svasdssvasds

“อ้น ทิพานัน” ชงให้มีแผนซ้อมน้ำท่วมประจำทุกปี

“อ้น ทิพานัน” ชงให้มีแผนซ้อมน้ำท่วมประจำทุกปี

“ทิพานัน” ชงให้มีแผนซ้อมน้ำท่วมประจำทุกปี เสนอ 7 ข้อแก้ปัญหาน้ำท่วม เชื่อประชาชนพร้อมให้ความร่วมมือ หาก กทม. แก้ไขอย่างจริงจัง ตรงจุดและยั่งยืน  

 

น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ อดีตผู้สมัคร ส.ส.กทม. เขตจอมทอง-ธนบุรี อดีตรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ ในฐานะกรรมการประสานงานและติดตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวภายหลังการประชุมการประชุมคณะกรรมการประสานงาน และติดตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประจำกลุ่มปฏิบัติงานของสำนักงานเขต กลุ่มกรุงธนเหนือ ครั้งที่ 7/2563 ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานเขตบางกอกน้อยว่า สืบเนื่องจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ดังปรากฎในข่าว แม้ว่าเจ้าหน้าที่พยายามเร่งระบายน้ำอย่างเต็มที่ก็ตาม

ทั้งนี้ตนพบว่าที่ผ่านมา มักมีอุปสรรคของการระบายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสูบน้ำที่ไม่พร้อมใช้งาน ปัญหานี้เกิดขึ้นตลอดทุกครั้งที่มีฝนตกหนักและน้ำท่วมขัง อีกทั้งเครื่องสูบน้ำที่มีขนาดใหญ่นั้น ยังคงใช้พลังงานจากน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่จะติดตั้งอยู่ที่บริเวณประตูน้ำ เมื่อน้ำมันหมดจะต้องรอให้สำนักการระบายน้ำ (สนน.) จัดส่งน้ำมันมาเติมให้ ซึ่งใช้เวลาในการขนส่ง บางครั้งต้องรอนานเป็นชั่วโมงๆ ทำให้การระบายน้ำล่าช้า ทำให้มีปริมาณน้ำสะสมสูงขึ้น อีกทั้งเครื่องสูบน้ำที่สำนักงานเขตยืมมาจากสนน. ได้มาเฉพาะเครื่อง แต่ไม่ได้ค่าน้ำมันมาด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่เขตจะต้องบริหารจัดการการใช้น้ำมันกันเอง และบางทีเจ้าหน้าที่จะต้องสำรองจ่ายด้วยเงินส่วนตัวเองไปก่อน ทำให้มีปัญหาในการจัดการ นอกจากปัญหาเรื่องเครื่องสูบน้ำแล้ว ยังพบปุสรรคกีดขวางการระบายน้ำ เช่น ในบางลำรางหรือคลองที่กทม.ไม่ได้ขุดลอก และจัดเก็บขยะ  ผักตบชวาและวัชพืช อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือมีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำ เช่น ที่คลองหลุมไผ่ เขตลาดพร้าวและเขตบางเขน มีโครงการก่อสร้างระบบระบบน้ำเป็นต้น

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น ตนได้เสนอให้กรุงเทพมหานคร ดำเนินการ 7 เรื่องสำคัญด้วยด้วย
 

 

 

ประการแรก ให้มีการซักซ้อมแผนการระบายน้ำก่อนจะเข้าสู่ฤดูฝน อย่างน้อย 1 ครั้งต่อไป เช่นเดียวกับการซ้อมฟนีไฟและฟ้องกันไฟไหม้ ดังนั้นจึงควรซ้อมระบายน้ำ เพื่อจะได้ทราบอุปสรรคปัญหาต่างๆ และเตรียมแนวทางในการแก้ไข  รวมทั้งการประสานงานของฝ่ายต่างๆ มีใครเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ การถ่ายน้ำ การจัดเก็บขยะ และการขุดลอกคูคลองต่างๆ 

ประการที่สอง ต้องทำการสำรวจสภาพท่อระบายน้ำให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ โดยพบว่าท่อระบายน้ำในบางพื้นที่มีปัญหาแอ่นตัวไม่ได้ระดับ เนื่องจากพื้นดินบริเวณรอบท่อระบายน้ำทรุดลง ส่งผลให้ระบายร้ำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งต้องมีการปรับปรุงแก้ไข

ประการที่สาม สร้างประตูระบายน้ำในคลองที่เป็นสายหลักของกทม. และติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณประตูน้ำดักล่าว เพื่อส่งและสูบน้ำ ส่งต่อเป็นทอดๆ ไปสู่อุโมงค์ระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

ประการที่สี่ ห้ามปล่อยน้ำจากโรงบำบัดน้ำเสียลงสู่คลอง ในช่วงฝนตกหนัก เพราะปริมาณน้ำที่ถูกปล่อยออกมานั้นมีเป็นจำนวนมาก เช่น โรงบำบัดน้ำเสียดินแดง และโรงบำบัดน้ำเสียจตุจักร เป็นต้น  

ประการที่ห้า ดำเนินการซ่อมแซมถนนครั้งใหญ่ ในถนนที่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังเป็นประจำ โดยมีแผนพัฒนาและสร้างท่อระบายน้ำเชื่อมต่อให้ถึงแม่น้ำเจ้าพระบา 

ประการที่หก ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างคอนโดมีเนียมหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่ขวางเส้นทางระบายน้ำโดยเด็ดขาด เพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านได้ ไม่เปลี่ยนเส้นทางน้ำ ขณะเดียวกันต้องออกข้อบังคับให้ผู้ประกอบการคอนโดมีเนียมและเจ้าของสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างขวางเส้นทางน้ำอยู่เดิม ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขด้วยก่อสร้างระบบการระบายน้ำขึ้นมาทดแทน ไม่ว่าจะเป็นการวางท่อระบายน้ำเพิ่มเติม หรือแก้มลิง ช่วยระบายน้ำ 

และที่สำคัญประการสุดท้ายคือ การสร้างจิตสำนึกของชุมชน บ้านเรือน รัฐ ราชการ ต้องให้ความรู้เรื่องการแยกขยะ ไม่ทิ้งขยะลงท่อระบายน้ำ  ทำให้ประชาชนเห็นว่า เมื่อแยกขยะแล้ว กทม.ได้นำไปแยกจริง และนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร เชื่อว่าประชาชนพร้อมให้ความร่วมมือหากกทม.พร้อมแก้ไขอย่างจริงจัง

“เชื่อว่าหากแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด และพร้อมกันทั้งระบบการระบายน้ำ จะสามารถแก้ไขปัญหาฝนตกน้ำท่วมขังในกทม.ได้อย่างยั่งยัน” น.ส.ทิพานัน กล่าว

 

 

น.ส.ทิพานัน กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ตนขอขอบคุณพี่น้องประชาชนทุกท่านที่ส่งข้อมูล ข้อร้องเรียนต่างๆ และขอบคุณทุกคนที่ต้องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม เพราะการที่พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขและนำไปสู่การปฏิบัติได้ง่ายขึ้น

related