svasdssvasds

ต้องอยู่กับโควิด-19 อีกนานเท่าไหร่ ? เพจด้านสาธารณสุข แนะ ต้องวางแผนระยะยาว

ต้องอยู่กับโควิด-19 อีกนานเท่าไหร่ ? เพจด้านสาธารณสุข แนะ ต้องวางแผนระยะยาว

ต้องอยู่กับโควิด-19 อีกนานเท่าไหร่ ? เพจด้านสาธารณสุข แนะ สาธารณสุขไทย ต้องวางแผนระยะยาว เพราะมีแนวโน้มว่า ต้องอยู่กับโควิด-19 ไปอีกปีครึ่ง

ต้องอยู่กับโควิด-19 อีกนานเท่าไหร่ ? Gossipสาสุข เพจด้านสาธารณสุข แนะการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับโควิด-19 ในระยะยาว เพราะแนวโน้มต้องอยู่กับโรคนี้ไปอีก 18 เดือน โดยมีรายละเอียดทั้งหมดดังนี้

จนถึงตอนนี้ สิ่งที่ต้องยอมรับก็คือ “วัคซีน” สำหรับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 จะไม่เกิดขึ้นเร็ว และโรคนี้ จะไม่หายไปง่ายๆ ตามนิยามของนักวิทยาศาสตร์ - นักวิจัย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คือให้เตรียมตัวในกรณีที่ “แย่ที่สุด”ไปอีกอย่างน้อย 1 ปีครึ่ง

ต้องอยู่กับโควิด-19 อีกนานเท่าไหร่ ? เพจด้านสาธารณสุข แนะ ต้องวางแผนระยะยาว

ปัญหาที่คนเหล่านี้กังวลก็คือ จะทำอย่างไรให้วิถีชีวิตหลังจากนี้ จะปลอดภัยจากการระบาด “เวฟที่ 2” มากที่สุด เพราะยังมีคนอีกมากที่มีเชื้ออยู่ในตัวแต่ไม่แสดงอาการ และผลการศึกษาหลายตัว ก็ชี้ไปในทางเดียวกันว่าโคโรนาไวรัส 2019 สามารถกลายพันธุ์ - ปรับตัว ได้ดีกว่าที่คาด ไม่ “ตาย” หรือหายไปแบบโรคซาร์ส ซึ่ง “ร้ายแรง” กว่า และมี “อัตราตาย” สูงกว่าโควิด - 19

คำถามสำคัญก็คือจะทำอย่างไร ให้ระบบเศรษฐกิจ และ “ชีวิต” ยังคงเดินหน้าต่อไปได้ พร้อมๆ ไปกับการยกการ์ดสูง ป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสกลับมา สิ่งที่ต้องยอมรับหลังจากนี้อีกอย่างน้อย 1 ปีครึ่ง ระบบหนึ่งที่ต้องปรับตัวไม่แพ้กันก็คือ ระบบการแพทย์ – สาธารณสุข ที่จะเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ก่อนหน้าการระบาดของโควิด – 19 บุคลากรทางการแพทย์นั้น ขึ้นชื่อว่า “งานหนัก” อยู่แล้ว แต่ในช่วงชีวิตคนที่ผ่านมา ไม่มีครั้งไหนที่ต้องเจอวิกฤตที่หนักหนาสาหัสในระดับนี้

ในสหรัฐอเมริกา เจอผู้ป่วยหลักล้านคน หลายประเทศในยุโรป เจอผู้ป่วยหลักหลายแสน แม้แต่ในประเทศไทย ที่เจอผู้ป่วย 2,000 กว่าคน แม้จะไม่มากนัก แต่วิกฤตนี้ ก็ทำให้บุคลากรสาธารณสุข ตกอยู่ใน “ความเสี่ยง” มากกว่าที่เคยเป็นมาก่อนหลายเท่า

สหรัฐฯ มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อล่าสุดเกิน 1 หมื่นคน สหราชอาณาจักร ซึ่งมีระบบสาธารณสุข ที่ “แข็งแรง” ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก หรือระบบ NHS นั้น มีแพทย์ - พยาบาล ติดเชื้อหลายพันคน และเสียชีวิตไปแล้ว 137 คน ในฟิลิปปินส์ บุคลากรทางการแพทย์ คิดเป็น 19% ของจำนวนผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ทั้งหมด และในไทย แม้จะควบคุมโรคนี้ได้ดี ก็มีแพทย์ – พยาบาล - ทันตแพทย์ และบุคลากรสาธารณสุขอื่น ติดเชื้อไปมากกว่า 80 คน

ต้องอยู่กับโควิด-19 อีกนานเท่าไหร่ ? เพจด้านสาธารณสุข แนะ ต้องวางแผนระยะยาว

การติดเชื้อจำนวนมาก มาจากการขาดอุปกรณ์ป้องกันตัว ไม่ว่าจะหน้ากาก N95 ไม่ว่าจะชุด PPE และในเวลาที่วิกฤตหนัก ไม่รู้ว่าใครมีเชื้อบ้าง ก็ทำให้แพทย์ทุกคน มีความเสี่ยงติดเชื้อมากเข้าไปอีก

เป็นไปได้ว่า หากไม่สามารถรั้งบุคลากรเหล่านี้ไว้ในระบบได้ การขาดแคลน “บุคลากร” ด้านสาธารณสุข จะหนักกว่าเดิม เพราะไม่มีใครอยากที่จะเสี่ยงกับเชื้อไวรัสไปเรื่อยๆ ด้วยภาระงานที่หนักหน่วง อุปกรณ์ป้องกันตัวที่ไม่เพียงพอ และค่าตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า

แน่นอน ในอีก 18 เดือนข้างหน้า รัฐจะลงทุนกับระบบสาธารณสุขมากขึ้น งบประมาณจะลงไปกับการป้องกันโรคระบาดมากขึ้น ควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนาวัคซีน – สูตรยาสำหรับรักษาโควิด - 19

และก็ชัดเจนว่า ประเทศที่มีระบบสาธารณสุข “แข็งแกร่ง” อย่างไทย ซึ่ง “ระยะห่าง” ระหว่างโรงพยาบาล และคนไข้ ไม่ได้มากนัก ส่วนค่าใช้จ่ายในการรักษาก็ถูกแสนถูก ทำให้โรคนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทั่วโลก หันมามองหาระบบสาธารณสุขที่ทำให้คน “เข้าถึง” การรักษาได้ง่ายขึ้น

แต่คำถามสำคัญก็คือ จะทำอย่างไรที่จะทำให้ฝั่งโรงพยาบาล ฝั่งระบบสุขภาพ ตั้งแต่ระดับสถานีอนามัย เรื่อยไปจนถึงโรงพยาบาลน้อยใหญ่ จะสามารถทำงานอยู่ได้ในอีก 18 เดือนข้างหน้า ภายใต้ New Normal โดยที่มีความเสี่ยงกับการติดเชื้อน้อยที่สุด มีความพร้อมรับมือการระบาดระลอกที่ 2 ที่ได้มากที่สุด ควบคู่ไปกับการทำให้บุคลากรสาธารณสุข สามารถทำงานได้ด้วยภาระงานที่ไม่ล้นเกิน

ต้องอยู่กับโควิด-19 อีกนานเท่าไหร่ ? เพจด้านสาธารณสุข แนะ ต้องวางแผนระยะยาว

อันดับแรกคือต้องจัดสรร จัดการตำแหน่ง ค่าตอบแทน สวัสดิการ บุคลากรเหล่านี้ให้ “สมน้ำสมเนื้อ” มากขึ้น เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงในการทำงานช่วงเวลานี้ ซึ่งอาจลากยาวไปอีกนานหลายเดือน ซึ่งยังไม่นับรวมโรคตามฤดูกาลอย่าง “ไข้เลือดออก” ซึ่งจะทำให้ทั้ง อสม. ทั้งเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และแพทย์ - พยาบาล ในโรงพยาบาล ต้องทำงานหนักยิ่งขึ้นในช่วงฤดูฝน

เพราะฉะนั้น การสร้างระบบสวัสดิการ การเพิ่มค่าตอบแทน จึงสำคัญมากในช่วงเวลาแบบนี้..

พร้อมกันนี้ ก็ควรต้องลงทุน จัดการหา “อุปกรณ์ป้องกันตัว” ไม่ว่าจะหน้ากาก N95 หรือชุด PPE เพื่อเตรียมความพร้อม รับมือกับโรคระบาดนี้ต่อไป ตราบใดที่ยังไม่เห็นทางออกของเรื่องนี้ง่ายๆ

ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควรทำควบคู่ไปในช่วงเวลานี้ ก็คือการลงทุนกับระบบ Telemedicine หรือการแพทย์ทางไกล ควบคู่ไปด้วย เพราะต้องไม่ลืมว่า ในช่วงเวลานี้ มีแพทย์ – ทันตแพทย์ จำนวนมากที่ไม่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ต้อง “หยุดงาน” และคนไข้จำนวนมาก ก็ได้รับผลกระทบ เพราะไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ตามปกติ ทั้งที่มีอาการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง – โรคประจำตัวอื่นๆ หรือสงสัยว่าจะป่วยด้วยโควิด – 19

เมื่อ Telemedicine ถือเป็นหนึ่งในนโยบายของพรรคภูมิใจไทย และนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขยุคนี้อยู่แล้ว ก็สมควรกำหนดเดตไลน์ 2-3 เดือนนี้ ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยหาก Telemedicine สามารถเชื่อมโยงกับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็จะลดจำนวนผู้ที่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หรือคนแก่ เพื่อพบแพทย์ได้ และจะสามารถคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น ลดภาระของโรงพยาบาล ของบุคลากรสาธารณสุขได้เช่นกัน

หากคนทำงานออฟฟิศ สามารถ Work from Home ได้ คนไข้ ผู้ป่วย ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ ติดต่อแพทย์จากที่บ้านได้เช่นกัน ขอเพียงสร้างระบบที่เอื้ออำนวย เพื่อให้สามารถลดการเดินทาง และลดความเสี่ยงให้มากที่สุด

นี่คือตัวอย่างเล็กๆ ของการสร้าง New Normal ในวงการสาธารณสุข เพื่อมองให้ไกลกว่าการจัดการป้องกัน – ควบคุมโรคเฉพาะหน้า

เพราะต้องไม่ลืมว่า คนไทย และระบบสาธารณสุขไทย เพิ่งเจอโรคนี้ แค่ใน “ระลอกแรก” เท่านั้น ยังเหลืออีกเป็นปี กว่าที่จะผ่านไปได้...

ภาพโดย PIRO4D จาก Pixabay

ภาพโดย NickyPe จาก Pixabay

ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay

ภาพโดย Gordon Johnson จาก Pixabay

related