svasdssvasds

รถยนต์ฟื้น บวกรอบ 4 ปี รับลงทุนใหญ่

รถยนต์ฟื้น  บวกรอบ 4 ปี  รับลงทุนใหญ่

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

ค่ายรถยนต์ฟันธงตลาดครึ่งปีหลังสดใส พร้อมปรับตัวเลขการขายในประ เทศใหม่เป็น 8.2-8.3 แสนคัน พลิกสถานการณ์กลับมาเติบโตครั้งแรกรอบ 4 ปี 

  

วันที่ 23-7-60-นสพ.ฐานเศรษฐกิจสื่อในเครือสปริง กรุ๊ป ฉบับที่3281 วันที่23-26ก.ค.2560 รายงานว่า  นโยบายประชานิยมโครง การรถยนต์คันแรก ที่ผลักดันให้ยอดขายรวมทะลุ 1 ล้านคัน ในช่วงปี 2555-2556 แต่หลังจากนั้นดีมานด์ในตลาดลดลงเรื่อยมา หรือยอดขายร่วง 4 ปีติดต่อกัน  

1240_2016120713501188

 

ล่าสุดโตโยต้าและมาสด้า ออกมาประสานเสียงว่าตลาดรถยนต์จะกลับมาอยู่ในเส้นทางที่ควรจะเป็น จากปัจจัยบวก ทั้งภาคการส่งออกขยายตัว การเติบโตของ GDP การลงทุนโครง สร้างพื้นฐานของรัฐบาล พร้อมนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจคาดว่า ตลาดรวมจะทำยอดขายในประเทศถึง 8.2-8.3 แสนคัน เติบโต 7-8% เมื่อเทียบกับปี 2559 ทั้งนี้ยังเป็นการปรับเป้าจากที่เคยประเมินไว้ต้นปี 8 แสนคัน ในขณะที่ตลาดรวมเติบโตและปรับเป้าการขายใหม่ ซึ่งมาส ด้าขยับตัวเลขของตัวเองเพิ่มอีก 1 พันคัน เป็น 5.1 หมื่นคัน ขยายตัว 20% แต่สำหรับโตโยต้าไม่เพิ่มยอดขายของตัวเองและยืนยันที่ 2.65 แสนคัน โต 8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว “ตลาดรวมครึ่งปีแรกดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ หรือสูงขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทว่าโตโยต้ายังเติบโตน้อยกว่าตลาดรวม ซึ่งเป็นผลมาจากไม่มีรถยนต์รุ่นใหม่เปิดตัว แต่ช่วงครึ่งหลังของปีนี้เราเตรียมแนะนำรถใหม่อย่างน้อย 2 รุ่น เพื่อผลักดันยอดขายให้ได้ตามเป้าหมาย” นายมิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยฯ ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา กล่าวและว่า

 

MP28-3215-A-696x385

 

“อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีความเข้มแข็งในการผลิต และเป็นตลาดที่สำคัญในภูมิภาคนี้ ส่วนยอดขายรวมในประเทศควรจะอยู่ระดับ 9 แสนคันต่อปีตามที่ท่านประธานคนเก่า ‘เคียวอิจิ ทานาดะ’ เคยกล่าวไว้ ซึ่งปี 2561 มีโอกาสที่จะกลับมาทำได้ ถึง 9 แสนคัน” นายมิจิโนบุซึงาตะ กล่าว ขณะเดียวกันกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมฯ (ส.อ.ท.) เพิ่งประเมิน ปรับลดกำลังผลิตรถยนต์ในประเทศปีนี้ เหลือ 1.9 ล้านคัน จากที่เคยคาดไว้ 2 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อส่งออกเป็น 1.1 ล้านคัน หรือลดลงจาก 1.2 ล้านคัน ส่วนตลาดในประเทศยังตั้งเป้าไว้ที่ 8 แสนคันเหมือนเดิม โดยสอดคล้องกับสถาน การณ์ของโตโยต้าที่ตั้งเป้าหมายการส่งออกในปีนี้ไว้ 2.91 แสนคัน ลดลง 9% อันเป็นผลกระทบจากตลาดตะวันออกกลาง รวมถึง กลุ่มประเทศอเมริกากลาง และอเมริกาใต้

 

TP15-3281-b

 

สวนทางกับบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปฏิบัติการ เปิดเผยว่า ฮอนด้าไม่ได้ปรับเป้าหมายการส่งออก โดยรายได้ของฮอนด้า ตั้งแต่มกราคม-พฤษภาคม 2560 สามารถส่งออกรถยนต์ (CBU) และชิ้นส่วนยานยนต์ (CKD) ได้ 4.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 5% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ทำได้ 3.8 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นจำนวนคันพบว่า รถยนต์ (CBU) ตัวเลขเทียบ เท่ากับปีที่ผ่านมา 31,000 คัน ส่วนชิ้นส่วนยานยนต์เติบโต 8% ทั้งนี้วันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา โตโยต้า มอเตอร์ ประ เทศไทย ประกาศยืนยันลงทุนในโครงการรถยนต์ไฮบริดมูลค่า 2 หมื่นล้านบาท พร้อมยื่นแพ็กเกจต่อบีโอไอทันภายในสิ้นปีนี้ ส่วนบริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี เอเชีย แปซิฟิคฯ จัดพิธีเปิดสนามทดสอบมูลค่า 1.7 พันล้านบาทอย่างเป็นทางการ หวังเพิ่มศักยภาพให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และรักษาฐานะการเป็นฐานผลิตที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียต่อไป

 

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,281 วันที่ 23 - 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

related