svasdssvasds

มารวมพลังผู้บริโภคข่าวสาร ข่าวจริงเช็กแล้ว...วัน International Fact Checking Day

มารวมพลังผู้บริโภคข่าวสาร ข่าวจริงเช็กแล้ว...วัน International Fact Checking Day

First Draft Partner Network เป็นเครือข่ายองค์กรนานาชาติ จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการตรวจสอบความจริงในยุคดิจิทัล ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2559 เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างองค์กรด้านสื่อสารมวลชน หน่วยงานสิทธิมนุษยชน บริษัทเทคโนโลยี และเว็บไซต์ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ในการรับมือกับคลื่นของข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องทั่วโลก

โดยกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน 2560  เป็นปีแรกที่เครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล (IFCN) จัดรณรงค์ International Fact-Checking Day เพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ตรวจสอบความจริงบนโซเชียล  เนื่องจากข้อมูลข่าวสารบนออนไลน์นั้นมีอิทธิพลมากกว่าที่หลายคนคาดคิด  เพราะผู้คนได้รับข้อมุลต่างๆ ทั้ง Facebook Instagram Twitter Line แต่กลับพบว่า ข้อมูลต่างๆที่ส่งต่อกันในโลกออนไลน์กลายเป็นข้อมูลมั่ว ไม่เป็นความจริง โกหกกันมากมาย

ด้าน รศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) ให้สัมภาษณ์ซ่า คุณภาพของข่าวสารในยุคดิจิทัลคือ การรู้เท่าทันสื่อของพลเมืองทุกคนในการตรวจสอบข่าวสาร ส่วนใหญ่คนในโลกดิจิทัล จะมีอารมณ์ร่วม สนใจแต่การแสดงความคิดเห็นมากกว่าการตรวจสอบความถูกต้อง พลังของพลเมืองในการตรวจสอบข่าวสาร จะทำให้สังคมเกิดการเรียนรู้ โดยพลังผู้บริโภคข่าวสาร คือหัวใจสำคัญของโลกยุคนี้ ข้อมูล Fact อาจถูกต้อง แต่คนในออนไลน์ไม่เชื่อ เช่น ข่าวบ้านผู้พิพากษาที่สร้างบนดอยสุเทพ คนเสพข่าวด้วยอารม(ณ์ร่วม)

มารวมพลังผู้บริโภคข่าวสาร ข่าวจริงเช็กแล้ว...วัน International Fact Checking Day

ด้าน ผศ.ดร. วรัชญ์ ครุจิต ผู้ช่วยอธิการบดี นิด้า ให้สัมภาษณ์ว่า อยากให้คนไทยเริ่มตั้งคำถามก่อนจะส่งต่อหรือแชร์ข่าวออกไป หรือฉุกคิดว่าข่าวนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ปัจจุบันการแชร์ข้อมูล ข่าวสาร คือไม่ทันอคติของตัวเอง โดยเรามักจะเชื่อในสิ่งที่ตรงกับความคิดของตัวเอง อาจจะไม่รอบคอบเท่าที่ควร เป็นการเปิดโอกาสให้คนสร้างข่าวเท็จ ด้วยประสงค์ต่างๆ เข้ามาฉวยโอกาส โดยเฉพาะการสร้างข่าวประเด็นการเมือง การเลือกตั้ง เรื่องของผลประโยชน์การค้า เศรษฐกิจ ลักษณะนี้มีให้เห็นในต่างประเทศอย่างมาก ในสหรัฐฯถึงกับมีการสร้างเว็บไซต์ ทำเพจข่าวเท็จขึ้นมา มีทั้งแบบทำเล่นๆ และทำจริงจังเพื่อข่าวสาร เอาโฆษณา

 

“ตอนนี้คนทำข่าวและแชร๋ข่าว เสพติดความรุนแรงของเนื้อหา ชอบอะไรที่สะใจ เนื่องจากในโซเชียลมีการถกเถียงเรื่อยอดกด like คนก็ติดกับดักของตัวเอง ติดยอดไลค์ชอบที่จะแชร์ข่าวเนื้อหาแรงๆ  ยิ่งคอมเม้นท์แรงยิ่งได้รับความสนใจ  กลายเป็นเรื่องน่ากลัว เนื้อหามาเร็วไปเร็ว ที่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในออนไลน์ กลับยังดำรงอยู่ตลอด ไม่สามารถลบให้หมดไปได้ วิชาชีพสื่อมวลชนก็ละเลยหน้าที่พื้นฐานของตนเองในการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง การสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อสังคมก็เสื่อมลง กลายเป็นความจริงมาจากหลักการของคนหมู่มาก เป็นคนถูก คนแชร์เยอะหมายความว่าใช่ ทั้งที่บางทีมันมีเรื่องที่ผิด คลาดเคลื่อน แต่แชร์กันผิดกระจายไปทุกแพลตฟอร์ม วนเวียน แก้ไม่หาย เพราะมันไม่ตายนั่นเอง” ผศ.ดร.วรัชญ์ กล่าว

มารวมพลังผู้บริโภคข่าวสาร ข่าวจริงเช็กแล้ว...วัน International Fact Checking Day

อย่างไรก็ตาม วันที่ 2 เมษายน เพื่อให้คนในสังคมโลก ตั้งสติในการใช้และอยู่กับโลกโซเชียล International Fact Checking Day เราจึงควรตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับมาว่าถูกต้อง ก่อนจะส่งต่อไปยังผู้อื่น เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือกับตัวเอง และไม่ควรเสียเวลาในการแชร์ข้อมูลผิดๆ ส่งต่อกันไป

มารวมพลังผู้บริโภคข่าวสาร ข่าวจริงเช็กแล้ว...วัน International Fact Checking Day

ขณะที่วันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวัน April Fools Day วันโกหกโลก เป็นวันที่ให้ผู้สามารถโกหก Ffpหยอกล้อ ใช้ข้อมูลลวง สะกิดสะเกากัน ยิ่งเป็นการเติมข้อมูลผิดๆ เข้าในไปสังคมออนไลน์มากไปอีก

มารวมพลังผู้บริโภคข่าวสาร ข่าวจริงเช็กแล้ว...วัน International Fact Checking Day

related