svasdssvasds

หรือบิ๊กโจ๊ก จะหงายการ์ด ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย ม.157

หรือบิ๊กโจ๊ก จะหงายการ์ด ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย ม.157

กรณีการยื่นเรื่องร้องศาลปกครอง ขอให้นายกรัฐมนตรีเปลี่ยนแปลงคำสั่งย้าย พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล เนื่องจากคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากมองย้อยกลับไปในอดีต ข้าราชการร้องนายกรัฐมนตรีเคยปรากฎในกรณี ถวิล เปลี่ยนศรี ร้อง ป.ป.ช. เอาผิดนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 แม้วันนี้ จะยังดูเป็นหนังคนละม้วน แต่หากถึงที่สุด ใครจะรู้ บิ๊กโจ๊ก จะหงายการ์ด อะไรมาทวงคืนความยุติธรรม

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ชื่อนายตำรวจคนดังคนนี้ จางหายจากหน้าสื่อไปนานร่วมปีทั้งที่ก่อนหน้านี้ ปรากฎเป็นข่าวแทบไม่เว้นแต่ละวัน จากการแอคชั่นในการทำงานมากมายหลายช่องทางไปหมด กระทั่งมาโดนคำสั่งย้ายฟ้าผ่าให้เข้าไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยขาดจากตำแหน่งเดิม จากวันนั้นถึงวันนี้ เวลาผ่านล่วงเลยมาร่วมปีเศษ จนเมื่อวันที่ 22 ก.ย.2563 ชื่อ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ก็กลับมาถูกเอ่ยถึงอีกครั้งในกรณีการยื่นเรื่องฟ้องนายกรัฐมนตรี ต่อศาลปกครอง กรณีอกคำสั่งย้ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

ที่มาที่ไปของการตัดสินใจฟ้องร้องนายกรัฐมนตรี ในกรณีนี้ หลายคนอาจจะยังไม่ทราบความเป็นมา สปริงนิวส์ ขอขยายความเรื่องดังกล่าวมาให้เข้าใจกันคร่าวๆดังนี้

หรือบิ๊กโจ๊ก จะหงายการ์ด ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย ม.157

- พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ถูกสั่ง คสช.ฉบับที่ 2/2562 ให้ย้ายเมื่อวันที่ 9 เม.ย.2562 โดยในคำสั่งอ้างถึง คำสั่ง คสช.ที่ 16/2558 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างถูกตรวจสอบและกำหนดกรอบอัตรากำลังชั่วคราว ลงวันที่ 15 พ.ค. 2558 

- ภายหลังมีคำสั่งย้ายดังกล่าว พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ไม่เคยถูกตั้งกรรมการสอบความผิดในเรื่องใด จนเวลาผ่านไป 1ปี 5เดือน

- รายงานข่าวกล่าวว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ได้เข้าพบหารือกับ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อปรึกษาความผิดปกติของคำสั่งย้ายดังกล่าว และความไม่ยุติธรรมที่ได้รับ 

หรือบิ๊กโจ๊ก จะหงายการ์ด ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย ม.157

หรือบิ๊กโจ๊ก จะหงายการ์ด ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย ม.157

- หลังหารือข้อกฎหมาย พบว่า คำสั่งดังกล่าว มีข้อขัดแย้งอยู่หลายจุด เช่น ตามคำสั่ง คสช.ที่ 16/2558 ข้อสอง ระบุไว้ว่า 

  “ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒ ตามบัญชีแนบท้ายคําสั่งนี้ระงับ การปฏิบัติราชการในตําแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราวและไปปฏิบัติราชการในตําแหน่งประจําสํานักงาน ปลัดกระทรวงในกระทรวงที่สังกัดโดยไม่ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมและให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ รัฐมนตรีเจ้าสังกัดมอบหมาย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะมีคําสั่งให้ผู้นั้นไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐเป็นการชั่วคราวก็ได้ นายกรัฐมนตรีอาจมีคําสั่งเปลี่ยนแปลงคําสั่งข้อนี้ได้ตามที่เห็นสมควร” ประเด็นสำคัญคือ คำสั่งย้ายดังกล่าว เป็นการสั่งย้ายขาดจากตำแหน่งเดิม ซึ่งขัดต่อคำสั่ง คสช.ตามที่ระบุข้างต้น หรือแม้กระทั่ง เรื่องตามหนังสือคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 16/2558 ที่ระบุว่า 

  “มาตรการแก้ไขปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างถูกตรวจสอบและกำหนดกรอบอัตรากำลังชั่วคราว” ซึ่งข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ที่ผ่านมาพบว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ มิใช่เจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบในขณะนั้น แต่อย่างใด และยังไม่เป็นผู้ถูกชี้มูลความผิดในกรณีใดๆ

- คำสั่งย้าย พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ (คำสั่ง คสช.ฉบับที่ 2/2562) ถูกมองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวไปอ้างอิงถึง คำสั่ง คสช.ฉบับที่ 16/2558 โดยที่ข้อเท็จจริง พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ไม่เข้าข่ายบุคคลที่กำหนดไว้ในคำสั่ง

- รายงานข่าวระบุว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ พยายามติดต่อ ส่งเรื่องถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อสอบถามความคืบหน้ากรณีคำสั่งย้ายของตนเอง และชี้แจงว่าคำสั่งดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการติดต่อดังกล่าวมีขึ้นเป็นระยะ แต่ไม่มีความคืบหน้า

- รายงานข่าวอ้างว่า คำสั่งย้าย พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ไม่ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ได้ผ่านการหารือข้อกฎหมายกับทีมกฎหมายนายกรัฐมนตรี แต่ถูกร่างขึ้นโดยทีมงานที่นำเอาเอกสารคำสั่งเก่าๆมาเป็นต้นร่าง จึงเป็นที่มาของช่องโหว่ทางกฎหมายที่ปรากฎในหนังสือคำสั่งดังกล่าว

- 22 ก.ย. 2563 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ตัดสินใจยื่นเรื่องศาลปกครอง ฟ้องร้องนายกรัฐมนตรีให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง โดยยังไม่ตัดสินใจยื่นฟ้องกระบวนการยุติธรรมอื่นๆ ตามมาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่  

ที่สุดแล้ว ไม่แน่ใจว่าคดีจะพลิก ในอนาคตหรือไม่ แต่ก็ถือเป็นเรื่องน่าจับตามองอย่างใกล้ชิด ท่ามกลางความสงสัยใคร่รู้ของหมู่มวลผู้ติดตามความเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ต้น เนื่องจากจนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่มีใครทราบว่า พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ถูกย้ายด้วยฐานความผิดอะไร เพราะเหตุใด จึงไม่มีการดำเนินการใดๆ หลังมีคำสั่งย้าย และเหตุใดคำสั่งย้ายดังกล่าวถูกเร่งรัดจนไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบของทีมกฎหมาย ก่อนถูกนำมาประกาศใช้จนเกิดช่องโหว่ขนาดใหญ่แบบนี้ขึ้น 

ที่สำคัญ หากไพ่ใบสุดท้ายจำเป็นต้องถูกทิ้งลงบนโต๊ะ หรือ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ จำเป็นต้องหงายการ์ดใบเด็ด ด้วยการ ฟ้องต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เอาผิดนายกรัฐมนตรีในฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ มีมูลความผิดทางอาญาตามมาตรา 157 เหมือนเช่นที่ นายถวิล เปลี่ยนศรี เคยร้อง กรรมการ ป.ป.ช. เอาผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157  ซึ่งหากเรื่องดำเนินไปถึงจุดนั้น เงื่อนปมที่พันกันยุ่งเหยิงในทุกวันนี้ คงยิ่งรัดแน่นหนักขึ้นไปอีกจนยากที่จะแก้ไข ปลายทางจะเป็นอย่างไร ติดตามชมกันต่อไป

related