svasdssvasds

เตือนภัยเศรษฐกิจไทย Slow Walk R&D-โปร่งใส เพิ่มขีดแข่งขัน

เตือนภัยเศรษฐกิจไทย Slow Walk R&D-โปร่งใส เพิ่มขีดแข่งขัน

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

วันที่ 2-7-60-หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ สื่อในเครือสปริง กรุ๊ป ฉบับที่3275 วันที่ 2-5 ก.ค.2560 รายงานว่า    

เตือนภัยเศรษฐกิจไทย Slow Walk R&D-โปร่งใส เพิ่มขีดแข่งขัน

R&D-โปร่งใส เพิ่มขีดแข่งขัน นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หากย้อนไปเมื่อปี 2540 จนถึงวันนี้ผ่านไป 20 ปีแล้ว แสดงว่าเรามีอายุมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราไม่มีเวลาที่จะมาบอกว่า “เดี๋ยวก็ดีขึ้น” การจะทำให้ประเทศหลุดพ้นภาวะ Slow Death หรือจะ Slow Walk ได้นั้น สิ่งสำคัญคือต้องลดและเลิกพึ่งพาปัจจัยเดิมๆ ที่ทำให้จีดีพีขยายตัวตลอด 38 ปีที่ผ่านมาที่จะพึ่งภาคแรงงาน และละเลยการพัฒนาและวิจัย (R&D) ผู้ประกอบการใช้งบลงทุนด้านนี้น้อยมาก ต่างจากประเทศที่เกิดวิกฤติพร้อมๆ กับไทย เช่นเกาหลีใต้ที่ลงทุนด้านนี้ 4% แต่ไทยลงทุนแค่ 0.6% ต่อจีดีพี

[caption id="attachment_172938" align="aligncenter" width="335"] กอบสิทธิ์ ศิลปชัย กอบสิทธิ์ ศิลปชัย[/caption]

นอกจากนี้จะต้องปฎิรูปภาษี ซึ่งการเก็บรายได้ภาษีต่อจีดีพีของไทยปีที่แล้วอยู่ที่ 11.7% อันดับ 2 รองจากเวียดนามอยู่ที่ 18% ค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 15.8% มาเลเซีย 13.8% สิงคโปร์ 14.1% ฟิลิปปินส์ 14.7% และอินโดนีเซีย 10.4% สำหรับผู้ส่งออกต้องเปลี่ยนทัศนคติ แม้ปัจจัยต่างประเทศมีส่วน 60% โดยเฉพาะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจากการออมมีอัตราสูงกว่าการลงทุนที่ยังตํ่า ซึ่งสะท้อนโครงสร้างที่ต้องใช้เวลาความต่อเนื่องในการสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนรวมถึงกฎกติกาต่างๆ ที่ทำวันนี้จะมีผลในวันข้างหน้า “สิ่งที่แบงก์ชาติทำอยู่เป็นการซื้อเวลาให้ผู้ส่งออกปรับตัว ผู้ส่งออกต้องเปลี่ยนทัศนคติเพื่อปิดความเสี่ยงตรงนี้ ไม่ใช่พึ่งภาครัฐอย่างเดียว ผู้ส่งออกต้องมีวินัยป้องกันความเสี่ยง” นายกอบสิทธิ์ยังแนะนำในเรื่องของดัชนีเงินเฟ้อโดยการคำนวณต้องรวมราคาทรัพย์สินด้วยเพื่อให้ครบถ้วน ไม่ใช่ดูในแง่ของราคาของผู้บริโภคอย่างเดียว เพราะการวัดเฉพาะราคาผู้บริโภคที่ผ่านมา แม้หลายประเทศจะเริ่มใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแล้วแต่ยังเกิดวิกฤติซํ้า สาเหตุจากไม่นับเงินเฟ้อในแง่ของทรัพย์สินเช่นอสังหาริมทรัพย์ หรือราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นด้วย ลงทุน สลัดภาวะ Slow Death นายนริศ สถาผลเดชา ผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี กล่าวว่า ย้อนหลังไป 20 ปี เศรษฐกิจไทยเติบโตรวดเร็ว แต่หากมองไปอีก 10 ปีข้างหน้า ภาพที่เห็นสวนทางกันอย่างชัดเจน เศรษฐกิจไทยในภาพที่กำลังเข้าสู่ภาวะการเดินอย่างช้าๆ (Slow Walk) หากไม่ดำเนินการอะไรก็จะเข้าสู่ภาวะ Slow Death หรือการตายอย่างช้าๆ “เราขาด Evolution Technology ส่วนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เป็นโครงการที่ดี แต่ต้องเติม As a Country ดูแลนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนได้ตลอดรอดฝั่ง ต้องมองกันยาวๆ 30 ปี ไม่ใช่แค่ 3-5 ปี”

[caption id="attachment_172937" align="aligncenter" width="335"] นริศ สถาผลเดชา นริศ สถาผลเดชา[/caption]

การจะหลุดพ้นจากภาวะ Slow Walk และทำให้ไทยก้าวไปเร็วขึ้น (Fast Walk) การดึงความเชื่อมั่นให้กลับมาลงทุนเป็นหัวใจหลัก ควบคู่ไปกับการสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ต้องปฏิรูประเบียบกฎเกณฑ์ให้มีขั้นตอนง่ายขึ้นไม่ซํ้าซ้อน เหมือนที่ภาครัฐกำลังพยายามทำเรื่องความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ สิ่งที่ขาดคือความเชื่อมั่น รวมถึงการเมืองด้วย หากมีการลงทุนจะทำให้ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ดังนั้นถ้าจะก้าวไปให้เร็ว ต้องดึงลงทุนกลับมาให้ได้ “ไม่เพียงแค่ค่าเงินเท่านั้นปัญหาของไทยที่สำคัญคือ เราเป็นประเทศส่งออก แต่หลายปีที่ผ่านมา ไทยไม่มี Code สินค้าใหม่ๆ” อีกองค์ประกอบคือ ระบบกำกับดูแลยังไม่ทั่วถึง เมื่อแก้ปัญหาจุดหนึ่งก็ไปเป็นปัญหาอีกจุดหนึ่ง เช่นการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนโดยการคุมบัตรเครดิต แต่ปัญหาก็จะไปเกิดที่นอนแบงก์ ดังนั้นจะต้องทำให้องค์การกำกับเป็นบูรณาการเพื่อจะแก้ปัญหาได้ครอบคลุม ธนาคารพาณิชย์ไทยปัจจุบันมีพัฒนาการสภาพคล่องและเงินกองทุนแกร่ง สามารถสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการลงทุนได้ แต่ควรจะเพิ่มการให้ความรู้ทางการเงินแก่ลูกค้าจะช่วยเรื่องลดการก่อหนี้หรือลดปัญหาหนี้ครัวเรือน จีดีพีไทยพร้อม Speed Up นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า วันนี้เปลี่ยนไปจากเดิมมาก โดยไทยมีอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ การเคลื่อนย้ายเงินทุนไม่เสรีเต็มที่ และนโยบายการเงินยังมีเสรีภาพ ซึ่งนโยบายการเงินทำได้ดีระมัดระวังในหลายเรื่อง

[caption id="attachment_172936" align="aligncenter" width="335"] บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ บุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์[/caption]

“ในเชิงมหภาคเราเดินมาถูกทางแล้ว ตอนนี้ความเสี่ยงตํ่าเกือบทุกตัวอยู่ในสภาวะค่อนข้างมั่นคง โอกาสเกิดวิกฤติค่อนข้างน้อย ไม่ใช่ผมประเมินประเทศตัวเอง แม้แต่องค์กรต่างประเทศก็ชื่นชมไทย ความเสี่ยงหนี้ที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นร่วมกันคือ ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจเติบโตตามศักยภาพที่ระดับ 5% แต่หัวใจสำคัญต้องรักษาเสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจ คนระดับล่างจะได้อานิสงส์ด้วย” แม้โอกาสความเสี่ยงจะเกิดวิกฤติซํ้ารอยน้อย แต่อย่าชะล่าใจ ต้องระมัดระวังซึ่งในแง่นโยบายการคลัง ที่ยังมี Policy Space ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และพยายามรักษาวินัยการคลังไว้ เพื่อไม่ให้เป็นประเด็นในวันข้างหน้า แม้เมกะโปรเจ็กต์โครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก แต่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีปรับขึ้นไม่เกิน 50% อย่างไรก็ตามนโยบายการคลังนั้นมีข้อจำกัดหากใช้มากจะเป็นปัญหา จึงเป็นหน้าที่ของภาคเอกชนที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รัฐมีหน้าที่สร้างกฎระเบียบให้เอื้อต่อการลงทุน การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่จะตอบโจทย์ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายได้ และจะเป็นหลักประกันว่า รัฐบาลชุดต่อไปที่เข้ามาบริหารประเทศจะต้องเดินหน้าตามยุทธศาสตร์และสานต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน “ผมไม่เห็นด้วยกับคำว่า Slow Death แต่ขอใช้คำว่า Slow Walk การทำ National E-payment ที่จะทำให้เศรษฐกิจโตแบบมีส่วนร่วม การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ปฏิรูปภาษี จะทำให้เศรษฐกิจ Speed Up เดินหน้าได้เร็วขึ้น” อสังหาฯเปราะบางปั่นราคา นายอิสระ บุญยัง กรรมการผู้จัดการ บริษัท กานดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ว่า หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวไปมาก แต่เกิดปัจจัยใหม่ที่ทุกคนคิดเหมือนกัน คือ ความต้องการที่อยู่อาศัยในรูปแบบคอนโดมิเนียมซึ่งเติบโตทั่วประเทศ แม้กระทั่งหัวเมืองต่างจังหวัด เห็นได้จากปี 2556 คอนโดมิเนียมเติบโตสูงมีจำนวน 85,000 หน่วย

[caption id="attachment_172934" align="aligncenter" width="503"] อิสระ บุญยัง อิสระ บุญยัง[/caption]

ขณะที่ปีหนึ่งๆ ทั้งแนวราบและแนวสูงมีประมาณ 3-5 หมื่นหน่วย โดยอัตราการเติบโตไม่ใช่เฉพาะที่อยู่อาศัย แต่รวมทั้งห้างสรรพสินค้า คอนวีเนียนสโตร์ และคอมเมอร์เชียลมอลล์ แต่คอนโดมิเนียมค่อยๆ ปรับลดลง กระทั่งปี 2559 คงเหลือประมาณกว่า 5 หมื่นหน่วย ส่วนที่อยู่อาศัยแนวราบค่อนข้างสมํ่าเสมอประมาณ 4 หมื่นหน่วย หรืออัตราเติบโตต่อปีบวกลบ 2% แต่ปี 2557 การที่ในภูมิภาคยังชะลอตัวต่อเนื่อง การยังไม่ฟื้นตัวดังกล่าวนั้นเป็นปัจจัยบวก ข้อสังเกตที่เป็นจุดเปราะบางคือ สภาพคล่องในระบบที่สูงโดยผู้ประกอบการรายใหญ่ 10 อันดับของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งมีทุนแข็งแกร่งจากช่องทางในการระดมทุนมาก บวกกับการใช้เทคโนโลยีในการก่อสร้างทำให้รวดเร็ว และราคาที่ดินปรับสูงขึ้น เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ต้องไม่ประมาท อีกประการคือ ความจำเป็นเรื่องโครงข่ายการคมนาคม นอกจากการเชื่อมการเดินทางภายในประเทศแล้ว การเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ยังเชื่อมโยงกับการเติบโตของประเทศเพื่อนบ้าน จึงอยากให้ทบทวนกฎหมายสำคัญๆที่เป็นมิติเชื่อมภูมิภาค ไม่ว่าโครงข่ายเชื่อมระบบขนส่งแบบใหม่ ระบบราง ถนน หรือทบทวนลักษณะกายภาพของผังเมืองเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนในแง่ของสัญญเช่า เป็นต้น เชียร์รัฐผ่อนนโยบายการเงิน นายปิยศักดิ์ มานะสันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่า ปัญหาเกิดใหม่หลังวิกฤติต้มยำกุ้ง ไม่ว่าการลงทุนเอกชนติดลบ พฤติกรรมการก่อหนี้ของคนเจนวาย และความสามารถในการแข่งขันลดลง ควรแก้ไขด้วย 3 แนวทางคือ

[caption id="attachment_172935" align="aligncenter" width="335"] ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ปิยศักดิ์ มานะสันต์[/caption]

ประการแรก การผ่อนคลายนโยบายการเงิน ต้องมองดอกเบี้ยที่แท้จริง หรือเมื่อหักอัตราเงินเฟ้อแล้ว ซึ่งเฟดสะท้อนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ ต่างจากไทย จึงควรผ่อนการคุมเป้าเงินเฟ้อ โดยการใช้แม็กโคร พรูเดนเชียลโดยต้องค่อยเป็นค่อยไป ค่อยจับทีละจุด ยกตัวอย่างเวลานี้ ธปท.ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯแก้ปัญหาหุ้นกู้ บี/อี หรือแก้ไข พ.ร.บ. สหกรณ์ออมทรัพย์ร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ “ในแง่ของการแข่งขันต้องช่วยประชาชนเข้าถึงสถาบันการเงินทั้งเงินฝากและเงินกู้ได้ง่ายขึ้นโดยช่วยลดสเปรด แต่การคุมเข้มทำให้คนบางกลุ่มเข้าไม่ถึงหรือเป็นการผลักออกไปสู่เงินนอกระบบหรือช่วงหลังกระแสข่าวทางการเข้มงวดมากขึ้นจะคุมเรื่องบัตรเครดิตซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี แต่หากคุมมากหรือคุมทันทีจะนำไปสู่หนี้นอกระบบหรือไม่ ซึ่งเป็นจุดบอดบางทีผู้กำกับต้องคิด” ประการที่ 2 ต้องเร่งผลักดันโครงการขนาดใหญ่ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนโยบายการคลัง โดยเฉพาะท่าเรือ และสุดท้ายรัฐควรสนับสนุนเรื่องเปิดเสรีมากขึ้นเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของไทยที่เริ่มลดลง ไม่ว่าเรื่องโทรคมนาคม โลจิสติกส์ ที่เอื้อต่อระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล ทรัพยากร หรือภาคการเงิน “ถ้าเปิดเสรีการเงินมากขึ้นจะทำให้ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง หรือแม้แต่ฟินเทคก็ช่วยเรื่องต้นทุนกู้ยืม รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีจะช่วยให้คนมีศักยภาพเข้ามาเพิ่มช่องว่างสังคมสูงวัยและจะลดปัญหาขาดแรงงานที่มีประสิทธิภาพ” จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,275 วันที่ 2 - 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

related