svasdssvasds

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ แนะ กมธ.เร่งพิจารณาร่างพ.ร.บ.น้ำ

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ แนะ  กมธ.เร่งพิจารณาร่างพ.ร.บ.น้ำ

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ แนะคณะกรรมาธิการน้ำ เร่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ให้เสร็จโดยเร็ว พร้อมระบุ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ จะบังคับใช้เฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน เพื่อความเท่าเทียมในการใช้น้ำ ส่วนเรื่องการเก็บค่าใช้น้ำต้องฟังเสียงประชาชนก่อน

[caption id="attachment_112157" align="aligncenter" width="603"] อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ แนะ  กมธ.เร่งพิจารณาร่างพ.ร.บ.น้ำ นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ[/caption]

วันที่ 3 ต.ค.60--นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เปิดเผยกับสปริงนิวส์ ถึงกรณีการจัดทำร่าง พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะมีการจัดเก็บค่าใช้น้ำจากเกษตรกร และมีความสับสนในนิยามของคำว่า เชิงพาณิชย์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำอธิบายว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว จริงๆไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะจะบังคับใช้ในพื้นที่นอกเขตชลประทานเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ในเขตชลประทาน ซึ่งมีกรมชลประทานเป็นผู้ดูแลอยู่

โดยกฎหมายฉบับนี้ ร่างขึ้นมาเพื่อจัดสรรการใช้น้ำอย่างเท่าเทียมกันในพื้นที่นอกเขตชลประทาน เนื่องจากตามกฎหมาย มาตรา1355 ระบุว่า เจ้าของที่ดินใกล้แหล่งน้ำ สามารถใช้น้ำได้ตามจำเป็น แต่ในความเป็นจริง ผู้ที่อยู่ต้นน้ำมีโอกาสใช้น้ำได้มากกว่าผู้ที่อยู่ท้ายน้ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ต้องใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก ซึ่งหากแบ่งตามพื้นที่จริงๆจะพบว่า พื้นที่การเกษตรในประเทศไทย มีประมาณ 149.2 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ในเขตชลประทานเพียง 30 ล้านไร่ แต่กรมชลประทานสามารถขยายพื้นที่ปีนึงได้ไม่เกิน 3 แสน 5 หมื่นไร่ กฎหมายฉบับนี้จึงมีส่วนสำคัญมากต่อความเป้นอยุ่ของประชาชน

ส่วนกรณีที่ คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ระบุว่า จะให้กรมทรัพยากรน้ำกลับไปยกร่างกฎกระทรวงขึ้นมาใหม่ โดยเฉพาะมาตรา 39 ซึ่งเป็นประเด็นการจัดเก็บค่าใช้น้ำ และการแบ่งประเภทการใช้น้ำ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ระบุว่า การจะกำหนดหลักเกณฑ์ แบ่งประเภทเกษตรกรที่จะต้องเก็บค่าน้ำ ตามหลักจะต้องให้กฎหมายแม่ผ่านการพิจารณาก่อน จึงจะออกกฎกระทรวงได้ ดังนั้น คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ จึงควรเร่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำให้เสร็จโดยเร็ว ส่วนร่างกฎกระทรวง หลักเกณฑ์ต่างๆทางกรมทรัพยากรน้ำ จะต้องไปทำความเข้าใจและรับฟังความเห็นจากประชาชนก่อนจึงจะร่างออกมา

related