svasdssvasds

ชงสังคายนาสื่อออนไลน์ทั้งระบบ  ชี้"ปัญหาสังคมมาจากสื่อเหล่านี้" 

ชงสังคายนาสื่อออนไลน์ทั้งระบบ  ชี้"ปัญหาสังคมมาจากสื่อเหล่านี้" 

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

วันที่ 3-7-60-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในวันนี้  มีวาระสำคัญ คือ การพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการสื่อสารมวลชน เรื่องผลการศึกษาและข้อเสนอแนะการปฏิรูปการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย    

โดยมีสาระสำคัญคือ  การสรุปปัญหาและสภาพของการใช้สื่อออนไลน์ ที่ระบุว่า กลายเป็นเครื่องมือของผู้ที่ต้องการทำธุรกิจอย่างกว้างขวางตามการส่งเสริมจากนโยบายของรัฐ แต่กลับพบว่ามีการใช้สื่อออนไลน์โฆษณาชวนเชื่อที่เกินความเป็นจริง ส่งผลให้เกิดคดีหลอกลวงหรือฉ้อโกงจำนวนมากขึ้น รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารอย่างเปิดเผยและกว้างขวาง นำไปสู่ปัญหาการขายบริการทางเพศผ่านสื่อออนไลน์ รวมทั้งการพนันออนไลน์ ยาเสพติด   

ชงสังคายนาสื่อออนไลน์ทั้งระบบ  ชี้"ปัญหาสังคมมาจากสื่อเหล่านี้" 

นอกจากนี้  ยังพบว่า มีการนำสื่อออนไลน์นำไปใช้ทางการเมือง มีการปล่อยข้อมูลข่าวสารในลักษณะเพื่อสร้างความวุ่นวาย เพื่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและการบริหารราชการของรัฐบาล หรือต่อสถาบันหลัก กลายเป็นปัญหาด้านความมั่นคงของประเทศ  

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอแนวทางการปฏิรูป ให้มีการจัดระบบการเข้าถึงสื่อออนไลน์ ด้วยการเพิ่มมาตรการจัดระเบียบ การลงทะเบียนโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะระบบเติมเงิน โดยให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ปรับแผนที่จะใช้ลายนิ้วมือ ใบหน้า ควบคู่กับการลงทะเบียนโทรศัพท์มือถือด้วยบัตรประชาชน ที่จะเริ่มใช้บังคับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรปรับเปลี่ยนเป็นการใช้บังคับทั่วประเทศ หรือเริ่มทุกจังหวัด ยกเว้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากนั้นจึงค่อยมาใช้บังคับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ควรมีมาตรการเสริมในการจำกัดขอบเขตการใช้งานโทรศัพท์มือถือเฉพาะพื้นที่ 

ชงสังคายนาสื่อออนไลน์ทั้งระบบ  ชี้"ปัญหาสังคมมาจากสื่อเหล่านี้" 

นอกจากนี้ ยังเสนอให้จัดตั้งศูนย์กลางบริหารจัดการข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ โดยให้ปรับแก้หลักเกณฑ์การให้สัมปทานกับบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องดำเนินการส่งข้อมูลให้กับศูนย์กลางบริหารข้อมูลโทรศัพท์มือถือทุกครั้งที่มีการจดทะเบียนและยกเลิกการใช้งาน รวมทั้งกำหนดให้ระบบจัดเก็บข้อมูลของบริการ CDN (Content Delivery Network) และ Caching Server ของสื่อออนไลน์ต่างประเทศที่ติดตั้งในประเทศต้องขึ้นทะเบียนการให้บริการกับ กสทช. และต้องกำหนดให้จัดเก็บ log เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนสอบสวนทางคดีขณะเดียวกัน ได้เสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางเฝ้าระวัง โดยปรับภารกิจงานเฝ้าระวังของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) มาให้กับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เป็นผู้ดำเนินการแทน เนื่องจากปัจจุบัน ปอท. ได้จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังสื่อสังคมออนไลน์อยู่แล้ว  รวมทั้งให้เร่งรัดใช้มาตรการทางภาษีกับผู้ให้บริการสื่อออนไลน์ต่างประเทศโดยเร็ว เพื่อใช้ควบคู่กับการทำให้การบังคับใช้มาตรการการเก็บภาษีผู้บริโภคกับการใช้โฆษณาหรือการซื้อขายผ่านสื่อออนไลน์ให้เป็นจริง โดยกรมสรรพากรดำเนินการเรื่องดังกล่าวด้วยการปรับปรุงกฎหมายประมวลรัษฎากร โดยให้ถือว่าการประกอบธุรกิจออนไลน์ในไทยของต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษี 

related