svasdssvasds

สปท.เห็นชอบแนวทางจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม

สปท.เห็นชอบแนวทางจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

วันที่ 19 ก.ค.60--ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวานนี้ (18 ก.ค.)  การประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ที่มีนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสปท. ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยที่ประชุมได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สปท. เรื่องแนวทางการจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม โดยนายสยุมพร ลิ่มไทย อดีต สปช. ในฐานะคณะทำงานของ กมธ. ชี้แจงว่า การดำเนินการเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อมของไทย ยังไม่ได้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน อาจเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทรัพยากรธรรมชาติยังถูกทำลาย การปฏิบัติที่ผ่านมาของไทยยังไม่เป็นไปตามหลักที่ว่าผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย เนื่องจากเราใช้ระบบศาลคู่ นอกจากศาลยุติธรรมยังมีศาลอื่นๆ คือศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 

สปท.เห็นชอบแนวทางจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม

เมื่อใช้ระบบศาลคู่คดีสิ่งแวดล้อมก็จะถูกแยกส่วนในการพิจารณาคดี อย่างน้อย 3 ส่วน คือคดีแพ่ง คดีอาญาพิจาณาที่ศาลยุติธรรม ส่วนคดีปกครองเข้าสู่ศาลปกครอง อย่างไรก็ตามเมื่อคดีประเภทนี้เข้าสู่ศาลปกครอง ขอบเขตความรับผิดชอบเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ คำพิพากษาส่วนใหญ่จะให้รัฐชดใช้ความเสียหาย แทนที่จะให้เอกชนที่เป็นผู้ก่อความเสียหายต้องรับผิดชอบ จึงไม่เป็นตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายรัฐต้องจ่ายแทน และไม่มีการเฝ้าระวังไว้ก่อนเหมือนในต่างประเทศ เช่น คดีมาบตาพุด คดีห้วยคลิตี้ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่รัฐต้องสูญเสียค่าชดเชยจำนวนมาก การพิจารณาคดีที่มีความทับซ้อนกันในหลายส่วน ขาดมาตรฐานการพิจารณาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและขาดวิธีการพิจารคดีสิ่งแวดล้อมเป็นการเฉพาะจึงทำให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรม

สปท.เห็นชอบแนวทางจัดตั้งศาลสิ่งแวดล้อม

นายสยุมพร กล่าวอีกว่า สปช. ในขณะนั้นจึงเห็นควรให้ตั้งศาลสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นศาลชำนัญพิเศษ เพื่อพัฒนาระบบนิติรัฐและพัฒนาประชาธิปไตยด้านสิ่งแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการดำเนินการในระดับสากลและสอดคล้องกับการพัฒนาศาลสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศ และเพื่อให้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมีลักษณะเบ็ดเสร็จที่จุดเดียวแบบวันสต็อปเซอร์วิส เพื่ออำนวยความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมากที่สุด และควรเป็นศาลชำนัญพิเศษในศาลยุติธรรม โดยต้องดำเนินการให้ครบทั้ง 3 รูปแบบคือ แพ่ง อาญา และคดีปกครอง และต้องเป็นไปตามหลักผู้ก่อต้องจ่ายเพื่อให้เป็นการป้องปรามไม่ให้ก่อความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกลไกของศาลยุติธรรมมีความพร้อมในการดำเนินการอยู่แล้ว

จากนั้นที่ประชุมได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางก่อนมีมติเห็นชอบในรายงานดังกล่าว 90 ต่อ 1 งดออกเสียง 10 โดยจะส่งรายงานดังกล่าวให้ ครม. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

related