svasdssvasds

โปรดฟังคำท้วงติง!! “สารสกัดกัญชา” ผลประโยชน์มหาศาลของไทย ที่ต้องช่วยกันคุ้มครอง

โปรดฟังคำท้วงติง!! “สารสกัดกัญชา” ผลประโยชน์มหาศาลของไทย ที่ต้องช่วยกันคุ้มครอง

กรณี นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ออกมาชี้แจงถึง ข้อกังวลเรื่องการยื่นจดสิทธิบัตร สารสกัดกัญชาตามธรรมชาติของบริษัทต่างชาติในประเทศไทยนั้น นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) มีคำถามที่อยากให้ภาครัฐตอบ โดยเฉพาะการต้องเปิดโอกาสให้มีการตรวจสอบอย่างชัดเจน และตามอนุสัญญาทางชีวภาพ ประเทศไทยสามารถปฏิเสธคำขอจดทะเบียนสารสกัดได้ตั้งแต่ต้น

ถาม :  คำชี้แจงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีปัญหาในประเด็นใดบ้าง

ตอบ : ยืนยันมีการให้สิทธิบัตร ต้องตรวจสอบให้ดีว่าการชี้แจงของอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ไม่ได้แถลงรายละเอียดว่าเกี่ยวข้องกับสารสกัดหรือไม่ ตามกฎหมายไทยอนุญาตให้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ การวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ถ้ามีความใหม่ มีขั้นตอนการผลิตสูงขึ้น กรณีนี้ไม่แถลงเป็นเพราะประเด็นอะไร 1. เป็นเพราะยื่นขอเกี่ยวข้องกับสารสกัดหรือไม่

2. อธิบดีแถลงว่า ยังไม่มีการอนุมัติสิทธิบัตรจากกัญชาเลย เบาใจลงนิด แต่มีประเด็นต้องตั้งคำถาม ขณะนี้สิ่งที่ได้ข้อมูลมา และองค์การเภสัชกรรมก็ทราบ มีการประกาศคำขอสิทธิบัตรแล้ว หมายความว่าอะไร? หมายถึงมีการผ่านขั้นตอนแรกไปแล้วขั้นตอนที่ขอผ่านขั้นตอนกฎหมายหรืออย่างไรดำเนินการบกพร่องแน่ๆของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ระบุว่าคำขอใดที่เกี่ยวข้องกับสารสกัดจากพืชกรณีที่ไม่มีความใหม่เพราะมีหลักฐานในตำราพื้นบ้านอยู่แล้วไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ต้องทำความชัดเจนเรื่องนี้ให้ปรากฎซึ่งต้องตีตกไปตั้งแต่ต้น

จริงๆ แล้วใน 12 สิทธิบัตรที่รับทราบมา ต้องกางดูรายละเอียดว่า เปอร์เซ็นต์ของสารที่ยื่นขอ  หรือการใช้สารนั้นไปผสมกับสารอื่น มีรายละเอียด ทางกรมทรัพย์สินฯ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเปิดเผยเรื่องนี้ทั้งหมด หากไม่ดำเนินการอย่างเปิดเผย โปร่งใส จะมีปัญหาในระยะยาวแน่ๆ จากคำแถลงเบื้องต้นของกรมทรัพย์สินฯ ที่เราเห็นปัญหานี้เพราะมีอีก 2- 3 ชั้นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ซึ่งต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าคุณต้องไม่รับจดและต้องปฎิเสธคำขอเหล่านั้นแล้ว

ยังมีอีก 2 เรื่องที่เป็นเรื่องใหญ่เรื่องเดียวกัน คือ คำขอส่วนใหญ่ในระยะหลังเป็นคำขอที่ขอผ่านอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวิต (CBD) เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ  เมื่อยื่นขอที่ใดมีการตรวจสอบคำขอ เขาจะได้สิทธิคุ้มครองในประเทศที่เป็นภาคี เป็น 100 ประเทศ หมายความว่า ถ้าคำขอนั้นมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นก็ดี เช่น ใช้กระท่อมวิจัยก็ดี มีเงื่อนไขอยู่ ที่ไทยสามารถปฏิเสธ ค้านคำขอเหล่านั้นได้ ผ่านระบบ CBD ไม่เอื้อให้เขามาจดสิทธิบัตรได้ง่าย

อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องดำเนินการทันที ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศในปัจจุบัน การที่ประเทศหรือบริษัทใดก็ตาม จดสิทธิบัตรโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือใช้ทรัพยากรจากประเทศนั้น ถ้ามีหลักฐาน สามารถระงับคำขอดังกล่าวได้ตั้งแต่ต้น รวมถึงการเรียกร้องให้เขาต้องแสดงที่มา เพื่อให้มีการขอและเรียกผลประโยชน์ในสิทธิเหล่านั้นด้วย จุดนี้ปัญหาทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ยังไม่ได้ดำเนินการเลย ทั้งที่เป็นเครื่องมือสำคัญคุ้มครองการวิจัยและพัฒนาให้คนไทยในระยะยาว อันนี้เราขาดไป

โปรดฟังคำท้วงติง!! “สารสกัดกัญชา” ผลประโยชน์มหาศาลของไทย ที่ต้องช่วยกันคุ้มครอง

ถาม : กลุ่มแพทย์ นักวิชาการที่ออกมาท้วงติง จะกระทบกับอะไร อย่างไร เกี่ยวพันกับปลดล็อกกัญชา?

ตอบ : หากต่าาติจดสิทธิบัตรจากสารสกัดจากพืชได้ หมายความว่า ต่อไปนี้ไม่สามารถใช้สารสกัดจากพืชเหล่านี้ได้ ในการนำมาใช้รักษาโรคก็ดี พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศที่ยื่นขอรับการคุ้มครองเอาไว้ จุดนี้สำคัญ ซึ่งคำชี้แจงของอธิบดีกรมทรัพย์สินฯ แถลงว่ายังไม่มีการอนุญาตให้สิทธิบัตร เบาใจไปได้ แต่ที่ผมได้ดูการจดสิทธิบัตร เช่น การอนุญาตใบกระท่อม มีรายละเอียดเยอะ มีการเขียนไว้ว่า ถ้ากรมทรัพย์สินฯไม่มีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการช่วยพิจารณา อาจตกหลุมได้ง่าย เพราะคำขอที่เขียนไว้ เช่น ไม่ได้บอกโดยตรงว่าสารสกัดจาก แคนนาบินอยด์  หรือไมทราไจนีน จากกระท่อม แต่จะใช้คำว่า เช่น อนุพันธุ์ของไมทราไจนีน นี่คือประเด็นว่า อนุพันธุ์นี้ มันจะมีสารอื่นๆ อีกที่อยู่ในพืชกระท่อม เขาไม่จดโดยตรง แต่จดอนุพันธุ์ จะมีผลในการสกัดกั้นให้เราใช้ในอนาคต ต้องระวังเช่นเดียวกัน

ถาม : การทำงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ต้องอาศัยองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ มีการดำเนินในขั้นตอนนี้หรือไม่?

ตอบ : อันนี้มีกระบวนการของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน แต่ที่ชัดเจนนอกจากตัวกฎหมายแล้ว ต้องมีขั้นตอนรายละเอียดของกระบวนการพิจารณาคำขอ เช่น ต้องมีการประกาศโฆษณา เพื่อให้รับทราบการเข้าถึงสิทธิ และหรือกล่าวอ้างที่ว่าจะมีสิทธิผูกขาดในเรื่องน้น ต้องดูในรายละเอียด เขาจะเปิดโอกาสให้เอกชนทีผ่านคุณสมบัติเชี่ยวชาญเข้ามารับหน้าที่นี้ แทนหน่วยงานของเขาหรือของรัฐ ในประเทศไทยภารกิจนี้ยังไม่ชัดเจนนัก เชิงการภายในหน่วยงานที่ตรวจสอบสิทธิบัตรต้องหารือกับผู้เกี่ยวข้องอยู่ แต่จุดนี้ยังไม่เป็นเกณฑ์บังคับใช้ทั่วไป การที่ประชาชนจะมาตรวจสอบ รู้ว่าขั้นตอนการพิจารณารายละเอียดมีอะไร อย่างไร ผู้ใช้บริการเป็นใคร มีความเชี่ยวชาญเพียงพอหรือไม่

ถาม : ในอดีตมีบทเรียนเสียรู้ เรื่องสิทธิบัตร ภูมิปัญญาของไทย

ตอบ : มีหลายกรณีมาก ทำให้กังวล จากอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ เกณฑ์นี้ที่ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น จากทรัพยากรท้องถิ่น คุณต้องแบ่งปันผลประโยชน์ กรณีนี้ถ้าใช้เกณฑ์นี้ มีกรณี หญ้าเปล้าน้อย แต่เกิดก่อนมีอนุสัญญาฉบับนี้ แต่ กวาวเครือ แน่นอนชัดเจนว่ามีการจดสิทธิบัตร ญี่ปุ่นเกาหลีจด ปรากฎว่าทำภายใต้อนุสัญญาฯ ในทางปฏิบัติเขาต้องปฏิเสธไม่ให้สิทธิบัตรในเรื่องนี้  และประเทศไทยสามารถคัดค้านการจดสิทธิบัตรเหล่านั้นในต่างประเทศได้ด้วย แต่ไทยไม่ได้ดำเนินการเรืองนี้ ทำให้เสียผลประโยชน์ไป ซึ่งก็อาจมีนักวิจัยบางคนร่วมอยู่ ได้ประโยชน์ก็เฉพาะบุคคล แต่ผลประโยชน์ระยะยาวให้กับประเทสไม่เกิดขึ้นโดยรวม

ถาม :ตามหลักการ ถ้าไม่ใช่สารสังเคราะห์ คัดค้านได้ทันทีหรือไม่

เป็นหน้าที่ของกรมทรัพย์สินฯ ที่จะปฏิเสธคำขอนั้นได้ตั้งแต่ต้น เพราะผิดมาตรา 9 วรรคหนึ่งส่วนเรื่องความใหม่ก็ชัดเจนว่าถ้าสารสกัดกัญชาที่ได้แล้วอ้างว่ารักษาลมบ้าหมูโรคลมชักในตำราเขียนไว้สามารถปฏิเสธได้เลยว่าไม่มีความใหม่เพราะปรากฎในตำราของไทยอยู่แล้วซึ่งตรงนี้กรมทรัพย์สินฯได้หารือหน่วยงานเช่นกรมการแพทย์แผ่นไทยกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่คนทั่วไปไม่ทราบเลยว่ากระบวนการพิจารณาคำขอเป็นอย่างไร

ถาม : รมต.แจงกรมทรัพย์สินฯ รับจดสิทธิบัตรจากสารกัญชา ซึ่งความจริงไม่มีการรับจด มีแต่รับคำขอ ตามกฎหมายเมื่อมีคนมายื่นและประกาศโฆษณาแล้ว 90 วัน หากไม่มีผู้ใดคัดค้านต้องรับคำขอเอาไว้ ระบบเป็นเช่นนี้เหมือนกันทั่วโลก แต่เมื่อรับคำขอก็ยังมีระบบตรวจสอบอีก 5 ปี

ตอบ : ข้อนี้เป็นการไม่ชี้แจงความเป็นจริงตามกฎหมายตั้งแต่ต้น ผมดูแล้วจะสร้างความสับสนให้กับประชาชน ขั้นตอนประกาศคำขอหมายความว่า กรมทรัพย์สินฯได้พิจารณาแล้ว คำขอนั้นเข้าเงื่อนไขปฏิบัติหรือไม่ ทั้งที่มันไม่เข้าตั้งแต่ต้น ประกาศคำขอนี้เพียงแค่ให้คนอื่นมาคัดค้าน แต่หน้าที่ตรวจสอบคำขอมีกระบวนการที่กรมทรัพย์สินฯต้องรับผิดชอบ ผมเข้าใจว่าเป็นการประกาศเพื่อที่จะเห็นใจเจ้าหน้าที่ที่ปล่อยให้เกิดเรื่องนี้ขึ้น ไม่แน่ใจ แต่ถ้าใครนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ผมคิดว่าเจ้าหน้าที่ก็ดี หรือผู้รับผิดชอบหรือรับผิดทางกฎหมาย

เราไม่ได้หวังที่จะเอาโทษผู้ใด แต่เป็นการสร้างบรรทัดฐาน เพื่อไม่ให้มีการชี้แจงแบบนี้ไปเรื่อยๆ สังคมไม่ได้ตรวจสอบว่าดำเนินการไปอย่างไร นี่เป็นประโยชน์ระยะยาว ที่มีหลายองค์กรเตรียมการตรวจสอบและดำเนินการอยู่

โปรดฟังคำท้วงติง!! “สารสกัดกัญชา” ผลประโยชน์มหาศาลของไทย ที่ต้องช่วยกันคุ้มครอง

related