svasdssvasds

เปิดฉากทัศน์ที่ต่างกัน "แพทองธารVS บิ๊กตู่" ถ้าศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ

เปิดฉากทัศน์ที่ต่างกัน "แพทองธารVS บิ๊กตู่" ถ้าศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ

จากกรณีที่กลุ่มสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 36 คน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยถอดถอน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

จากกรณีที่กลุ่มสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 36 คน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้วินิจฉัยถอดถอน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยอ้างหลักฐานเป็นคลิปเสียงสนทนาระหว่างน.ส.แพทองธาร กับสมเด็จฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา 

นอกจากนี้ ในวันที่ 8 ก.ค.นี้ จะมีการหารือ รับทราบความคืบหน้า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งไปยังอัยการสูงสุด(อสส.) เพื่อขอให้รายงานกรณี นายณฐพร โตประยูร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีล้มล้างการปกครอง เกี่ยวกับเรื่องกระบวนการเลือก สว.ด้วย

หากไทม์ไลน์ในวันที่ 8 ก.ค.จะมีการพิจารณาในการหารือเรื่องกระบวนการเลือก สว.คาดว่ามีแนวโน้มความเป็นไปได้ว่า ในวันที่ 1 ก.ค.ที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะหยิบยกกรณีร้องเรียนกล่าวหา “นายกฯแพทองธาร” มาพิจารณา ซึ่งเรื่องนี้ถูกร้องเรียนโดย “กลุ่ม สว.สีน้ำเงิน” ผ่าน “ประธานวุฒิสภา” โดยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานะความเป็นนายกรัฐมนตรีของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร สิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ จากกรณีปรากฏคลิปเสียงสนทนากับสมเด็จฮุน เซน

โดยในคำร้องดังกล่าว ยังขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ น.ส.แพทองธาร ผู้ถูกร้อง หยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคสอง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 71 ประกอบข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2562 ข้อ 40 (8) 

หากมีการประชุมพิจารณาเรื่องร้องเรียนกล่าวหา “แพทองธาร” ในวันที่ 1 ก.ค.จริง คาดว่ามีแนวโน้มออกได้ 3 ทาง คือ

  1. ศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้นำเรื่องดังกล่าวหยิบยกมาพิจารณา เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน เนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิดมากเกินไป เพราะประธานวุฒิสภาเพิ่งส่งเรื่องมาให้พิจารณาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น
  2. ศาลรัฐธรรมนูญ หยิบยกมาพิจารณา และอาจมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น สั่งรับคำร้อง หรือไม่รับคำร้อง หรือสั่งเรียกให้หน่วยงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
  3. ศาลรัฐธรรมนูญ หยิบยกมาพิจารณา แล้วเห็นว่าคำร้องดังกล่าวไม่มีมูล ให้คำร้องดังกล่าวตกไป

ประเด็นที่น่าสนใจของเรื่องนี้ ในฝั่งรัฐบาลเอง ก็ไม่สามารถประเมินได้ว่า “แพทองธาร” จะอยู่รอดปลอดภัยบนเก้าอี้นายกฯหรือไม่ 

ดังนั้นในการปรับ ครม.ที่ผ่านมา นายกฯ จึงควบเก้าอี้ รมว.วัฒนธรรม ไว้อีก 1 ตำแหน่ง เผื่อเหลือเผื่อขาดว่า หากศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องกล่าวหา และสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่นายกฯ เป็นการชั่วคราวแล้ว  “แพทองธาร”ยังสามารถเข้าประชุม ครม.ในฐานะ รมว.วัฒนธรรม ได้

ย้อนดูการลงมติศาลรธน. คดีของ พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกฯ 8 ปี

ย้อนไป เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2565 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 6 ต่อ 3 เสียง วินิจฉัยคดีปมพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งครบแปดปี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 วรรคสี่ โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การดำรงตำแหน่งนายกฯ ของพล.อ.ประยุทธ์ ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ 2560 มีผลใช้บังคับ คือ 6 เมษายน 2560 ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ยังดำรงตำแหน่งนายกฯ ไม่ครบแปดปี จึงทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่สิ้นสุดลง พล.อ.ประยุทธ์ จึงสามารถดำรงตำแหน่งนายกฯ ต่อไปได้

ผลของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีนี้ ส่งผลให้พล.อ.ประยุทธ์ สามารถเป็นนายกฯ ต่อได้จนกว่าจะครบเทอมรัฐบาลชุดนี้ ซึ่งจะสิ้นสุดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 หรือจนกว่าจะยุบสภา และในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า พล.อ.ประยุทธ์ ยังสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้อีก โดยจะลง ส.ส. หรือแค่มีชื่ออยู่ในบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอก็สามารถทำได้ แต่หากพล.อ.ประยุทธ์ ยังได้รับการการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ก็จะไม่สามารถอยู่ครบเทอมถึงปี 2570 แต่มีวาระอยู่ได้ถึงแค่วันที่ 5 เมษายน 2568 หลังจากนั้นก็จะ “ขาดคุณสมบัติ” เป็นเหตุให้พ้นจากตำแหน่ง และสภาต้องเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

related