svasdssvasds

เอาจริง! บังคับใช้กฎหมายแก้ทิ้งขยะไม่เป็นที่  

เอาจริง! บังคับใช้กฎหมายแก้ทิ้งขยะไม่เป็นที่  

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

นายจิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะทั้งบนบกและในน้ำ รวมทั้งสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 

เอาจริง! บังคับใช้กฎหมายแก้ทิ้งขยะไม่เป็นที่   นายจิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี


  

วันที่ 6-7-60-สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการตรวจราชการแบบบูรณาการ ร่วมกับ ผู้ตรวจราชการกระทรวง จเรตำรวจ คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด และที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน เพื่อตรวจติดตามผลการดำเนินงานนโยบายสำคัญของรัฐบาลในประเด็นนโยบายการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2560 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ได้เน้นการตรวจติดตามความต่อเนื่องของการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 –2559  และการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559 –2560 ) ของจังหวัด พบว่า มาตรการลดการเกิดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจากแหล่งกำเนิด การจัดเก็บและการขนส่ง การกำจัดและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และการสนับสนุนการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ นั้น ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร  

เอาจริง! บังคับใช้กฎหมายแก้ทิ้งขยะไม่เป็นที่  

  

จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (ณ วันที่ 7 มี.ค.2560 ) พบว่า ทั่วประเทศมีขยะมูลฝอยและของเสียชุมชนที่เกิดขึ้นทั้งหมด จำนวน 16,483,468.64  ตัน เก็บขนได้11,474,644.77 ตัน/ปี มีปริมาณขยะมูลฝอยตกค้าง จำนวน 6,946,248.40 ตัน/ปี ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อ จำนวน 734,748.69 ตัน/ปี ปริมาณกากอุตสาหกรรม จำนวน 9,768,313.33 ตัน/ปี ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีค่าใช้จ่ายด้านการจัดการมูลฝอย รวมจำนวน 1.3หมื่นล้านบาทเศษ/ปี และจากข้อมูลการตรวจติดตามของคณะผู้ตรวจราชการ (ณ วันที่ 31มี.ค. 2560) การดำเนินโครงการถ่ายโอนการสนับสนุนแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการขยะในระดับจังหวัด จำนวน 38 โครงการ ได้มีการดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน5 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 30 โครงการ และยกเลิกโครงการ/ตามพระราชบัญญัติ โอนงบประมาณฯ จำนวน 3 โครงการ สำหรับสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ประสบปัญหาไม่สามารถก่อสร้างหรือเปิดดำเนินการได้ จำนวน 19 แห่ง สามารถแก้ไขปัญหาและเปิดดำเนินการได้แล้ว1 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีการตั้งจุดรวบรวมขยะอันตรายชุมชนแล้ว จำนวน 15,091 แห่ง จาก 51 จังหวัด และมีหมู่บ้าน/ชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแล้ว จำนวน 7,782 แห่ง จาก 53 จังหวัด  

เอาจริง! บังคับใช้กฎหมายแก้ทิ้งขยะไม่เป็นที่  

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้รายงานผลการตรวจติดตามและข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาและเห็นชอบให้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่  

  

1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้ถุงพลาสติกและกล่องโฟมบรรจุอาหาร หรือบรรจุภัณฑ์ที่กำจัดยาก 

  

2. ให้กระทรวงมหาดไทยเร่งรัดผลักดันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาระบบการเก็บรวบรวมและขนส่งขยะมูลฝอยแบบแยกประเภทให้ชัดเจน และสร้างกระบวนการเรียนรู้การคัดแยกขยะที่ต้นทางให้กับประชาชนอย่างจริงจัง รวมทั้งเร่งผลักดันให้ผู้บริหารท้องถิ่นออกข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาขยะ  

3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย กำหนดแผนการเร่งรัดผลักดันให้จังหวัดพิจารณาทบทวนแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดให้ทันสมัย สอดคล้องกับ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย และแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 –2564) รวมทั้งร่วมกันปรับปรุงการคำนวณฐานข้อมูลปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวันให้เป็นฐานเดียวกัน และให้มีการติดตามรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

  

4. ให้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย จัดให้มีศูนย์รวมในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (Cluster) และปรับปรุงเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ 

เอาจริง! บังคับใช้กฎหมายแก้ทิ้งขยะไม่เป็นที่  

  

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการเพิ่มเติมว่า “ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รณรงค์แก้ไขปัญหาขยะทั้งบนบก ในน้ำ และทะเล จากต้นทาง กลางทาง และปลายทาง อย่างยั่งยืน ” พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบหรือภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ เพื่อให้เกิดความตระหนักถึงข้อดีและข้อเสีย ตลอดจนปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง ควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง คือ ทิ้ง จับ ปรับ ซึ่งต้องมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและดำเนินการอย่างจริงจัง  

related