svasdssvasds

AD ต้านไม่อยู่ 7สมาคมเหล็ก จี้รัฐซื้อในปท.

AD ต้านไม่อยู่ 7สมาคมเหล็ก จี้รัฐซื้อในปท.

ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th

7 สมาคมกลุ่มเหล็ก ชง 3 กระทรวงช่วย หลังมาตรการเอดีเอาไม่อยู่ ยื่นพาณิชย์ใช้เอดีเพิ่มอีก 3 ประเทศ การแข่งขันในอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศยังไม่พ้นวิกฤติ เนื่องจากมาตรการปกป้องการทุ่มตลาดหรือเอดีเหล็ก รวมถึงมาตรการปกป้องจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (เซฟการ์ด)ที่กระทรวงพาณิชย์ให้การคุ้มครองเหล็กแผ่นรีดร้อน ยังไม่สามารถต้านการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศได้ทั้งหมด บางประเทศที่ยังไม่ถูกดำเนินมาตรการเอดีก็เริ่มนำเข้าเหล็กมาตีตลาดในไทยและอาเซียน

 

นายนาวา จันทนสุรคน นายกสมาคมเหล็กแผ่นรีดร้อนไทย ให้สัมภาษณ์“ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้ 7 สมาคมกลุ่มอุตสาห กรรมเหล็กประกอบด้วย สมาคม การค้าผู้ผลิตเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี, สมาคมผู้ผลิตท่อโลหะและแปรรูปเหล็กแผ่น, สมาคมผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน, สมาคมผู้ผลิตเหล็กทรงยาวด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า, สมาคมเหล็กแผ่นรีดเย็นไทย, สมาคมเหล็กแผ่นรีดร้อนไทย และสมาคมโลหะไทย มีสมาชิกจำนวนทั้งสิ้น 472 บริษัท ยังคงได้รับผลกระทบจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมเหล็กทำให้ทั้ง 7 สมาคมรวมตัวกันยื่นหนังสือถึงหน่วยงานรัฐ 3 แห่ง ประกอบด้วยกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม เพื่อช่วยเหลืออุตสาห กรรมเหล็กในประเทศ

 

tp10-3229-a

 

เริ่มตั้งแต่ยื่นหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์พิจารณาแก้ไขกฎหมายให้มีบทบัญญัติเพื่อบังคับใช้มาตรการตอบโต้การหลบเลี่ยง(Anti Circumvention :AC) ถึงรัฐบาลซึ่งกระทรวงพาณิชย์ก็ดำเนินการให้แล้ว จนล่าสุดร่าง พ.ร.บ.ผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ว และเรื่องยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณากลั่นกรองโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วจะเสนอสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)เป็นขั้นตอนสุดท้าย ถ้ากฎหมายนี้ออกมาใครมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการเสียอากรเอดี ก็จะถูกดำเนินการทางกฎหมายทันที สมมติว่าเดิมมีอากรเอดีเหล็กแผ่นรีดร้อน 30% ถ้าเกิดการเลี่ยงพิกัดด้วยวิธีต่างๆก็สามารถใช้อากรเอดีดังกล่าวกับสินค้าที่เลี่ยงพิกัดได้ทันที แม้จะเป็นเหล็กที่เลี่ยงพิกัดด้วยวิธีต่างๆมาก็ตาม ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการช่วยลดขั้นตอนการเปิดไต่สวนใหม่ ไม่เช่นนั้นจะใช้เวลาไต่สวนนาน 1-2 ปี แต่กรณีนี้ตามกฎหมายใหม่จะใช้เวลาเพียง 8เดือนก็จะสามารถใช้มาตรการตอบโต้การหลีกเลี่ยงนั้นได้”

 

“สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือ พอฟ้องเอดีเหล็กนำเข้าจากจีน จีนก็หลีกเลี่ยงโดยการนำเหล็กไปเคลือบสี หรือเจืออัลลอย เคลือบโคบอลต์เพื่อเปลี่ยนพิกัด หรือหนีไปผลิตเป็นท่อที่เวียดนามแล้วส่งมาขายในไทย ตรงนี้ถือว่าเป็นพฤติกรรมหลบเลี่ยง ซึ่งประเทศอื่นจะมีกฎหมายตอบโต้การหลบเลี่ยง ถ้าเกิดพฤติกรรมแบบนี้ ก็สามารถใช้อัตราอากรเอดีกับสินค้านั้นๆได้เลย ซึ่งเมืองไทยยังไม่มี ปัญหานี้จึงต้องการให้รัฐบาลแก้ไข”

 

[caption id="attachment_188651" align="aligncenter" width="431"] ADต้านไม่อยู่7สมาคมเหล็กจี้รัฐซื้อในปท. ADต้านไม่อยู่7สมาคมเหล็กจี้รัฐซื้อในปท.[/caption]

 

นอกจากนี้ยังได้ยื่นหนังสือไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อเร่งรัดให้ส่งเสริมการใช้สินค้าเหล็กในประเทศ กรณีโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน โดยเฉพาะการใช้เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต(เหล็กเส้นกลม,เหล็กเส้นข้ออ้อย) รวมถึงเหล็กแผ่นรีดร้อน ท่อเหล็ก เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กเคลือบสังกะสี โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีพระราชกฤษฎีกาและเป็นไปตามมาตร ฐาน โดยผู้ผลิตในประเทศมีกำลังเพียงพอ พร้อมทั้งยื่นหนังสือถึงกระทรวงการคลังให้พิจารณาเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างรัฐ เนื่องจากที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้คือพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างที่จะมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายฉบับใหม่ในปีนี้กลับไม่มีการระบุว่าให้โอกาสใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศก่อนเหมือนข้อกำหนดในฉบับเก่าที่อ้างอิงตามมติครม. ซึ่งเรื่องนี้เมื่อเร็วๆนี้ได้เสนอไปยังกระทรวงการคลังกำหนดให้ใช้สินค้าภายในประเทศก่อนสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

 

นอกจากนี้กลุ่มผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนในประเทศรวมตัวยื่นหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ เพื่อยื่นฟ้องให้ดำเนินมาตรการเอดีกับเหล็กแผ่นรีดร้อน กับเหล็กนำเข้าเพิ่มอีก 3 ประเทศคือซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ ออสเตรเลีย โดยยื่นไปที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 เพื่อร้องขอให้พิจารณาเปิดไต่สวน จากปัจจุบันเหล็กแผ่นรีดร้อน มีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือเอดีเหล็กไปแล้วกับ 19 ประเทศ “กลุ่มเหล็กแผ่นรีดร้อนมีสมาชิกประมาณ 10 ราย มีผู้ผลิตรายใหญ่เช่นกลุ่มแอลพีเอ็นเพลทมิล, สหวิริยาสตีล, จีเจ สตีล, จี สตีล และอื่นๆ รวมกำลังผลิตเต็มเพดานที่ 9 ล้านตันต่อปี แต่ปัจจุบันผลิตได้จริงเพียง 2.5-2.6 ล้านตันต่อปี หรือผลิตได้ในสัดส่วนราว 30% ของกำลังผลิตเต็มเพดาน ในขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศต่อปีมีประมาณ 7 ล้านตัน ในจำนวนนี้เป็นการนำเข้ามากถึง 60%” (อ่านประกอบ : สัมภาษณ์หน้า 10 : “อุตฯเหล็กยังไม่พ้นวิกฤติ”) จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,284 วันที่ 3 -5 สิงหาคม พ.ศ. 2560

related