svasdssvasds

เคยเห็นหรือยังแห่งเดียวในประเทศไทย!! สะพานน้ำ จากโครงการพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9

เคยเห็นหรือยังแห่งเดียวในประเทศไทย!! สะพานน้ำ จากโครงการพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

จากกรณีที่โลกออนไลน์ได้มีการแชร์รูปภาพของสะพานน้ำแห่งหนึ่ง โดยหลายคนเกิดความสงสัยว่ามันมีจริงหรือ?แล้วมันสร้างประโยชน์อะไรได้บ้าง จากการตรวจสอบแล้วพบว่าแท้ที่จริงแล้วสะพานน้ำดังกล่าวเป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากแนวทางพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ รวมถึงปัญหาการจราจร ซึ่งสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับประเทศ

เคยเห็นหรือยังแห่งเดียวในประเทศไทย!! สะพานน้ำ จากโครงการพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9

โครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี และตำบลบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยทรงมีพระราชดำริกับนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กปร. ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำริกับนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กปร. ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สรุปความว่า“การระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิให้พิจารณาขุดลอกคลองระบายน้ำโดยมีขนาดที่เหมาะสมไม่ใช่เพื่อระบายน้ำเฉพาะบริเวณสนามบินให้พิจารณารวมบริเวณรอบ ๆ ด้วย”

เคยเห็นหรือยังแห่งเดียวในประเทศไทย!! สะพานน้ำ จากโครงการพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9

แนวทางพระราชทานเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก ปัญหาพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง เป็นพื้นที่ลุ่มมีระดับพื้นดินต่ำ บางแห่งมีลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งท้องกระทะ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ และส่วนหนึ่งเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดินด้วยปัจจัยต่าง ๆ พื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นพื้นที่ ชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ จึงเป็นสถานที่รองรับการขยายตัวจากความหนาแน่นของประชากรในเขตเมืองหลวง เป็นชุมชนที่พักอาศัย บ้านจัดสรร นิคมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย ตลาด ร้านค้า รวมถึงหน่วยงานของรัฐและเอกชนเพิ่มขึ้นในเขตพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตามมาอย่างรวดเร็ว เช่น มีการสร้างระบบทางด่วน การสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณทางน้ำหลาก ทำให้สูญเสียพื้นที่รองรับน้ำกว่า 20,000 ไร่ การสร้างและการขยายถนน โครงการบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การสูบน้ำบาดาล ตลอดจนการปลูกสร้างที่พักอาศัย โรงเรือนต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงการขยายตัวและการพัฒนาพื้นที่อย่างรวดเร็ว ไม่เป็นไปตามผังเมืองรวมอย่างเป็นระบบ ย่อมจะส่งผลต่อสาธารณะเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกิดสภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่ส่วนนี้ต่อเนื่องลึกเข้าสู่พื้นที่ชั้นกลางและชั้นในของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑลกรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการบรรเทาภัยทางน้ำจึงได้ทำการว่าจ้างสถาบันที่ปรึกษา ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินงานศึกษาสำรวจและออกแบบเบื้องต้น แล้วเสร็จเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2547 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเปิดโครงการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2547 ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (พ.ศ.2548 – 2553) ด้วยงบประมาณกว่าหมื่นล้านบาท

เคยเห็นหรือยังแห่งเดียวในประเทศไทย!! สะพานน้ำ จากโครงการพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9

โดยวัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ

1. เพื่อเป็นคลองระบายน้ำสายหลักของพื้นที่บริเวณโดยรอบสนามบิน โดยการเร่งระบายน้ำจากคลองสำโรงไปยังชายทะเลและสูบระบายออกสู่ทะเลโดยตรง ทำให้สามารถลดสภาวะน้ำท่วมและความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิผล

2. เพื่อสามารถติดตามสภาพน้ำหลากและการทำงานของเครื่องสูบน้ำในการบริหารจัดการน้ำหลากทั้งระบบลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง

3. เพื่อเป็นถนนเชื่อมโยงถนนสุขุมวิท-เทพารักษ์ และถนนบางนา-ตราด ทำให้สามารถช่วยลดปัญหาการจราจรของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาค่อนข้างมาก และจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อสนามบินสุวรรณภูมิเปิดดำเนินการ

4. เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้บางส่วน สำหรับทำการเกษตรหรือกิจกรรมอื่นบริเวณใกล้เคียง

5. เพื่อช่วยเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและระบบนิเวศของจังหวัดสมุทรปราการ

การทำงานของ สะพานน้ำยกระดับ จะมี อาคารสะพานน้ำยกระดับและอาคารทิ้งน้ำเป็นอาคารรับน้ำจากสถานีสูบน้ำ โดยยกระดับให้น้ำไหลไปตามสะพานน้ำ อัตราการไหล 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ข้ามคลองชายทะเลและถนนสุขุมวิท ให้ลงสู่ทะเลโดยตรง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กยกระดับ รูปตัวยู ท้องคลองกว้าง 25 เมตร กำแพงสูงข้างละ 3.15 เมตร สูงจากถนนสุขุมวิทประมาณ 6 เมตรประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ

1. ลดพื้นที่น้ำท่วมลง 140 ตารางกิโลเมตร และ ช่วยลดความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมขัง ปัญหาน้ำหลากและอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จาก 10 วันเหลือ 2 วัน โดยพิจารณาจากปริมาณน้ำฝนสูงสุดในรอบ 25 ปี ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2533

2. มีการสร้างถนนคันคลอง และสะพานสำหรับรถยนต์เชื่อมจากถนนสุขุมวิท-เทพารักษ์ไปจนถึงบางนาตราดจำนวน 2 ช่องจราจร เพื่อเตรียมไว้รองรับการขยายถนน เป็น 4 ช่องจราจรในอนาคต ซึ่งช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณพื้นที่โครงการและจังหวัดสมุทรปราการ

3. เป็นแหล่งน้ำจืดสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง เพื่อการเกษตรกรรมประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร

4. การบริหารจัดการน้ำหลากมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม สำนักพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่

คลิปจากผู้ใช้ยูทูป npb uzi

ขอบคุณภาพจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ @ShunJou

related