svasdssvasds

หวั่นแห่ "ฟ้อง" 182 หลักสูตร "ตกมาตรฐาน" นายกฯจี้! เร่ง "ตอบโจทย์" ตลาดแรงงาน

หวั่นแห่ "ฟ้อง" 182 หลักสูตร "ตกมาตรฐาน" นายกฯจี้! เร่ง "ตอบโจทย์" ตลาดแรงงาน

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

     กรณีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เปิดรายชื่อหลักสูตรไม่ได้มาตรฐาน เมื่อวันครู 16 ม.ค.2561 สำหรับรายชื่อหลักสูตรที่ไม่ผ่านประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของ คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี จำนวน 182 หลักสูตร จากทั้งหมด 9,099 หลักสูตร ถือเป็นครั้งแรกที่ สกอ.ประกาศรายชื่อดังกล่าวผ่านเว็บไซต์   [caption id="attachment_186043" align="aligncenter" width="960"] หวั่นแห่ "ฟ้อง" 182 หลักสูตร "ตกมาตรฐาน" นายกฯจี้! เร่ง "ตอบโจทย์" ตลาดแรงงาน รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ ภาควิชาเคมีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[/caption]   รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ ภาควิชาเคมีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะเลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลาการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) ให้สัมภาษณ์สปริงนิวส์ว่า การประกาศครั้งนี้มีผลกระทบในวง ต่อนิสิต นักศึกษา โดยเฉพาะผู้เรียนอยู่ชั้นปี 4 จะฟ้องร้องหรือไม่ คาดว่าคงเกิดในอนาคตแน่นอน ถือเป็นเรื่องใหญ่ในอุดมศึกษา   สำหรับเกณฑ์ สกอ.ระบุไม่ผ่าน 2 ปีซ้อนของการประกันคุณภาพภายใน วัดจากองค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการหลักสูตรที่ไม่ผ่าน จากจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรไม่เพียงพอ ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนอุดมศึกษาดิ่งเหว เมื่อปีที่ผ่านมา มีคดีจับกุมพวกปลอมปริญญาเอก เข้ามาเป็นอาจารย์ หากอาจารย์ประจำหลักสูตรไม่พอ ต้องไม่เปิดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งค่อนข้างมีอำนาจอิสระ เมื่อไม่เป็นตามมาตรฐาน คนที่เรียนอยู่จะทำอย่างไร ความรับผิดชอบอยู่ที่มหาวิทยาลัย เกณฑ์ประกันคุณภาพ ยังระบุ คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร ซึ่งมหาวิทยาลัยต้องเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติ อาทิ ต้องมีตำแหน่งทางวิชาการ ทำงานวิจัย มีผลงานวิชาการ อาจารย์ปริญญาโท ปริญญาเอก ควรมีตำแหน่งวิชาการ ระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) รองศาสตราจารย์ (รศ.) ศาสตราจารย์ขึ้นไป   “เกณฑ์ที่ไม่ผ่าน เพราะมหาวิทยาลัยอยากได้เงิน แอบเปิดหลักสูตร เมื่อคนสอนไม่พอ ตำแหน่งวิชาการไม่มี ก็ตกมาตรฐาน ปัญหาที่เกิดขึ้นเน้นเรื่องเงิน ปริมาณ คุณภาพก็ดิ่งเหว นี่เป็นวาระใหญ่ ทำให้มหาวิทยาลัยไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างคน เสริมมันสมองของชาติ ผลที่จะตามมา เมื่อผู้ปกครองตรวจดูเป็นหลักสูตรที่ลูกหลานเรียนอยู่หรือไม่ ทำลายความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง จบแล้วถ้าไม่รับรองหลักสูตร มีปัญหาแน่นอน ไปสมัครงานกับหน่วยงานภาครัฐก็ไม่ได้ ถ้าเข้าไปแล้วก็ถูกตรวจสอบย้อนหลังได้อีก ผิดทั้งอาญา แพ่ง และต้องถอดถอนปริญญา” รศ.วีรชัย กล่าวและว่า  สกอ.จึงจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมมาตรฐานการเรียนการสอนอุดมศึกษา ซึ่งไม่ใช่ความผิดที่ สกอ.ออกมาประกาศรายชื่อหลักสูตรไม่ได้มาตรฐานดังกล่าว   อย่างไรก็ตาม สถาบันอุดมศึกษาต้องดำเนินการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาที่กำหนด ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาจะต้องรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในผ่านระบบ CHE QA Online เป็นประจำทุกปีเพื่อเผยแพร่ผลต่อสาธารณชน โดยระบบการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร แบ่งเป็น 6 องค์ประกอบหลัก ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษาในปีการศึกษา 2558 และ 2559 โดยใช้ผลประเมินระดับหลักสูตรเฉพาะองค์ประกอบที่ 1 (เรื่องจำนวนและคุณสมบัติอาจารย์ การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐาน) มีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี–โท–เอก รวมจำนวน 9,099 หลักสูตร จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน 155 แห่ง พบว่าขณะนั้นใน 40 สถาบันอุดมศึกษา มีหลักสูตรจำนวน 182 หลักสูตร ที่ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามการกำกับมาตรฐานตามองค์ประกอบที่ 1 ติดต่อกัน 2 ปีการศึกษา (ปีการศึกษา 2558–2559) คิดเป็นร้อยละ 2.0 ของภาพรวมหลักสูตรทั้งหมด แบ่งเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 68 หลักสูตร ปริญญาโท 89 หลักสูตร ปริญญาเอก 24 หลักสูตร และประกาศนียบัตรบัณฑิต 1 หลักสูตร   ด้านนพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า  ผู้ต้องรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงคือ สภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ทางนายกรัฐมนตรี ให้นโยบายแก่ สกอ. รวมถึงกระทรวงการอุดมศึกษา ที่จะจัดตั้งขึ้นไปทบทวนว่าหลักสูตรที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการตลาดแรงงาน ไม่ตรงยุทธศาสตร์ของชาติ ควรมีมาตรการมากำกับ ให้มหาวิทยาลัยต้องไปทบทวนหลักสูตรซึ่งมีนับร้อยหลักสูตรไม่ตอบโจทย์ตลาดภาคอุตสาหกรรม เอกชน ก็ให้เร่งปรับปรุงและพัฒนา   อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องได้ที่ : เปิดรายชื่อ!! 182 หลักสูตร 40 มหาวิทยาลัย ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 
related