svasdssvasds

ชีวิตในเมือง 'พาจู' ประตูสู่ชายแดน 'โสมแดง'

ชีวิตในเมือง 'พาจู' ประตูสู่ชายแดน 'โสมแดง'

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

 

ท่ามกลางสถานการณ์ตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี แต่ที่เมืองพาจู เมืองชายแดนของเกาหลีใต้ที่อยู่ห่างจากเกาหลีเหนือเพียงไม่กี่กิโลเมตร ประชาชนยังออกมาใช้ชีวิตกันตามปกติ ติดตามจากรายงาน

 

[embed]https://youtu.be/HO51p9pI-7Y[/embed]

 

เพียงขับรถออกจากกรุงโซลมาประมาณครึ่งชั่วโมง ก็จะพบกับห้างสรรพสินค้าสองแห่งที่มีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอลทั่วไป ตั้งอยู่ที่เมืองพาจู ประตูสู่หมู่บ้านปันมุนจอม เขตปลอดทหารที่ซึ่งเกิดการลงนามสนธิสัญญาหยุดยิงชั่วคราวในสงครามเกาหลีเมื่อปี 1953 ผ่านเวลามาหลายสิบปี หลายคนอาจจะลืมไปแล้วว่าเมืองพาจูคือสนามรบอันดุเดือด และเป็นสุสานที่ซึ่งศพของทหารเกาหลีเหนือ และทหารจีน ถูกฝังอยู่ที่นี่ 

 

ชีวิตในเมือง 'พาจู' ประตูสู่ชายแดน 'โสมแดง'

 

เวลาผ่านมา รัฐบาลพยายามโปรโมทให้พาจูเป็นเมืองท่องเที่ยว หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวของเกาหลีใต้ใช้สโลแกนว่า Fairy tales come true in Paju หรือ เทพนิยายกลายมาเป็นจริงที่พาจู แม้ว่าในอดีต ที่นี่จะเป็นเหมือนฝันร้ายสำหรับหลายคนก็ตาม

แต่มาเดือนนี้ ภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือดูชัดเจนขึ้น และการทดสอบขีปนาวุธของเกาหลีเหนือที่เกิดขึ้น ทำให้ทั้งสหรัฐและเกาหลีใต้จัดการซ้อมรบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดเหนือน่านฟ้าเมืองพาจูบ่อยครั้ง แต่นั่นไม่ได้ทำให้ชาวเกาหลีใต้รู้สึกว่าพวกเขาต้องหวาดกลัวจนไม่กล้ามาเยือนห้างสรรพสินค้าที่อยู่ห่างจากชายแดนเพียงไม่กี่กิโลเมตร 

ปาร์ค ชอลมิน ชาวเกาหลีใต้อายุ 30 ปี กล่าวว่า ผมคิดว่ามันเป็นเหมือนโชว์หรือการแสดงมากกว่า เกาหลีเหนือไม่ได้ตั้งใจจะทำอันตรายพวกเราจริงๆ 

 

ชีวิตในเมือง 'พาจู' ประตูสู่ชายแดน 'โสมแดง'

 

ส่วน คิม คีด็อก ชาวเกาหลีใต้วัย 41 ปี ให้ความเห็นว่า แต่มันเป็นแค่การยั่วยุ ดังนั้นผมเลยไม่รู้สึกว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรง ถ้าเกาหลีเหนืออยากจะทำจริงๆ ก็คงสามารถยิงไปได้ไกลเลยล่ะ แต่คิดว่า ระยะทางไม่ได้เป็นปัญหาหรอก คิดว่าเราน่าจะปลอดภัย 

 

แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะลืมสงครามครั้งนั้นได้ สำหรับวู จองอิล ชายชราวัย 74 ปี ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านมานูรี เขาไม่เคยลืมว่าเกิดอะไรขึ้น 

 

ชีวิตในเมือง 'พาจู' ประตูสู่ชายแดน 'โสมแดง'

 

"จนถึงเช้ามืด กระสุนยังปลิวว่อนไปหมด การสู้รบวุ่นวายไปหมดทั้งสองฝ่าย ผมกลัวมาก นั่นคือเหตุผลว่าทำไมผมสร้างบังเกอร์เอาไว้ ใช่ เราปลอดภัย ถ้าเพียงแค่เรามีบังเกอร์ มันจะช่วยทำให้เราปลอดภัยจากปืนไรเฟิล ผมก็เลยรู้สึกปลอดภัย" วู จองอิล วัย 74 ปี กล่าว

 

ทุกวันนี้ วูจองอิลสร้างบังเกอร์เอาไว้ใต้ดิน และมันก็ใหญ่เพียงพอที่จะให้สมาชิกทั้ง 7 คนของครอบครัวเขาเข้าไปลี้ภัยในกรณีที่เกิดสงครามอีกครั้ง 

 

ชีวิตในเมือง 'พาจู' ประตูสู่ชายแดน 'โสมแดง'

 

จนถึงขณะนี้ ยังคงไม่มีเรื่องแบบที่วูจองอิลหวาดกลัวเกิดขึ้น เพราะถึงแม้จะเกาหลีเหนือจะขู่ที่จะทดสอบขีปนาวุธและพัฒนาโครงการ แต่ชาวเกาหลีใต้หลายคนยังคงมั่นใจในศักยภาพการรบของประเทศ แต่ในอีกด้านหนึ่ง สงครามก็อาจจะกลับมาเกิดขึ้นได้อีกครั้ง เพราะเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้เพียงแค่ลงนามในสนธิสัญญาพักรบชั่วคราวเท่านั้น นั่นหมายความว่าในทางเทคนิคแล้ว ทั้งสองเกาหลียังคงอยู่ในภาวะสงคราม

 

related