้นที่นี้ ที่จะต้องเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่จากหนองคายและเชียงใหม่ เป็นต้น

แจงยิบ! “สิทธิประโยชน์ EEC” ใครได้-ใครเสีย?

สำหรับ ‘สนามบินอู่ตะเภา’ ที่ได้รับการพัฒนาเป็นสนามบินพาณิชย์ จะเป็นการลดภาระจากสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิที่แออัดอยู่แล้ว และเป็นการกระจายตัวออกมา”

-สิทธิพิเศษ “การลดภาษีนิติบุคคล” ให้แก่นักลงทุนที่ให้มากกว่าที่เคยเป็น-

“เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะว่า สิทธิพิเศษที่มีการอ้างถึงว่า เป็นการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่มีอยู่ตามกรอบกฎหมาย BOI ที่มีอยู่เดิม เมื่อมีระเบียงของ BOI ระบุเอาไว้ และเป็นไปตามกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ทั้งหมดมิได้มีอะไรที่มากเกินไปกว่าเพดานที่ BOI ได้มีการระบุเอาไว้

แจงยิบ! “สิทธิประโยชน์ EEC” ใครได้-ใครเสีย?

กรณี ‘กระทรวงการคลัง’ ซึ่งได้เพิ่มสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงสุดถึง 17% ‘เป็นการสร้างฐานภาษีใหม่’ เพราะเมื่อเราเก็บภาษีแพง ผู้บริหาร นักลงทุน ผู้เชี่ยวชาญ เหล่านี้ไม่เปิดบัญชีหรือยื่นภาษีในประเทศไทย แต่เปิดบัญชีเงินเดือนอยู่ต่างประเทศ เข้ามาทำงานโดยไม่เสียภาษี ดังนั้น การกำหนดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 17% ทำให้ประเทศไทยได้บัญชีเงินเดือนเหล่านี้มาอยู่ในประเทศไทย และเรากลับได้รับภาษีส่วนนี้ 17% เพิ่มเติมแทน”

-อุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่ดึงเข้ามา ไม่ได้ช่วยสร้างงานเพิ่มเติมให้กับคนไทย และยังเป็นอุตสาหกรรมเบา ที่อาจจะนำไปสู่การเคลื่อนย้ายการลงทุนได้ง่าย-

“ไม่มีอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานราคาถูกในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายใน EEC ภูมิทัศน์ อุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไปมาก อุตสาหกรรมมีการพัฒนาไปมาก EEC จึงวางพื้นฐานสำหรับ ‘อุตสาหกรรมใหม่’ ที่กำลังเติบโต และหากว่า เราไม่พัฒนาตาม ที่สุดก็จะโดนแซงไป ยกตัวอย่างเช่น

1.อุตสาหกรรมการบิน หากไม่มีการนำอุตสาหกรรมการบินเข้ามาในประเทศไทย ท่ามกลางการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินโลกและอุตสาหกรรมในภูมิภาค เราก็จะโดนทิ้งเอาไว้เบื้องหลัง

2.อุตสาหกรรมรถไฟฟ้า คือ อุตสาหกรรมที่จะมีบทบาทมากกว่าอุตสาหกรรมรถเครื่องยนต์สันดาป หากไม่วางพื้นฐานประเทศไทย ก็จะโดนทิ้งไว้เบื้องหลัง

3.อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และ Automation ก็คือ ทิศทางอุตสาหกรรมโลก เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมที่จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และทั้งหมดนี้ คนไทยจะอยู่เบื้องหลังในการขับเคลื่อนไปด้วย

 

แจงยิบ! “สิทธิประโยชน์ EEC” ใครได้-ใครเสีย?

related