svasdssvasds

อัตราการฆ่าตัวตายทั่วโลกลดลงถึง 30 เปอร์เซ็นต์จากปี 1990 [คลิป]

องค์การอนามัยโลกเปิดเผยสถิติการฆ่าตัวตายล่าสุด พบว่าทั่วโลกลดลงถึง 1 ใน 3 นับจากปี 1990 แต่ยังนับว่าเป็นวิกฤติสาธารณสุขของโลก

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ตั้งเป้าที่จะลดอัตราการฆ่าตัวตายให้ได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2020  และจากข้อมูลล่าสุด พบว่าแต่ละปีมีคนฆ่าตัวตายทั่วโลกอย่างน้อย 817,000 คน คือมีจำนวนคนเพิ่มขึ้นจากปี 1990  แต่ถ้านับเป็นอัตราต่อประชากรแล้ว ถือว่าน้อยลงถึง 32.7 เปอร์เซ็นต์

อัตราการฆ่าตัวตายทั่วโลกลดลงถึง 30 เปอร์เซ็นต์จากปี 1990 [คลิป]

ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานสาธารณสุขแคนาดา ผู้ร่วมทำการวิจัยกับองค์การอนามัยโลก ระบุว่า การฆ่าตัวตาย เป็นสาเหตุการตายที่ป้องกันได้ และการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานสาธารณสุขต้องพยายามต่อไปเพื่อลดอัตราการตายจากการฆ่าตัวตายลงไปอีก

แม้ว่าอัตราการฆ่าตัวตายทั่วโลกจะลดลง แต่ก็มีหลายภูมิภาคในโลก ที่การฆ่าตัวตายยังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิต และพบว่าผู้ชายมีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตายมากกว่าผู้หญิงในทุกภูมิภาคและทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นกลุ่ม 15 – 19 ปี อัตราการฆ่าตัวตายของผู้ชายอยู่ที่ 15.6 คนต่อประชากร 100,000 คน ขณะที่ผู้หญิงอยู่ที่ 7 คนต่อ 100,000 คน

อัตราการฆ่าตัวตายทั่วโลกลดลงถึง 30 เปอร์เซ็นต์จากปี 1990 [คลิป]

ข้อมูลจากเว็บไซท์ World Population Review ระบุว่าประเทศที่มีคนฆ่าตัวตายมากที่สุดในโลก 5 อันดับแรกคือ ลิทัวเนีย ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายอยู่ที่ 31.9 คนต่อประชากร 100,000 คน ตามด้วยรัสเซียที่ 31 คน กายอานา 29.2 คน เกาหลีใต้ 26.9 คน และเบลารุส 26.2 คน

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลล่าสุดจากกรมสุขภาพจิตพบว่าอัตราการฆ่าตัวตายของปี 2017 อยู่ที่ 6.03 คนต่อประชากร 100,000 คน แต่ละปีมีคนไทยพยายามฆ่าตัวตายประมาณ 53,000 คน และปี 2017 มีคนฆ่าตัวตายสำเร็จ กว่า 4,000 คน เป็นผู้ชายถึง 80 เปอร์เซ็นต์

related