svasdssvasds

รู้ไว้เป็นแนวทาง รถเสียเพราะถนนพัง เป็นหลุม เป็นบ่อ ! ฟ้องใครได้บ้าง ?

รู้ไว้เป็นแนวทาง รถเสียเพราะถนนพัง เป็นหลุม เป็นบ่อ ! ฟ้องใครได้บ้าง ?

หากเกิดกรณีถนนพัง จนสร้างความเสียหายให้กับรถของคุณ สามารถฟ้องร้องหน่วยงานใดได้บ้าง ? บทความนี้มีคำตอบ

หลายคนคงจะเคยมีประสบการณ์ในขณะขับรถไปบนถนนหลวง แล้วพบเจอกับสภาพผิวการจราจรที่เป็นหลุมเป็นบ่อ จนไม่สามารถหักหลบได้ทัน สร้างความเสียหายให้กับรถที่เราขับ โชคร้ายกว่านั้น รถเสียหลัก เข้าไปชนกับรถคันอื่น หรือชนเข้ากับเสาไฟฟ้า จนส่งผลให้เสียทรัพย์ บางรายอาจจะถึงกับเสียชีวิต ลักษณะที่เกิดขึ้นแบบนี้ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ? วันนี้แอดมินขอแนะนำสาระดีๆ มาให้กับแฟนเพจได้เรียนรู้ เพื่อใช้เป็นแนวทางต่อไป

ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับถนนหลวงกันก่อน ถนนหลวง หลวงมีหน้าที่ซ่อมแซมบำรุงรักษา ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ถนนหลวง แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามพระราชบัญญัติ ทางหลวง 2535 ดังนี้

1. ทางหลวงพิเศษ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง เป็นถนนที่ใช้เชื่อมระหว่างภาค จังหวัด และอำเภอ

2. ทางหลวงแผ่นดิน

3. ทางหลวงชนบท การสังเกตทางหลวงชนบท ให้สังเกตป้ายบอกทาง ซึ่งจะมีตัวอักษรกำกับ 2 ตัว เช่น นบ. หมายถึงจังหวัดนนทบุรี หรือ ชบ. หมายถึงจังหวัดชลบุรี

4. ทางหลวงท้องถิ่น มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล มีตัวอักษร 3 ตัว เช่น นบ.ถ ย่อมาจากนนทบุรี ตามด้วอักษร ถ.หมายถึงท้องถิ่น

5. ทางหลวงสัมปทาน ซึ่งมีเอกชนที่รับสัมปทานดูแล เช่นอุตราภิมุข ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างดินแดง ไปยังดอนเมือง บนถนนวิภาวดีรังสิต

รู้ไว้เป็นแนวทาง รถเสียเพราะถนนพัง เป็นหลุม เป็นบ่อ ! ฟ้องใครได้บ้าง ?

เมื่อเราประสบอุบัติเหตุเกิดความเสียหายจากข้อบกพร่องของผู้รับผิดชอบในการดูแล พื้นผิวการจราจร เบื้องต้นเราควรที่จะศึกษาให้ดีก่อนว่า เส้นทางที่เกิดอุบัติเหตุนั้น อยู่ในความรับผิดชอบของใคร โดยเมื่อทราบแล้ว เราสามารถไปร้องขอความเป็นธรรมกับศาลปกครอง ดังตัวอย่างที่จะยกมา จากคดีดำ เลขที่ อ970/2560

เหตุเกิดขึ้นที่ทางหลวงชนบท นบ. 1002 มุ่งหน้าไทรน้อย โดยผู้ฟ้องได้ทำการฟ้องทางหลวงชนบทเป็นจำเลยที่ 1 และกระทรวงคมนาคมเป็นจำเลยที่ 2 ในวันเกิดเหตุ รถยนต์ผู้เสียหายได้วิ่งไปบนถนนดังกล่าวตามหลังรถสิบล้อ ซึ่งเมื่อถึงจุดเกิดเหตุรถสิบล้อชะลอตัวเพื่อจะเลี้ยวขวาเข้าร้านวัสดุก่อสร้าง รถคันที่เกิดเหตุจึงตบไฟเลี้ยวซ้าย เพื่อทำการหลบแซงขึ้น

แต่ในขณะนั้นถนนได้ทรุดตัวลงอย่างกะทันหัน ทำให้รถยนต์คันดังกล่าวต้องหักหลบหลุม ทำให้เสียหลัก พุ่งเข้าชนเสาไฟฟ้า เป็นเหตุให้รถยนต์เสียหาย ซึ่งจากการซ่อมแซมรวมค่ารถยก ต้องเสียเงินไปจำนวน 228,350 บาท บริษัทประกันภัยเป็นผู้ดูแลข้ารับผิดชอบที่เกิดขึ้น

ดังนั้น บริษัทประกันภัยจึงทำการฟ้อง ทางหลวงชนบท และ กระทรวงคมนาคม ตามพระราชบัญญัติทางหลวง มาตรา 9 การกระทำละเมิด ละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายให้ต้องปฏิบัติ โดยทางหลวงชนบทเป็นทางหลวงที่จดทะเบียนไว้ มีสถานะที่ต้องตรวจตราดูแล ตามมาตรา 21(7 ) แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม ที่ระบุภารกิจไว้

รู้ไว้เป็นแนวทาง รถเสียเพราะถนนพัง เป็นหลุม เป็นบ่อ ! ฟ้องใครได้บ้าง ?

จากการพิจารณาของศาล จากคำให้การต่อสู้ทางคดี ทางหลวงอ้างว่า ในปี พ.ศ.2554 ได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมขังเป็นเวลานานกว่า 2 เดือน ทำให้ดินใต้ถนน เกิดความเปลี่ยนแปลงในขณะที่หลังจากน้ำท่วม ปี 2554 แล้ว ทางกรมทางหลวงได้มีการเปิดก็ประมาณปี 2555 เข้าทำการซ่อมผิวการจราจร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ศาลได้พิจารณาคำให้การของจำเลยแล้วเห็นว่า ทางหลวงมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลบำรุงรักษาให้ถนนพร้อมที่จะใช้งาน ให้เกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ถนน จะตรวจตราเพียงสภาพภายนอกไม่ได้ ต้องตรวจสภาพของโครงสร้าง ตามหลักวิศวกรรมสถาน ให้เกิดความพร้อมใช้งาน และความปลอดภัย

ดังนั้น ศาลจึงมีคำสั่งพิพากษาให้ทางหลวงชนบทชดใช้ค่าเสียหายตามที่จำเลยร้องฟ้อง จำนวนเงิน 228,350 บาท รวมทั้งดอกเบี้ย 7.5 เปอร์เซ็นต์ นับจากวันที่มีคำสั่งจนกว่าจะชดใช้แล้วเสร็จ

จากบทความนี้ หวังว่าผู้ใช้รถใช้ถนน สามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม และในช่วงปีใหม่ที่จะถึงนี้ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนที่จะเดินทาง ช่วยกันปฏิบัติตามกฎจราจร และขอให้เดินทางอย่างปลอดภัย

related