svasdssvasds

วิจัย “ทวิตเตอร์” เจอะ “ข่าวปลอม” วิ่งถึงคนอ่านได้เร็ว-กว้างกว่า “ข่าวจริง”

วิจัย “ทวิตเตอร์” เจอะ “ข่าวปลอม” วิ่งถึงคนอ่านได้เร็ว-กว้างกว่า “ข่าวจริง”

ทีมวิจัยข้อมูล ข่าวสารในโลกออนไลน์ โดยเน้นศึกษาข่าวปลอม บนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ (MIT) ทำการเก็บข้อมูล Twitter 12 ปีนับตั้งแต่เริ่มต้น โดยใช้วิธีดึงทวีตเกี่ยวกับข่าวที่ได้รับการยืนยันว่าจริงหรือเท็จจากเว็บไซต์ ผ่านการตรวจสอบความจริงอย่าง PolitiFact, Snopes, FactCheck.org, Truth or Fiction, Hoax Slayer และ Urban Legends จนได้ชุดข้อมูล 126,000 ข่าวที่มีการแชร์ 4.5 ล้านครั้งโดยคน 3 ล้านคน จากนั้นก็นำข่าวมาเปรียบเทียบว่าข่าวจริงและข่าวปลอมมีการกระจายออกไปอย่างไร

ศาสตราจารย์สินัน อารัล (Prof. Sinan Aral) อธิบายว่า ข่าวลือและข่าวปลอมที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์มทวิตเตอร์กว่า 126,000 ชิ้นในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา พบว่า คอนเทนต์เหล่านี้ แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงผู้ใช้งานคนอื่น ๆ ได้มากกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะ “ข่าวการเมือง” นิยมปลอมข่าวสูงสุด ตามด้วยเนื้อหาตำนานต่าง ๆ ของเมือง ธุรกิจ การก่อการร้าย วิทยาศาสตร์ บันเทิง และภัยธรรมชาติ

.

ข่าวปลอมได้รับการรีทวีตมากกว่าข่าวจริงประมาณ 70% ทั้งรวดเร็วในการเข้าถึงผู้ใช้งาน 1,500 คนได้เหนือกว่าข่าวจริง 6 เท่า เช่น ข่าวเหตุการณ์จริงอาจได้รับการแชร์ประมาณ 1,000 คน แต่ข่าวปลอมที่ได้รับความนิยมสูง ๆ นั้น ตัวเลขอาจเพิ่มขึ้นเป็น 100,000 ครั้ง

related