svasdssvasds

“บิ๊กอู๋” สั่ง 3 แผนเผชิญเหตุรับมือพายุ “ปาบึก” ดูแลแรงงานภาคประมง

“บิ๊กอู๋” สั่ง 3 แผนเผชิญเหตุรับมือพายุ “ปาบึก” ดูแลแรงงานภาคประมง

“บิ๊กอู๋” สั่งแผนเผชิญเหตุรับมือพายุ “ปาบึก” ย้ำ แรงงานภาคประมง 16 จังหวัด ติดตามข่าวสารจากทางการอย่างใกล้ชิด ประสานขอรับความช่วยเหลือโทรสายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

วันนี้ (4 ม.ค.62) พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 ให้ส่วนราชการทุกกระทรวงบูรณาการความร่วมมือให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนจากพายุ “ปาบึก” (PABUK) รมว.แรงงาน จึงได้สั่งการให้ ปลัดกระทรวงแรงงาน และหัวหน้าส่วนราชการในสังกัด เร่งบูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมแผนเผชิญเหตุให้ความช่วยเหลือพี่น้องแรงงาน ลูกจ้าง นายจ้าง ผู้ประกันตน และประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบจากพายุ“ปาบึก” ดังนี้

1.กรมการจัดหางานแจ้งแรงงานภาคประมง โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยใน 16 จังหวัดติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

2.กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแจ้งเตือนสถานประกอบการในพื้นที่เสี่ยงภัยใน 16 จังหวัด พร้อมสร้างการรับรู้ถึงแผนความปลอดภัยในสถานประกอบการ

3.สำนักงานประกันสังคมแจ้งไปยังโรงพยาบาลในเครือข่าย เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการให้บริการเนื่องจากจะมีผู้ประกันตนที่ประสบเหตุจากภัยธรรมชาติมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก

4.ให้ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงแรงงานประจำจังหวัดประสานข้อมูลกับศูนย์ปฏิบัติการฯ จังหวัด เพื่อให้การประชาชนได้อย่างทันท่วงที

5.สร้างการรับรู้ให้ประชาชนสามารถประสานขอความช่วยเหลือได้ที่สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

“บิ๊กอู๋” สั่ง 3 แผนเผชิญเหตุรับมือพายุ “ปาบึก” ดูแลแรงงานภาคประมง

พล.ต.อ.อดุลย์ฯ กล่าวต่อว่า กระทรวงแรงงานได้มีความห่วงใยพี่น้องแรงงานและประชาชนโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และพื้นที่ใกล้เคียง โดยสั่งการให้หน่วยงานสังกัดในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเตรียมแผนเผชิญเหตุเพื่อรับมือกับพายุ“ปาบึก” จำนวน 3 แผน คือ

1.ก่อนเกิดเหตุ

1) ให้จัดเตรียมสถานที่เป็นศูนย์อพยพ สำรอง กรณีจังหวัดขอใช้พื้นที่

2) สำรวจความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือ และยานพาหนะเพื่อรองรับการให้ความช่วยเหลือ

3) จัดเตรียมแรงงานที่มีความรู้ทางเทคนิค เช่น ช่างไฟฟ้า เพื่อช่วยเหลือด้านความปลอดภัยให้กับประประชาชนในพื้นที่เสียงภัย

4) ใช้ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นหน่วยติดตามสถานการณ์ และรายงานผลกระทบ โดยประสานความร่วมมือข้อมูลจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด

2. ขณะเกิดเหตุ

1) จัดทีมหน่วยบริการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และใกล้เคียง เพื่อประกอบอาหารร่วมกับโรงครัวพระราชทาน

2) ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยร่วมกับทางจังหวัดนครศรีธรรมราช

3) ประสานอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ประสบภัย ให้แจ้งข้อมูลขอความช่วยเหลือได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช และศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ทางหมายเลขโทรศัพท์ 081-538-3638 ตลอด 24 ชั่วโมง

3. ภายหลังเกิดเหตุ

1) จัดหน่วยบริการเคลื่อนที่กระทรวงแรงงาน สำรวจความต้องการรับการช่วยเหลือด้านแรงงานในกลุ่มผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการ แรงงานนอกระบบ แรงงานผู้รับงานไปทำที่บ้าน ฯลฯ และขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการช่วยเหลือจากโครงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านอาชีพ

2) มอบหมายให้สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 22 นครศรีธรรมราช ร่วมกับสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ให้บริการซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องยนต์การเกษตรแก่ประชาชนผู้ประสบภัย

ทั้งนี้ รมว.แรงงานได้เน้นย้ำให้นำรูปแบบแผนเผชิญเหตุของจังหวัดนครศรีธรรมราชไปใช้กับจังหวัดอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ “ปาบึก” ต่อไป

related