svasdssvasds

อย่าให้ตึงตั้งแต่เด็ก!! แก่แล้วก็อย่าให้ยาน “สูญเสียได้ยินเพิ่ม”

อย่าให้ตึงตั้งแต่เด็ก!! แก่แล้วก็อย่าให้ยาน “สูญเสียได้ยินเพิ่ม”

องค์การอนามัยโลกรตรวจพบปัญหาการได้ยินและฟื้นฟูการได้ยินตั้งแต่ระยะแรก  โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียการได้ยิน เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี  ผู้ที่ทำงานในที่เสียงดัง 

จากรายงานสถานการณ์ปัญหาการสูญเสียการได้ยินในประเทศไทย จากรายงานสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2561) พบว่าการออกบัตรประจำตัวคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมายมากเป็นอันดับ 2 (375,680 คน; 18.41%) รองจากความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือร่างกาย (1,015,955 คน; 49.77%) อายุที่มากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยที่มีปัญหาการได้ยินสูงขึ้นตามไปด้วย  อย่างไรก็ตามข้อมูลนี้เป็นจำนวนเฉพาะผู้ที่มารับการจดทะเบียนคนพิการ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วปัญหาการได้ยินลดลงในประชากรไทยมีประมาณ 2.7 ล้านคน หรือเทียบเท่ากับจำนวนประชากรจังหวัดนครราชสีมา หากเราไม่รีบป้องกันและแก้ไข ในอนาคตคนไทยทุกๆ 10 คน อาจจะพบผู้ที่มีปัญหาการได้ยิน 1 คน

 

สาเหตุของการสูญเสียการได้ยินมีหลายประการเช่น การอักเสบติดเชื้อของหูหรือเยื่อหุ้มสมอง  ศีรษะได้รับการกระทบกระแทกรุนแรง การสัมผัสเสียงดังๆ การเสื่อมสภาพตามอายุ หรือยาบางชนิดมีฤทธิ์ทำลายหูชั้นใน เป็นต้น  เมื่อก่อนหูน้ำหนวกเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีปัญหาสูญเสียการได้ยิน  แต่ปัจจุบันเมื่อยาปฏิชีวนะดีขึ้นการเข้าถึงระบบสาธารณสุขดีขึ้นทำให้ปัญหาหูน้ำหนวกลดลง  ประกอบกับพฤติกรรมคนเราเปลี่ยนไป มีการใส่หูฟังมากขึ้น มีการแสดง concert ต่างๆ การแข่งขันกีฬา และกิจกรรมอื่นๆ ที่มีเสียงดัง ทำให้สาเหตุการสูญเสียการได้ยินเปลี่ยนไป นอกจากนี้คนเรามีอายุยืนมากขึ้นประสาทหูเสื่อมจากอายุก็พบมากขึ้นด้วย  แต่กลับพบว่าประชาชนส่วนหนึ่งไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาการสูญเสียการได้ยินหรืออันตรายจากการสัมผัสเสียงดัง และไม่เคยได้รับการตรวจการได้ยิน  ซึ่งถ้าประสาทหูเสื่อมแล้วจะไม่มีทางแก้ไขให้เป็นเหมือนเดิมได้  ถึงเวลาแล้วที่เราควรจะตระหนักถึงความสำคัญของการสูญเสียการได้ยินและพยายามหาทางป้องกัน

รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร อุปนายกแพทยสภาคนที่ 2 กล่าวว่า ปัญหาการได้ยินในเด็กไทยและนโยบายการตรวจประเมินการได้ยินในทารก ในอดีตปัญหาการสูญเสียการได้ยินในเด็กนั้น กว่าจะรู้ว่ามีปัญหาก็อายุ 2-3 ปีไปแล้วเนื่องจากเด็กไม่ยอมพูด  ซึ่งกว่าเด็กเหล่านี้จะได้รับการวินิจฉัยและฟื้นฟูการได้ยินก็ช้ามาก หรือบางครั้งอาจไม่ได้รับการฟื้นฟูเลยก็มี  ทำให้เด็กมีปัญหาด้านภาษาและการสื่อสาร อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ ตามมาด้วย   ปัจจุบันการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดทำในหลายโรงพยาบาลและประชาชนเริ่มตระหนักถึงปัญหาการได้ยินมากขึ้น

ปัจจุบันราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข จัดทำโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย ซึ่งเรื่องการคัดกรองการได้ยินในทารกแรกคลอดเป็นหนึ่งในโครงการทั้งหมด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดกรองภาวะบกพร่องทางการได้ยินในทารกแรกคลอด และให้ทารกที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพในช่วงเวลาที่เหมาะสม

สำหรับเด็กมีวิธีที่ผู้ปกครองสามารถสังเกตพัฒนาการทางการได้ยินของบุตรหลานได้ดังนี้

1. ระยะแรกเกิด – 3 เดือน

-  มีอาการสะดุ้งตกใจ หรือร้องไห้ เมื่อได้ยินเสียงดังๆ

-  มีการเล่นเสียงในลำคอ

2.ระยะ 3-6 เดือน

- ทำท่าคล้ายหยุดฟัง เมื่อพ่อแม่มาคุยกับเด็ก

-  มีการกลอกตาหรือหันหาที่มาของเสียงที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเด็ก แม้จะป็นเสียงเบาๆ

-  เด็กจะออกเสียงคล้ายพยัญชนะและสระรวมกัน เช่น กากา บาบา

3.  ระยะ 6-9 เดือน

-  เด็กจะหันศีรษะไปมาเพื่อหันหาเสียงเรียกได้

-  เด็กจะออกเสียงพยัญชนะและสระได้มากขึ้น โดยทำเสียงติดต่อกันยาวๆได้ 4-6พยางค์ เช่น ลาลา ลาลา บาคาบาคา

4.  ระยะ 9-12 เดือน

-   เด็กมีการเล่นเสียงยาวต่อเนื่องคล้ายคำพูดที่เป็นประโยคยาวๆในการโต้ตอบสื่อสาร

-   เด็กทำตามคำสั่งง่ายๆได้ เช่น สวัสดี บ๊ายบาย

-    เด็กพูดคำแรกซึ่งฟังคล้ายกับคำพูด เช่น แม่ หม่ำ ไป

5.  ระยะ 12-18 เดือน

-    เด็กสามารถหันหาเสียงได้ถูกต้อง

-   เด็กเริ่มพูดเป็นคำที่มีความหมาย 1 พยางค์ โดยเด็กสามารถพูดได้อย่างน้อย  10-15คำ เช่น พ่อ แม่ แมว นม เอา ไป ไม่

6. ระยะ 18-24 เดือน

-   เด็กสามารถทำตามคำสั่งง่ายๆได้ ชี้อวัยวะได้อย่างน้อย 2 อย่าง ชี้สิ่งของที่คุ้นเคยได้

-   เด็กพูดได้ประมาณ 40-100 คำ และเริ่มพูดเป็นวลีสั้นๆ เช่น เอามา ไม่ไป

หากผู้ปกครองพบว่าบุตรหลานมีพัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้า ไม่สมวัย ควรรีบนำบุตรหลานมาพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการตรวจประเมิน วินิจฉัยที่เหมาะสม และ เข้ารับการรักษาฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว

อย่าให้ตึงตั้งแต่เด็ก!! แก่แล้วก็อย่าให้ยาน “สูญเสียได้ยินเพิ่ม”

related