svasdssvasds

ย้อนวิกฤติ! 'ต้มยำกุ้ง'  ผ่านมุมมอง'สื่อ'ไทย

ย้อนวิกฤติ! 'ต้มยำกุ้ง'  ผ่านมุมมอง'สื่อ'ไทย

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

วันที่ 2 ก.ค.60--ผ่านมา 20 ปี ที่วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ในเอเชียปี 2540 หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ลุกลามเป็นโดมิโน หนังสือพิมพ์หลายฉบับในยุคนั้นต้องปิดตัวลง ถึงวันนี้ลองมองย้อนวิกฤติดังกล่าว ผ่านมุมมองสื่อไทย

วิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งใหญ่ในเอเชียปี 2540 หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ที่ลุกลามเป็นโดมิโนผ่านมา 20 ปีแล้วจนถึงวันนี้ ในมุมมองของบรรดาสื่อมวลชนไทย เชื่อมั่นว่าระบบการเงิน การคลัง และ สถาบันการเงินของไทยแข็งแกร่งมากพอจะไม่เกิดวิกฤติซ้ำรอย

นายสำเริง คำพะอุ อดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เล่าย้อนวิกฤติต้มยำกุ้ง ว่าเหตุการณ์ในยุคนั้น ตัวสื่อและประชาชนทั่วไปไม่ค่อยได้รับผลกระทบ หากจะกระทบก็มีเพียงแค่การตกงานบ้าง ส่วนใหญ่คนที่ตกงานในยุคนั้นก็หาทางออกด้วยการกลับภูมิลำเนาบ้านเกิด

ย้อนวิกฤติ! 'ต้มยำกุ้ง'  ผ่านมุมมอง'สื่อ'ไทย

เช่นเดียวกับ คณิต นันทวาณี อดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์บ้านเมือง มองว่า วิกฤติต้มยำกุ้งไม่มีผลต่อบรรดาสื่อมวลชนมากนัก ขณะเดียวกันสื่อมวลเองก็ได้ทำหน้าที่ขยายเรื่องราวที่เกิดขึ้น ว่าใครเป็นคนทำ ทำไมจึงเกิดขึ้น เพื่อให้ปะชาชนเข้าใจ และสิ่งหนึ่งที่ได้จากบทเรียนครั้งนั้น เป็นเกราะป้องกันที่ดีสุด ส่วนตัวเชื่อมั่น ต้มยำกุ้งรอบ 2 จะไม่เกิดขึ้นแน่นอน 

ย้อนวิกฤติ! 'ต้มยำกุ้ง'  ผ่านมุมมอง'สื่อ'ไทย

“นี่ก็เป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งที่รัฐบาลเองก็เจ็บตัว รัฐมนตรีเองก็เจ็บตัวเหมือนกัน แต่ประชาชนไม่มีปัญหา แต่ต้องจำไว้เป็นบทเรียน อย่าให้มันเกิดขึ้นมาอีก เพราะเกิดขึ้นมาแล้วคนที่เดือดร้อนคือรัฐบาลและประเทศ รัฐบาลที่ดูแลประชาชน เขาต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น อย่าให้มันกลับมาอีก” คณิต กล่าว

ย้อนวิกฤติ! 'ต้มยำกุ้ง'  ผ่านมุมมอง'สื่อ'ไทย

ขณะที่ ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่า วิกฤติสื่อในปี 2540 เป็นวิกฤติที่รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโดยตรง ต่างจากปัจจุบันที่รับกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทำให้สื่อดั้งเดิมตามไม่ทันกับการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค เพราะคอนเทนท์ทุกอย่างอยู่ในสมาร์ทโฟน สามารถเลือกดูได้ในสิ่งที่ตัวเองสนใจได้ทุกเวลา ไม่ต้องไปรอดูทีวี ไม่ต้องซื้อหนังสือพิมพ์ และยังสามารถผลิตคอนเทนท์ได้ด้วยตัวเอง 

ย้อนวิกฤติ! 'ต้มยำกุ้ง'  ผ่านมุมมอง'สื่อ'ไทย  


เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้เม็ดเงินโฆษณาก็เปลี่ยนไปซื้อโฆษณาในออนไลน์แทน และยังใช้ช่องทางออนไลน์ในการโฆษณาที่ราคาถูกกว่าลงโฆษณาในสื่อดั้งเดิม ช่วยประหยัดงบโฆษณาได้มหาศาล

ย้อนวิกฤติ! 'ต้มยำกุ้ง'  ผ่านมุมมอง'สื่อ'ไทย

 

นอกจากนี้ในอดีตยังมีสื่อทีวีไม่กี่ช่อง หนังสือพิมพ์ไม่กี่ฉบับ แต่หลังจากทีวีดิจิตัลมีหลายช่องมากขึ้น แต่ละช่องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการประมูล ช่วงแรกจึงมีการทุ่มเงินลงทุนซื้ออุปกรณ์และบุคลากรในราคาที่สูง แต่ผลประกอบการไม่เป็นไปตามคาด เมื่อเกิดวิกฤติจึงลดต้นทุนทุกอย่าง ทั้งบุคลากร อุปกรณ์ รวมทั้งคอนเทนท์ โดยเลือกให้เล่าข่าวจากคลิปที่หาได้ฟรีจากสื่อโซเชียลทั่วไป เพราะไม่ต้องการใช้นักข่าวมากเกินไป 

ดร.มานะ วิเคราะห์ว่าต่อไปจะเกิดวิกฤติมากขึ้น เพราะโซเชียลมีเดียร์รายใหญ่อย่างเฟซบุ๊ค จะมีการผลิตคอนเทน์ด้วยตัวเองมากขึ้น ดังนั้นสื่อดั้งเดิมจะถูกแย่งตลาดมากขึ้น 

ดังนั้นสื่อดั้งเดิมต้องปรับตัวหาผู้บริโภค มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ทุกสื่อจะเล่นตลาดเดียวกันทั้งหมดไม่ได้ ถ้ามีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน มีการสร้างกิจกรรมร่วมกันกับกลุ่มเป้าหมาย แม้ว่าเรตติ้งจะไม่สูงแต่มีกลุ่มคนดูแน่นอนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ และนอกจากนี้ต้องหารายได้ทางอื่นนอกจากการรอเม็ดเงินโฆษณา อย่างเช่น ทีวีบางช่องออกกฎดาราในสังกัดห้ามรับงานอีเวนท์เอง แต่ให้ออกงานในนามช่องเพื่อเป็นแม่เหล็กในการหาเงินเข้าสถานี

related