svasdssvasds

ร่วมต้าน!! เภสัชฯ มช.จัดวงค้าน ร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่

ร่วมต้าน!! เภสัชฯ มช.จัดวงค้าน ร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่

พร้อมกับออกแถลงการณ์ เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมและนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ภาคเหนือคัดค้านร่างพระราชบัญญัติยาฉบับใหม่

โดยเนื้อหาระบุว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติยา พ.. .... เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตราเป็นกฎหมายออกบังคับใช้ต่อไปนั้น

เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมและนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ภาคเหนือในฐานะองค์ทางวิชาการและวิชาชีพทางด้านเภสัชกรรมได้พิจารณาแล้วเห็นว่ากระบวนการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ขาดการมีส่วนร่วมอย่างเพียงพอและไม่ได้นำเอาหลักวิชาการและวิชาชีพตลอดจนข้อเสนอแนะไปพิจารณาอย่างครบถ้วนรอบด้านส่งผลให้ร่างพระราชบัญญัติยาพ..... ฉบับนี้ ไม่อาจเป็นหลักประกันสวัสดิภาพและความปลอดภัยด้านยาแก่ประชาชน ไม่เป็นเครื่องมือที่จะพัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม รวมตลอดถึงจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อปัญหาการใช้ยาของประเทศในภาพรวมอีกด้วย

ร่างพระราชบัญญัติยาพ..... มีบทบัญญัติที่เป็นประเด็นสำคัญที่จะส่งผลต่อการคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชนผู้ใช้ยาในหลายประการ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  1. การกำหนดประเภทยาที่ไม่เป็นไปตามหลักสากล ซึ่งตามหลักสากลกำหนดแบ่งประเภทยาเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ยาที่จ่ายตามใบสั่งยา (Prescription only) ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร (Pharmacist only)  และ ยาที่ประชาชนเลือกใช้เอง (Self-medication) ซึ่งสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขในแต่ละวิชาชีพ เป็นระบบที่เป็นหลักประกันด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัยของประชาชน นอกจากนั้นยังมีการนิยามยาสามัญประจำบ้านซึ่งเป็นยาที่ประชาชนสามารถเลือกใช้เองและโดยไม่ได้มีการควบคุมอย่างเข้มงวดนั้น กลับมีการนิยามอย่างกว้างๆ ไม่ชัดเจน ซึ่งอาจจะทำให้มียาที่ไม่เหมาะสมและอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนในชุมชนเพิ่มมากขึ้น
  2. การยกเว้นให้ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสามารถทำการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้ (.22) โดยเฉพาะการยกเว้นให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติยา พ.. 2510 ที่กำหนดยกเว้นเฉพาะแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ ในกรณีการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายของตนเท่านั้น โดยเฉพาะในมาตรา 22 (5) ที่กำหนดให้สามารถกำหนดวิชาชีพอื่นๆเพิ่มเติมได้โดยกฏกระทรวงซึ่งขัดแย้งกับหลักความปลอดภัยในการใช้ยาให้กับผู้ป่วยในระบบสากลที่กำหนดให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาและเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยาให้กับผู้ป่วยซึ่งหากมีผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมมาทำหน้าที่จ่ายยาแทนเภสัชกรจะส่งผลต่อความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาด้านยาและสวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชน
  3. ระบบความปลอดภัยทางเภสัชกรรมต่อผู้รับบริการที่เข้มข้น ชัดเจน และเป็นระบบ โดยในปัจจุบันการจ่ายยาและการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมอื่น ได้พัฒนาอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างหลักประกันความปลอดภัยให้กับประชาชนผู้ใช้ยาตามหลักสากล โดยไม่เพียงแต่การพัฒนาความรู้และทักษะของเภสัชกรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงระบบหลักเภสัชกรรมโดยรวมทั้งหมดดังนี้

    1. การพัฒนาหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต 6 ปี ให้มีทั้งความรู้และทักษะที่จำเป็นด้านยาและสุขภาพอย่างรอบด้าน ในทุกมิติ
    2. การกำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขผู้ที่จะรับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม โดยสภาเภสัชกรรมกำหนดให้จะต้องมีการสอบเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมถึง 2 ครั้ง คือในชั้นปีที่ 4 และชั้นปีที่ 6 เมื่อสำเร็จการศึกษา เพื่อคัดกรองผู้ที่จะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ให้มีความรู้ด้านยาอย่างถูกต้องเพียงพอ รวมถึงจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรมอีกด้วย
    3. ผู้ที่ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมแล้ว จะถูกกำหนดให้ต้องติดตามความรู้ด้านยาและสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ เพื่อต่ออายุใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ซึ่งจะเป็นหลักประกันว่าผู้ที่รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจะได้รับบริการที่เป็นปัจจุบัน มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย
    4. การให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจะถูกกฎหมายควบคุมอย่างชัดเจนและเข้มงวด เช่น ในการให้บริการในร้านยา จะถูกกำหนดให้ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานต่าง ๆ เช่น ลักษณะของร้านยาที่ได้มาตรฐาน การคัดเลือกยา การตรวจสอบยา และการให้บริการด้านยาแก่ผู้รับบริการ เช่น กำหนดให้เภสัชกรต้องส่งมอบยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษให้กับผู้ป่วยด้วยตนเอง พร้อมคำแนะนำปรึกษาการใช้ยาและสุขภาพ เป็นต้น ในขณะที่ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นที่กฎหมายยกเว้นให้สามารถประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้นั้น กลับไม่ต้องถูกควบคุมเข้มงวดเท่าเภสัชกร
    5. การให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมยังถูกควบคุมด้วยข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม และข้อบังคับอื่น ๆ ที่กำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องให้บริการแก่ผู้รับบริการอย่างได้มาตรฐานตามหลักวิชาการและวิชาชีพ หากฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษนอกเหนือจากบทลงโทษทางกฎหมายอีกด้วย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการรับบริการทางเภสัชกรรมจากผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ได้ถูกพัฒนาโดยวางอยู่บนระบบความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชนเป็นสำคัญดังกล่าว

  1. การลดระดับการควบคุมการโฆษณายา ซึ่งในปัจจุบันกำหนดให้การโฆษณายาจะต้องขออนุญาตก่อนจึงจะทำการขอโฆษณาได้ แต่ในร่างพระราชบัญญัติยาฉบับใหม่ที่มุ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการจนละเลยความปลอดภัยด้านยาของประชาชน ได้ลดระดับการควบคุมการโฆษณายาให้เหลือเพียงการจดแจ้งเท่านั้น ซึ่งจะให้การโฆษณายาต่อประชาชนทำให้ง่ายขึ้น ขณะที่การกำกับ ควบคุม ติดตาม ทำได้จำกัด ซึ่งจะส่งผลให้มีการโฆษณายาต่อประชาชนที่ไม่ได้ผ่านระบบการตรวจสอบที่รัดกุมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงและอันตรายต่อการใช้ยาของประชาชนเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ใช้ระบบการจดแจ้งนี้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ทำให้มีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐานและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทะลักสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมากโดยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไม่สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากเหตุผลตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นประกอบกับบทบัญญัติอื่นๆที่ยังไม่รัดกุมเพียงพอต่อการดำเนินการคุ้มครองความปลอดภัยด้านยาของประชาชน  เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมและนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ภาคเหนือ จึงขอคัดค้านร่างพระราชบัญญัติยาฉบับนี้ และขอให้มีการดำเนินการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติยาใหม่ โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบ วางอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการและวิชาชีพ การมีส่วนร่วมของภาควิชาการและวิชาชีพตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาและยกระดับการคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยด้านยาของประชาชนอย่างแท้จริงต่อไป

ร่วมต้าน!! เภสัชฯ มช.จัดวงค้าน ร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่

ร่วมต้าน!! เภสัชฯ มช.จัดวงค้าน ร่างพ.ร.บ.ยาฉบับใหม่

related