svasdssvasds

ชำแหละ! กลไกราคายาง

ชำแหละ! กลไกราคายาง

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ราคายางอยู่ในช่วงวิกฤตหลังจากที่ราคาตกต่ำมาหลายเดือนแล้ว วันนี้เราไปทำความรู้จักกับกลไกของราคายางพารา ว่าในตลาดโลกมีการซื้อขายที่ไหนบ้าง และอะไรบ้างที่มีอิทธิพลต่อราคายาง และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาราคายางในบ้านราสูงสุดต่ำสุดอยู่ที่เท่าไหร่ และประเทศใดเป็นผู้บริโภคราคายางมากที่สุดในโลก

การซื้อขายยางพาราในตลาดโลก มีการซื้อขายล่วงหน้าในหลายประเทศในรูปของยางพาราแท่ง โดยตลาดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ก็คือ ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ กรุงโตเกียว หรือ TOCOM เนื่องจากมีชั่วโมงการซื้อขายที่ยาวนานกว่าตลาดอื่นๆ โดยเริ่มเปิดซื้อขายตั้งแต่เวลา 06.45 น. ไปจนปิดตลาด ณ สิ้นวันที่เวลา 17.00 น. ทำให้นักลงทุนมีโอกาสในการซื้อขายตามความสะดวกมากกว่า

นอกจากนั้น ก็ยังมีการซื้อขายที่ประเทศจีน หรือตลาด SFHE และตลาดสินค้าโภคภัณธ์สิงคโปร์ หรือ SICOM

ราคายางในตลาดโลกนั้น จะขึ้นลงตามปัจจัยที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นปริมาณการผลิต และปริมาณความต้องการ หรือ ดีมานด์ ซัพพลาย ตลอดไปจนถึงสภาพอากาศที่ส่งผลต่อทั้งปริมาณ และคุณภาพ ของน้ำยาง นอกจากนั้นปัจจัยจากค่าเงินในตลาดซื้อขายก็ยังมีอิทธิพลต่อราคายางในตลาดโลกเช่นกัน

ที่สำคัญ ราคายาง ก็เหมือนกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ที่มีการปรับขึ้นลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกด้วย โดบในปี 2554 นั้น ราคายางแผ่นรวมควันในประเทศไทย ได้ทำสถิติสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ที่ 180.53 ต่อกิโลกรัม โดยในปีนี้ เป็นปีที่ราคาน้ำมันทำสถิติสูงสุดในตลาดโลกที่ 147 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรลล์ ส่วนในรอบ 10 ปี ราคายางแผ่นดิบรมควัน ต่ำสุดอยู่ที่เดือน มกราคม 2552 ที่ราคา 48.50 กิโลกรัม

ส่วนประเทศที่มีการบริโภคยางพารามากที่สุดนั้นก็คือ ประเทศจีน ซึ่งมีปริมาณการบริโภคที่สอดคล้องไปกับการเติบโตทางเศษฐกิจ โดยเฉพาะในตลาดยานยนต์ที่ต้องการใช้ยางเป็นจำนวนมาก

โดยจากสถิติในปี 2015 นั้น พบว่า จีนมีอัตราการบริโภคยางพารา ที่ 4,680,000 ตัน ส่วนอันดับ 2 เป็นของประเทศ อินเดีย ที่ 993,000 ตัน

อันดับ 3 คือสหรัฐอเมริกา 937,000 ตัน, ญี่ปุ่น ตามมาเป็นอันดับ 4 ประมาณ 961,000 ตัน และอันดับ 5 คือประเทศไทย ที่ 601,000 ตัน อันดับ 6 คืออินโดนีเซีย 579,000 ตัน ตามมาด้วยมาเลเซีย 475,000 ตัน และเกาหลีใต้ 388,000 ตัน

related