svasdssvasds

สถานการณ์ “น้ำอูนยังวิกฤต” กรมชลประทานเร่งระบายลงน้ำโขง

สถานการณ์ “น้ำอูนยังวิกฤต” กรมชลประทานเร่งระบายลงน้ำโขง

สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ภาคอีสานยังถือว่า น่าเป็นห่วง โดยเฉพาะ ลำน้ำอูนที่ยังวิกฤติ ซึ่งกรมชลประทานจะเร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขง เพื่อไม่ให้เกษตรกรที่เลี้ยงปลากระชังได้รับผลกระทบ

สถานการณ์น้ำอูน ริมแม่น้ำโขง บริเวณจังหวัดนครพนม ยังคงเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก ยังอยู่ในระดับวิกฤติ ล่าสุดวัดได้ 13.80 เมตร ซึ่งถือว่า ยังมีความเสี่ยงที่น้ำจะไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ และพื้นที่การเกษตร คาดว่า จะเสียหายไม่ต่ำกว่า 5,000 ไร่  ถึงแม้ระดับน้ำโขงจะเริ่มลดลง วันละประมาณ 10 ถึง 20 เซ็นติเมตร หากไม่มีฝนตกลงมาซ้ำ ก็คาดว่า ระดับน้ำจะลดลงต่อเนื่อง โดยกรมชลประทานจังหวัดนครพนม ได้ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำระบบไฟฟ้า บริเวณประตูระบายน้ำอูน อำเภอศรีสงคราม เพิ่มอีก 4 ตัว เพื่อเพิ่มประสิทธภาพการระบายน้ำได้ถึงวันละ 31 ถึง 32 ล้านลูกบาศก์เมตร

สถานการณ์ “น้ำอูนยังวิกฤต” กรมชลประทานเร่งระบายลงน้ำโขง

ขณะที่ผลกระทบจากการระบายน้ำอูน จากพื้นที่ จังหวัดสกลนคร ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร ยังส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน ที่มีอาชีพเลี้ยงปลากระชัง ตามลำน้ำอูน ในพื้นที่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ด้วย เนื่องจาก ระดับน้ำเพิ่มสูง  ไหลเชี่ยว ทำให้ปลากระชังปรับสภาพไม่ทัน และเริ่มมีปัญหา น็อคน้ำตาย และเกิดโรคระบาด เกษตรกรจึงต้องเพิ่มการดูแลและนำยาปฏิชีวนะป้องกันโรคไปรักษา ซึ่งเกษตรกรบางราย ต้องเร่งขายก่อนกำหนด เพราะเกรงว่า จะเกิดโรคระบาด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาขาดทุนตามมา

สถานการณ์ “น้ำอูนยังวิกฤต” กรมชลประทานเร่งระบายลงน้ำโขง

นายสุรินทร์ ชินโคตร อายุ 47 ปี เกษตรกรเลี้ยงปลากระชัง บ้านคูณน้อย หมู่ 6 ตำบลนาคูณใหญ่ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ ลำน้ำอูนมีปริมาณสูงมาก เพราะมีการระบายน้ำมาจากเขื่อนน้ำอูน ทำให้ชาวบ้านเลี้ยงปลากระชัง เกือบ 200 ราย ได้รับผลกระทบ เพราะปลากระชังเริ่มทยอยตาย จึงจำเป็นต้องหาทางป้องกัน บางรายต้องยอมหาทางขายก่อนกำหนด ถึงแม้จะขาดทุน เพราะน้ำหนักปลายังไม่ได้ตามตลาดต้องการ ก็ต้องยอมเสี่ยง เพราะหากเกิดโรคระบาด ปัญหาก็จะเพิ่มขึ้น

สถานการณ์ “น้ำอูนยังวิกฤต” กรมชลประทานเร่งระบายลงน้ำโขง

 

related