svasdssvasds

กู้อีก! คลังแจงกู้เพิ่ม รีดภาษี ป้องกันถังแตกเหมือนปี 63

กู้อีก! คลังแจงกู้เพิ่ม รีดภาษี ป้องกันถังแตกเหมือนปี 63

กระทรวงการคลังตั้งหลักผลักเศรษฐกิจเดินหน้า เร่งตรวจสอบวงเงินคาดขาดดุล และกู้เพิ่มเติมอุดรอยรั่ว ป้องกันคลังถังแตกแบบปี 63

กู้อีก! คลังแจงกู้เพิ่ม รีดภาษี ป้องกันถังแตกเหมือนปี 63

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายที่กรมสรรพากร ว่ารัฐบาลยังคงเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรในปีงบประมาณ 2564 เอาไว้เท่าเดิมคือ 2.085 ล้านล้านบาท แม้สุดท้ายจะไม่ได้ตามเป้า

ทั้งนี้ รมว.คลัง กล่าวต่อว่า ต่อให้รายได้ไม่ถึงตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ แต่ก็ไม่เป็นปัญหาเพราะงบประมาณปี 2564 เป็นงบประมาณแบบขาดดุล ซึ่งทำให้สามารถกู้ชดเชยเพื่อการขาดดุลเพิ่มเติมได้ หากรายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 กระทรวงการคลังก็ดำเนินการในลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน

ขณะเดียวกัน นายอาคม เองก็ได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ประเมินการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2564 เอาไว้ล่วงหน้าว่าจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้มากน้อยขนาดไหน โดยอิงจากตัวเลขรายจ่ายพื้นฐานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะที่ต้องดูแลช่วยเหลือเกษตรกร จากที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีมีการอนุมัติโครงการประกันรายได้ไปแล้ว ทั้งข้าว และยางพารา ซึ่งในอนาคตจะมีพืชอื่นๆ ที่มีการประกันรายได้เพิ่มขึ้นอีกจึงถือเป็นรายจ่ายของรัฐบาลด้วยที่ต้องประเมินว่างบประมาณปี 2564 นั้นจะมีรายได้เพียงพอหรือไม่ และต้องกู้เพิ่มอีกเท่าไหร่

 

ชำแหละเงินกู้ฟื้นฟูโควิด : ช่วยเศรษฐกิจ หรือ เป็นพิษกับประชาชน

"อนุสรณ์" ชี้ หนี้เงินกู้ ภาระคนทั้งชาติ ผิดพลาดเศรษฐกิจ แต่โยนโควิดรับบาป

“การกู้เงินเพิ่มจะเหมือนกันปีงบประมาณ 2563 เป็นการกู้กรณีที่รายจ่ายมากกว่ารายได้ ซึ่งยังเหลือช่องว่างกู้ได้อีกเท่าไหร่ ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดูอยู่ โดยจะสรุปได้ในเร็ว ๆ นี้ ยืนยันว่ารายจ่ายของรัฐบาลจะไม่ช็อตแน่นอน” นายอาคม กล่าว

ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายปี 2564 วงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท เป็นงบประมาณแบบขาดดุล 6.32 แสนล้านบาท ซึ่งหากจะต้องกู้เพิ่มกรณีรายจ่ายมากกว่ารายรับนั้น ก็สามารถกู้ได้ประมาณ 1 แสนล้านบาท เพราะกฎหมายถูกกำหนดเอาไว้ว่ากระทรวงการคลังสามารถกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลได้ 20% ของงบประมาณรายจ่าย บวกกับ 80% ของต้นเงินชำระคืนเงินกู้ ซึ่งจะทำให้วงเงินอยู่ที่ 7.36 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2563 วงเงินรายจ่ายประเทศอยู่ที่ 3.2 ล้านล้านบาท ขาดดุล 4.6 แสนล้านบาท และมีการขออนุมัติผ่าน ครม. เพื่อกู้เงินกรณีรายจ่ายมากกว่ารายรับมาแล้ว 2.14 แสนล้านบาทเต็มเพดานกู้เงินที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้แล้ว

จากนั้น นายอาคม ยังกล่าวอีกว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้ (10 พ.ย. 63) ได้มีการอนุมัติตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ซึ่งหลังจากนี้จะมีการประชุมเพื่อเร่งรัด และติดตามการใช้จ่ายงบประมาณตามไตรมาาส ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ตามลำดับเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว กระตุ้นทั้งเศรษฐกิจ และกำลังซื้อภายในประเทศ ทั้งนี้ปัจจัยหนึ่งคือการเปิดการท่องเที่ยวยังต้องชะลอตัวต่อไปก่อน

กรณีการตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการเบิกจ่ายเพื่อจัดการการเร่งเบิกจ่ายอันได้แก่ รายจ่ายเพื่อการประชุม สัมมนนา ซึ่งจะประสานถึงทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นจังหวัดที่เน้นการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยจะมีการหารือเพิ่มเติมกับสำนักงบประมาณเพื่อจัดสรรงบในส่วนนี้เพิ่มให้กับหน่วยงานต่างๆ อีกเพื่อเป้นแรงกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว และใช้เงินในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ คาดการว่าจะกระตุ้นเม็ดเงินให้สะพัดได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินในโครงการพื้นฐานให้เป็นไปตามแผน และสามารถเบิกจ่ายได้อย่างรวดเร็ว เพราะเศรษฐกิจประเทศต้องการถูกกระตุ้นในระยะสั้น ควบคู่กับกระตุ้นระยะยาว ซึ่งปัจจุบันแนวโน้มทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเองเป็นไปในทางที่ดีขึ้น

ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ได้ปรับการคาดการณ์จีดีพีปีนี้ติดลบ 7.1% จากเดิมที่ประเมิณเอาไว้อยู่ที่ติดงบ 7.7% และคลังลดคาดการณ์จีดีพีติดลบจาก 8.5% เหลือเพียง 7.7% เหลือในส่วนของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ที่จะออกแถลงในสัปดาห์หน้า ซึ่งยังคาดหวังว่าจะปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน

รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น กระทรวงการคลังได้มีการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย กำชับดูแลนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับนโยบายการคลัง แม้เศรษฐกิจจะมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น การติดลบน้อยกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ก็ตาม แต่มาตรการด้านการเงินและการคลังเองยังมีความสำคัฐ ทั้งการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ลดดอกเบี้ย บริหารอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นการช่วยเหลือธุรกิจภาคการส่งออกด้วย

ส่วนนโยบายที่กระทรวงการคลังมอบให้กรมสรรพากรดำเนินการในสาระสำคัญ 3 ประเด็น ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ดำเนินการมาต่อเนื่องอยู่แล้วได้แก่

1. การขยายฐานภาษีให้เพิ่มขึ้น โดยการชักชวนให้ผู้ที่อยู่นอกระบบเข้ามาในระบบมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีบุคคลธรรมดาอยู่ในระบบภาษี 9 ล้านคน และมีผู้เสียภาษีจริง 3 ล้านคน และเป็นผู้อยู่นอกระบบภาษีอีก 6 ล้านคน การขยายฐานภาษีถือว่ามีความสำคัญเพราะว่าการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรคิดเป็น 70% ของรายได้ทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้ให้มีการขยายฐานภาษีนิติบุคคลด้วย

2. เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ โดยให้นำเทคโนโลยีไปสู่การเก็บภาษีด้วยระบบดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งกรมสรรพากรให้ความสำคัญเรื่องนี้และดำเนินการมาโดยตลอดอยู่แล้ว

3. การปรับโครงสร้างภาษี ได้ขอให้กรมสรรพากรช่วยพิจารณาการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อรองรับเศรษฐกิจและภาคธุรกิจหลังโควิด-19 โดยให้ประสานกับกรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ สนับสนุนธุรกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะด้านดิจิทัล ออนไลน์

related