svasdssvasds

ย้อนยลไทม์ไลน์  วิกฤต "เวเนซุเอลา" 

ย้อนยลไทม์ไลน์  วิกฤต "เวเนซุเอลา" 

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

วันที่ 30-7-60-วันนี้กลุ่มผู้ชุมนุมยังคงออกมาประท้วงตามสี่แยกต่างๆในเมืองหลวงของเวเนซุเอลา แต่ยังไม่มีการประท้วงขนาดใหญ่ในวันแรกของการแบนการประท้วงของรัฐบาล   โดยรัฐบาลของนายนิโคลาส มาดูโร ระบุว่าส่งทหารประจำการทั่วประเทศราว 370,000 นาย และสั่งห้ามการจัดชุมนุมประท้วงใดๆก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในวันนี้ 

พรรคฝ่ายค้านไม่ได้ส่งสมาชิกลงเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะเชื่อว่าเป็นการเลือกตั้งที่จะทำให้นายมาดูโรกระชับอำนาจอีกครั้ง แต่ฝ่ายค้านระบุว่าต้องการยับยั้งไม่ให้มีการเลือกตั้งในวันนี้ และจะออกมาต่อต้าน โดยการเลือกตั้งในวันนี้เกิดขึ้นหลังมีการประท้วงยืดเยื้อมานานหลายเดือน ในขณะที่เวเนซุเอลาเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ จนทำให้ชาวเวเนซุเอลาจำนวนมากพยายามหนีออกนอกประเทศเพราะขาดอาหารและเวชภัณฑ์ 

ย้อนยลไทม์ไลน์  วิกฤต "เวเนซุเอลา" 

รัฐบาลเวเนซุเอลาสั่งห้ามการประท้วงตั้งแต่วัน 27 ก.ค.ที่ผ่านมาจนถึงวันที่ 1 ส.ค.ที่จะถึงนี้  โดยรมว.ยุติธรรมของเวเนซุเอลาระบุว่า ผู้ใดฝ่าฝืน อาจถูกจำคุก 5-10 ปี เเต่"เฟรดดี กูเอวารา" ผู้นำฝ่ายค้านของเวเนซุเอลา ซึ่งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า "จะไม่ยอมคุกเข่าให้ จะไม่ยอมล้มเหลว และจะต่อสู้" 

ก่อนหน้านี้นายมาดูโรระบุว่า การร่างรัฐธรรมนูญนั้นจำเป็นเพื่อทำให้ประเทศชาติสงบสุขอีกครั้ง และยังบอกว่าได้เสนอเจรจากับฝ่ายค้านแต่ยังไม่มีรายงานว่าการเจรจาจะเกิดขึ้นเมื่อใด โดยฝ่ายค้านระบุว่า จะยอมเจรจาก็ต่อเมื่อมีการเลื่อนการเลือกตั้งวันนี้ออกไป 

ด้านประธานาธิบดีโคลอมเบียระบุว่ารัฐบาลโคลอมเบียจะไม่ยอมรับสภาร่างรัฐธรรมนูญของเวเนซุเอลา และโคลอมเบียจะผลักดันการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีและเป็นประชาธิปไตย 

 การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นการเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 545 ที่นั่ง เพื่อมาทำหน้าที่แทนสภานิติบัญญัติที่ตอนนี้ มีฝ่ายค้านเป็นแกนนำ และสภาร่างรัฐธรรมนูญเเห่งนี้จะทำหน้าที่แก้กฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศ โดยฝ่ายค้านเวเนซุเอลาชนะการเลือกตั้งในปี 2015 ทำให้คุมเสียงข้างมากในสภาได้ แต่สภาเวเนซุเอลาก็เป็นโมฆะเพราะส.ส.ฝั่งของนายมาดูโรไม่เข้าร่วมประชุม 

สภาร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ถูกมองว่าจะเป็นร่างทรงของนายมาดูโร เพราะฝ่ายค้านไม่ได้ร่วมลงเลือกตั้งด้วย นักวิเคราะห์ระบุว่า การแก้รัฐธรรมนูญจะทำให้นายมาดูโรมีอำนาจเพิ่มขึ้น และยุบสถาบันของรัฐหลายแห่ง 

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เวเนซุเอลาเผชิญวิกฤตทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ ผู้คนขาดแคลนอาหารและยา ส่วนการเมือง สถานการณ์รุนแรงมาตั้งแต่ช่วงเดือนมี.ค.เนื่องจากศาลฎีกาตัดสินยุบสภาและโอนถ่ายอำนาจด้านนิติบัญญัติไปไว้ที่ศาล จึงทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรง จนศาลต้องเปลี่ยนคำตัดสินไม่กี่วันให้หลัง 

  

ย้อนยลไทม์ไลน์  วิกฤต "เวเนซุเอลา" 

การประท้วงนั้นทำให้ยอดผู้เสียชีวิตมีมากกว่า 100 คนแล้ว ในขณะที่เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 คนจากการประท้วงต่อต้านคำสั่งห้ามประท้วงของรัฐบาล 

นายมาดูโรสืบทอดอำนาจทางการเมืองต่อจากนายฮูโก ลาเวซ ซึ่งเป็นผู้นำเวเนซุเอลาในช่วงปี 1999-2013 และนายชาเวซได้แก้รัฐธรรมนูญเปิดทางให้ประธานาธิบดี ซึ่งมีสาระ 6 ปี สามารถดำรงตำแหน่งกี่สมัยก็ได้ 

ทำให้นายมาดูโรชนะการเลือกตั้งในปี 2013 และมักปะทะคารมกับผู้นำฝ่ายค้านเป็นประจำ เมื่อฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้งเสียงข้างมาก มีความพยายามถอดถอนนายมาดูโร แต่นายมาดูโรหันไปพี่งการสนับสนุนจากอำนาจตุลาการและผู้สนับสนุนฝ่ายอื่นๆ ยับยั้งการถอดถอนไว้ได้ 

นักวิเคราะห์ระบุว่า เวเนซุเอลามาถึงจุดล้มเหลวแบบนี้ทั้งๆที่ประเทศนี้มีน้ำมันมากและเคยเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดของอเมริกาใต้ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลไม่สามารถสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจได้ เวเนซุเอลาพึ่งพาน้ำมันตลอดเวลา ในช่วงน้ำมันมีราคาสูง ก็ไม่ได้นึกถึงแหล่งรายได้อื่นๆ 

ย้อนยลไทม์ไลน์  วิกฤต "เวเนซุเอลา" 

นอกจากนี้ ในสมัยของนายชาเวซมีการออกนโยบายแนวสังคมนิยมช่วยเหลือประชาชนมากมายโดยใช้งบประมาณจากการขายน้ำมัน และยังนำเข้าสินค้าทุกอย่างจากต่างประเทศ เเต่ในยุคของนายมาดูโร เวเนซุเอลาใช้เงินมหาศาล และยังคงเป็นเช่นนั้นในขณะที่ราคาน้ำมันตกต่ำ นอกจากนี้ยังเป็นหนี้ก้อนโตกับรัสเซียและจีน แต่นายมาดูโร เลือกใช้เงินที่มีเหลือจำนวนน้อยนิดไปกับการจ่ายหนี้ แทนที่จะนำไปช่วยเหลือประชาชนที่กำลังอดอยาก 

related