svasdssvasds

ทีเส็บ เปิดเวทีให้ นศ.โชว์ไอเดียนวัตกรรม แก้ปัญหาอุตสาหกรรมไมซ์

ทีเส็บ เปิดเวทีให้ นศ.โชว์ไอเดียนวัตกรรม แก้ปัญหาอุตสาหกรรมไมซ์

ทีเส็บ จับมือองค์กรภาครัฐและเอกชน เปิดเวทีให้นักศึกษาโชว์ไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ มั่นใจพัฒนาธุรกิจไมซ์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน

นับเป็นอีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจ สำหรับโครงการร่วมเรียนรู้และสร้างสรรค์นวัตกรรมการจัดการประชุมและนิทรรศการ หรือ Smart MICE Innovation Awards 2018 ภายใต้หัวข้อ “How technology can maximize M.I.C.E. business in digital era?”  ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB (ทีเส็บ) ร่วมกับศูนย์ Hatch (แฮช)  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยส่งเสริม และพัฒนาการจัดการประชุมและนิทรรศการภายในประเทศ หรืออุตสาหกรรมไมซ์ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ของประเทศไทยจากเวทีไมซ์มากขึ้นด้วยเช่นกัน

ทีเส็บ เปิดเวทีให้ นศ.โชว์ไอเดียนวัตกรรม แก้ปัญหาอุตสาหกรรมไมซ์

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า ในแต่ละปีธุรกิจไมซ์ดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาประมาณ 100,000 ล้านบาท และสร้างรายได้ภายในประเทศ 60,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศไทยมีสถานที่จัดการประชุมที่ได้มาตรฐาน และมีโรงแรมที่พักที่ดี นี่คือพื้นฐาน แต่ทีเส็บมองว่าสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ คือเรื่องนวัตกรรม

“เราหวังว่าจะเกิดเป็นแอพพลิเคชั่นจากผลงานของน้องๆ ในแต่ละทีมที่จะร่วมกัน ใส่ความรู้ความสามารถ ซึ่งสิ่งที่เราอยากจะได้จากน้องๆ คือ Creative  Creativity หลังจากนั้นถ้าทีมใดชนะ เราจะสนับสนุนในการทำแอพพลิเคชั่นด้วย นี่คือสิ่งที่เราหวังอย่างยิ่งที่จะเจอ แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือความ Creativity ที่น้องมี และการที่น้องได้ทำงานร่วมกัน และช่วยกันพัฒนาธุรกิจ MICE ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของประเทศนี้ในการเดินหน้าประเทศไทย”

ทีเส็บ เปิดเวทีให้ นศ.โชว์ไอเดียนวัตกรรม แก้ปัญหาอุตสาหกรรมไมซ์

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีนี้ ได้แก่ ผลงานการส่งเสริมการพัฒนาเมกะอีเวนท์ผ่านแอพพลิเคชั่น Eventure (อีเวนเจอร์) ของทีม Mause (มอยเชอร์) นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ส่วนรางวัลชมเชยมี 2 รางวัล ได้แก่ ผลงานการส่งเสริม DMICE (ดีไมซ์) หรือธุรกิจไมซ์ในประเทศของทีม PPP (พีพีพี) นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และผลงานการส่งเสริมการพัฒนาเมกะอีเวนท์ ของทีม BU to the Future นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ทีเส็บ เปิดเวทีให้ นศ.โชว์ไอเดียนวัตกรรม แก้ปัญหาอุตสาหกรรมไมซ์

ทั้งนี้ ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ นอกจากได้รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาทแล้ว ยังจะได้รับโอกาสนำผลงานไปพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจอีกด้วย

ทีเส็บ เปิดเวทีให้ นศ.โชว์ไอเดียนวัตกรรม แก้ปัญหาอุตสาหกรรมไมซ์

related