svasdssvasds

ผลสำรวจชี้! ตร.สายปราบปราม ป่วยซึมเศร้ามากสุด

ผลสำรวจชี้! ตร.สายปราบปราม ป่วยซึมเศร้ามากสุด

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

ทีมแพทย์จิตเวช รพ.ตำรวจ เผยสถิติตำรวจสายงานปราบปรามป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากที่สุด สาเหตุเพราะความเครียดจากการทำงาน พร้อมแนะวิธีสังเกตุคนรอบข้างเพื่อช่วยกันดูแลและป้องกันให้หายจากโรคซึมเศร้า

วันนี้( 25 ธ.ค.)พลตำรวจโทชนินทร์ ชโยชัยชนะ นายแพทย์ สบ.8 และ พันตำรวจตรีหญิง ปองขวัญ ยิ้มสะอาด และ ว่าที ร้อยตำรวจตรีชัยชนะ จรูญพิพัฒน์กุล ทีมแพทย์จิตเวช โรงพยาบาลตำรวจ เปิดสถิติข้าราชการตำรวจป่วยโรคซึมเศร้ายอดรวมในปีนี้ สูงร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของประชาชนทั่วไปที่ป่วยด้วยโรคนี้ ขณะที่ รพ.ตร.เตรียมเปิดช่องทางให้คำปรึกษาด้านจิตเวช แก่ข้าราชการตำรวจ ทั้งทางเพจเฟซบุ๊ก และสายด่วน ป้องกันปัญหาตำรวจเครียดฆ่าตัวตาย คาดในสัปดาห์นี้แล้วเสร็จ

ผลสำรวจชี้! ตร.สายปราบปราม ป่วยซึมเศร้ามากสุด

พันตำรวจตรีหญิง ปองขวัญ ยิ้มสะอาด นายแพทย์ (สบ.2) กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด ระบุว่า สถิติในปัจจุบันนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึง ธันวาคม 2560 มีข้าราชการตำรวจเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าจำนวนกว่า 605 ราย ซึ่งสาเหตุส่วนมากมาจากปัญหาการทำงาน ทั้งถูกกดดัน งานเยอะ ความเครียด และเรื่องโยกย้าย และจากสถิติย้อนหลังตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2559 ของกองวิจัยข้อมูล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่าข้าราชการตำรวจฆ่าตัวตายสำเร็จกว่า 299 ราย พบมากสุดจากกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 ขณะที่ยอดประชาชนที่เข้ามารับการรักษาด้วยโรคซึมเศร้า ในช่วงมกราคม 2560 ถึง ปัจจุบัน มียอดรวมกว่า 1,813 ราย ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวจะพบว่าข้าราชการตำรวจป่วยเป็นโรคซึมเศร้าร้อยละ 25 จากจำนวนผู้ป่วยปกติ หรือถือเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด และสายงานที่พบว่ามีการป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากสุดคือสายงานปราบปราม อาจเพราะมาจากความเครียดจากการกดดันในสายงานที่รับผิดชอบ สำหรับผู้ป่วยหรือคนรอบข้างหากพบเหตุความผิดปกติของตัวผู้ป่วยเช่น นิสัยส่วนตัวเปลี่ยนไปจากปกติ สิ่งที่เคยชอบ เคยทำกลับไม่ชอบ หรือไม่ทำในสิ่งที่เคยทำ หรือนอนน้อย พักผ่อนน้อย มีการซึม มีความเครียดยาวนานกว่าปกติ อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ให้รีบติดต่อเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในทันที ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากเข้ารับการรักษาที่ถูกวิธี

ผลสำรวจชี้! ตร.สายปราบปราม ป่วยซึมเศร้ามากสุด

ว่าที่ ร.ต.ต.ชัยชนะ จรูญพิพัฒน์กุล กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงอีกหนึ่งสาเหตุมาจากการปล่อยให้ผู้ป่วยโรคนี้อยู่กับโซเชียลมีเดียนานๆ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสการฆ่าตัวตายเนื่องจากโซเชียล ส่วนมากจะเป็นการบอกเล่าเรื่องดีๆ สิ่งดีๆ ของคนอื่น และเมื่อผู้ป่วยเข้าไปเสพสิ่งเหล่านี้จะยิ่งตอกย้ำสิ่งที่คิดว่าตัวเองขาด และการใช้เวลากับโซเชียลยังทำให้ไม่ได้พบปะผู้คน ขาดการติดต่อสัมพันธ์ ยิ่งสร้างความซึมเศร้ามากขึ้น คนใกล้ตัวหรือคนรอบข้างต้องช่วยกันดูแลอย่างใกล้ชิด

ด้านพลตำรวจโทชนินทร์ ชะโยชัยชนะ นายแพทย์(สบ8)โรงพยาบาลตำรวจ ระบุว่า ขณะนี้โรงพยาบาลตำรวจเตรียมเปิดเพจเฟซบุ๊ก และสายด่วน ที่จะคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับจิตเวช และมีแบบสอบถามให้ข้าราชการตำรวจลองทำเพื่อตรวจสอบเบื้องต้นว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ แก่ข้าราชการตำรวจซึ่งถือเป็นช่องทางใหม่ ที่จะเข้ามาช่วยป้องกันปัญหาข้าราชการตำรวจที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและยังไม่รู้ตัว ก่อนที่จะก่อเหตุฆ่าตัวตายเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมาเนื่องจากช่องทางเก่าที่เป็นสายด่วน 1599 ยังติดปัญหาการเชื่อมโยงข้อมูลหลายหน่วยงานทำให้บางครั้งการติดต่อขอคำปรึกษาไม่ทันต่อสถานการณ์ที่ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือ อีกทั้งการติดต่อผ่านเพจและสายด่วนใหม่ที่กำลังจะเปิดภายในอาทิตย์นี้ ข้อมูลทั้งหมดของผู้ป่วยจะเป็นความลับเชื่อว่าจะมีตำรวจที่มีข้อสงสัยว่าตัวเองอาจจะป่วยด้วยโรคนี้ยินดีเข้ารับการปรึกษามากขึ้น

 

related