svasdssvasds

เฝ้าระวังเจาะเลือดแรงงานต่างด้าว รับเชื้อเท้าช้าง อาการหลบใน 3 – 5 ปี

เฝ้าระวังเจาะเลือดแรงงานต่างด้าว รับเชื้อเท้าช้าง อาการหลบใน 3 – 5 ปี

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

นายแพทย์สุวรรณชัย  วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวการตรวจพบแรงงานต่างด้าวมีเชื้อพยาธิโรคเท้าช้าง นั้น  กรมควบคุมโรค ขอให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้รับประกาศว่าสามารถกำจัดโรคเท้าช้างได้แล้ว แต่ในแรงงานต่างด้าวยังคงพบเป็นโรคเท้าช้างอยู่ และมีแนวโน้มลดลงอย่างเป็นลำดับ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านได้มีดำเนินการกำจัดโรคเช่นเดียวกัน

ข้อมูลล่าสุดในการตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 กันยายน – 29 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งหนึ่งในการตรวจนั้นมีโรคเท้าช้างรวมอยู่ด้วย โดยมีแรงงานชาวเมียนมาที่ตรวจสุขภาพ จำนวน 75,379 ราย (ใน 64 จังหวัด) พบผู้มีเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างเพียง 10 ราย (ไม่ปรากฎอาการใดๆ)  โดยคิดเป็นอัตราการพบเชื้อน้อยมากเพียงร้อยละ 0.01 ซึ่งทุกรายได้รับการรักษาทันที ทั้งนี้ โรคเท้าช้างที่พบในเมียนมากับของประเทศไทย แม้จะเป็นชนิดเดียวกัน แต่มียุงพาหะคนละชนิด ยุงพาหะของเชื้อพยาธิโรคเท้าช้างในประเทศเมียนมานั้นเป็นยุงรำคาญ แต่จากการสำรวจยุงในหลายพื้นที่พบว่ายุงรำคาญในประเทศไทยยังไม่ได้เป็นพาหะ อย่างไรก็ตาม ได้มีการติดตามรักษา เพื่อลดจำนวนเชื้อในกลุ่มแรงงานต่างด้าว และมีการเฝ้าระวังป้องกันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากแรงงานเหล่านี้มีการเคลื่อนย้ายกลับไปประเทศ จึงมีโอกาสรับเชื้อเท้าช้างจากประเทศตนเองกลับมาอีก ด้วยการจ่ายยาดีอีซี (DEC–Diethycarbamazine citrate)แก่กลุ่มแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทย ทุก 6 เดือน และมีการเฝ้าระวังด้วยการเจาะเลือดและศึกษาทางกีฏวิทยาในพื้นที่ตัวแทน

สำหรับโรคเท้าช้าง เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิและมียุงเป็นพาหะ ส่วนใหญ่ผู้ที่รับเชื้อพยาธิจะไม่แสดงอาการใดๆ ถ้าไม่ได้รับการรักษา จะมีการอักเสบเฉียบพลัน เป็นๆหายๆ ของต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้  ขาหนีบ จนกระทั่งมีความพิการแขน ขา อวัยวะเพศโตถาวร หลังจากได้รับเชื้อพยาธิไปแล้วประมาณ 3-5 ปี

related