svasdssvasds

3 คณบดีโรงเรียนแพทย์ ห่วง กทม. คุมโควิดไม่อยู่ เผย รอบนี้หนักกว่าเดิม 15 เท่า

3 คณบดีโรงเรียนแพทย์ ห่วง กทม. คุมโควิดไม่อยู่ เผย รอบนี้หนักกว่าเดิม 15 เท่า

3 คณบดี โรงเรียนแพทย์ ห่วง กรุงเทพมหานคร คุมโรคไม่อยู่ หลังยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่โรงเรียนแพทย์ ทุกแห่ง ร้อยละ85 รับผู้ป่วยหนักในการรักษา ส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อใน กทม.โดยการระบาดรอบนี้รุนแรงกว่าครั้งที่แล้ว ประมาณ 15 เท่าเมื่อเทียบกับครั้งที่แล้ว

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ประสิทธิ์วัฒนาภา คณบดีแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ศิริราชพยาบาล ระบุว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในศิริราชพยาบาลตอนนี้ มีจำนวนผู้ป่วยหนักมากขึ้น โดยมีการเปิดห้องไอซียู เพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว มีการปรับหอผู้ป่วยธรรมดามาเป็นหอผู้ป่วยที่ดูแลคนไข้หนัก เนื่องจากมีคนไข้หนักเข้ามารักษามากขึ้น เมื่อไหร่ที่ต้นน้ำยังมีการติดเชื้ออยู่ อัตราผู้ป่วยก็ยังคงเพิ่มขึ้น สิ่งที่จะทำได้ คือ จำนวนผู้ติดเชื้อต้องลดจำนวนลง 

"วันนี้ต้องบอกว่า สถานการณ์ผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการรักษา ในศิริราชพยาบาล เต็มไม้เต็มมือ หากไม่มีการช่วยกันลดการติดเชื้อ อัตราการเสียชีวิตก็จะก้าวกระโดดมากขึ้น" 

ตัวเลขประมาณ ทั้ง 3 โรงพยาบาล มีคนไข้โควิดที่นอนรักษาในโรงพยาบาลขณะนี้่ ประมาณ150 - 200 คน มีคนไข้ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจทั้งประเทศประมาณ 400 คน ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่เล็กน้อยเลย และคนไข้เหล่านี้ต้องอยู่ในโรงพยาบาลนาน โดยคนไข้โควิดที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาล ตอนนี้ ร้อยละ 25 เป็นคนไข้ที่รุนแรง

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ประสิทธิ์วัฒนาภา

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ผู้ติดเชื้อปอดอักเสบมากขึ้น มีด้วยกัน 3 ปัจจัย คือ ถ้าเมื่อไหร่ที่จำนวนคนไข้เยอะ จำนวนคนที่ป่วยหนักก็จะเยอะขึ้นตามสัดส่วน ซึ่งจะเห็นจำนวนที่เยอะขึ้น เนื่องจากจำนวนต่อวันที่ยังเจอผู้ติดเชื้อเยอะอยู่

ปัจจัยที่ 2 คือ ไวรัสกลายพันธุ์ การที่กลายพันธุ์ ทำให้การติดเชื้อต่างๆมากขึ้น ส่งผลต่อ จำนวนสัดส่วนผู้ป่วยอาการหนัก

ปัจจัยที่ 3 คือ การแพร่ระบาดรอบนี้ จุดที่มีการแพร่กระจายส่วนใหญ่ มาจากสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มของคนหมู่มากและการด์ตก เมื่อไปสนุกสนานกันและคนเหล่านี้ ซึ่งเป็นคนหนุ่ม สาว วัยทำงาน โดยจะเห็นว่าในรอบการระบาดนี้ คนหนุ่มสาว อายุน้อย ติดเชื้อมากขึ้น ขณะเดียวกัน เริ่มค้นพบว่า ปัจจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ที่ปีก่อนหน้านี้ไม่ชัดเจน คือ คนที่อ้วน คนที่มีดัชนีมวลกาย เกิน 30 เป็นส่วนหนึ่งทำให้เป็นปัจจัยที่เสริมกัน

แนวทางการรักษา โดยเฉพาะการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ตอนนี้มีการคำนวณยาที่จะต้องใช้ในการรักษาและมีการสั่งยา โดยตอนนี่ทั่วโลกมีการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์จำนวนมาก ถ้าเราไม่ควบคุมสถานการณ์การติดเชื้อให้ดี สุดท้ายเราอาจจะมียาไม่พอใช้ ถึงแม้วันนี้่ประเทศไทยจะยังมียาให้อยู่ก็ตาม สิ่งสำคัญคือ อย่าใช้โดยไม่จำเป็น 

ประสบการณ์ที่ผ่านมาในการรักษาโควิด ทำให้ได้เรียนรู้ถึงแนวทางการรักษา มีการปรับกระบวนการในการรักษาอยู่ตลอดเวลา ถือว่าทำได้ดีขึ้น เช่นการดูเรื่องระบบการหายใจ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจแบบโดยตรง ซึ่งตอนนี้มีเครื่องไฮโฟลล์ออกซิเจน 

ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา

ขณะที่ ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล ระบุถึง สถานการณ์ที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยได้เปิดรักษาผู้ติดเชื้อ ที่ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มีคนไข้อยู่ประมาณ 140 คน แบ่งเป็นคนไข้หนัก 32 คน ใส่ท่อช่วยหายใจ 14 คน โดยได้ไปเช่าโรงแรม 2 แห่ง ทำฮอสพิเทลในการดูแลผู้ป่วย อีกประมาณ 300 คน รวมแล้วที่โรงพยาบาลรามาฯ ทำการรักษาดูแลผู้ติดเชื้อประมาณ 400 กว่าคน โดย ห้องไอซียู ของ รพ.รามาฯ ตอนนี้ รักษาผู้ติดเชื้ออยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 85 ยังพอมีเตียงว่างที่หมุนเวียนได้อยู่บ้าง 

"โดยผู้ป่วยอาการหนักในช่วงนี้มีจำนวนมากขึ้น ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยเสียชีวิตทุกวัน ซึ่งสถานการณ์การติดเชื้อยังรุนแรงอยู่ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร"
ซึ่ง การระบาดรอบนี้ เป็นการระบาดที่เจอเชื้อลงปอดมากขึ้น กว่าการระบาดในรอบที่แล้ว โดยจะมีผู้ป่วยที่ต้องการเตียงไอซียูมีจำนวนมากขึ้น หมายความว่า ถ้าเราช่วยกันป้องกันตั้งแต่ต้นทาง คือ การฉีดวัคซีน จะทำให้บุคลกรทางการแพทย์ รับปลายน้ำ หรือการดูแลรักษาได้น้อยลง 

หากดูจำนวนผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ที่มีทั่วประเทศ 400 คน จะมีคนเสียชีวิตในกลุ่มนี้ประมาณ 1 ใน 4 ถึง 1 ใน 5 เพราะฉะนั้นเป็นที่คาดเดาได้ว่า จะมีผู้เสียชีวิตในกลุ่มนี้ต่อไปอีกประมาณ 80 - 100 คน แต่ก็อาจจะทยอยเสียชีวิตลงเมื่ออาการหนักขึ้น ขอให้พวกเราทุกคนพึงตระหนักว่า การระบาดรอบนี้รุนแรงกว่าครั้งที่แล้วมาก ประมาณ 15 เท่าเมื่อเทียบกับครั้งที่แล้ว หากดูอัตราการเสียชีวิตรอบการระบาดครั้งแรก เปอร์เซนต์การเสียชีวิตสูงถึง ร้อยละ 2 - ร้อย 3 แต่ตอนนี้อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ ร้อยละ 0.6 – ร้อยละ 1 เราเรียนรู้มากขึ้นเกี่ยวกับการใช้ยา และเครื่องมือที่เหมาะสม เช่น เครื่องไฮโฟลล์ ออกซินเจน ที่ทำให้การรักษาที่เร็วจะทำให้คนไข้ไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 

"แต่ที่น่าห่วงคือ การระบาดในพื้นที่ กรุงเทพมหานครขณะนี้ ถือว่า เป็นจังหวัดที่มีการระบาดเยอะที่สุด โดยตอนนี้การควบคุมโรค คือการคัดกรองแยกผู้ติดเชื้อในชุมชนแออัดออกมา โดยนำเข้าสู่ฮอสพิเทล หรือ รพ.สนาม การที่จะทำให้การแพร่ระบาดลดลง จะต้องมีทั้งการตรวจคัดกรอง ที่ต้องเร่งทำแบบเชิงรุกมากขึ้น หากดูในตัวเลขในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อเยอะที่สุด สิ่งสำคัญ คือการควบคุมโรคและการลดจำนวนผู้ติดเชื้อให้ลดลง" 

ส่วนหนึ่งที่ให้ผู้ติดเชื้อมีอาการปอดอักเสบมากขึ้น คือ เชื้อกลายพันธุ์ ครั้งนี้สายพันธุ์ที่ระบาดในไทย คือ สายพันธุ์อังกฤษ อาจมีความเป็นไปได้ว่า สายพันธุ์นี้มีการเกิดปอดอักเสบร่วมด้วยเยอะขึ้น กว่าสายพันธุ์ดั่งเดิมที่มาจากประเทศจีน แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันที่ชัดเจน เป็นเพียงข้อสังเกตเท่านั้น แต่หากดูอัตราการเสียชีวิต พบว่าไม่ได้เพิ่มขึ้น อาจจะเป็นเพราะว่า เราเรียนรู้ของการรักษาที่ดีขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย เช่น เครื่องไฮโฟลล์ ทำให้คนไข้ไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เรื่องของการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ที่เร็วขึ้น โดยมีการใช้ยากลุ่มเสตรียรอยด์เข้ามาร่วมในการรักษา ซึ่งทั้งหมดเป็นองค์ความรู้มาจากการระบาดครั้งที่แล้ว ทำให้เรามีการรักษาที่ดีขึ้นกว่าเดิม 

"ขอให้ประชาชนมีความมั่นใจ ในกระทรวงสาธารณสุข และหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง ได้เตรียมยาในการรักษาไว้อย่างเพียงพอให้กับประชาชน ถ้าการระบาดไม่มากขึ้นไปกว่านี้" 

ทั้งนี้ ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิต 2 หลักนั้น มาจากยอดผู้ติดเชื้อในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการระบาดจำนวนมาก ซึ่งกว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตมักจะมีอาการปอดอักเสบ ไปถึงการรักษา ด้วยเครื่องไฮโฟลล์ และใส่ท่อช่วยหายใจ แล้วถึงค่อยเสียชีวิต เพราะฉนั้นการระบาดที่้้เยอะเมื่อประมาณ10วันที่แล้วก็จะเป็น ตัวที่ทำให้มีการเสียชีวิตที่เยอะขึ้นในวันนี้ ดังนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อที่ลดลงในช่วงนี้ก็จะทำให่เราคาดการณ์ได้ว่า อีก 10 วัน ตัวเลขผู้ติดเชื้อก็จะลดลง 

หากจำได้การระบาดในรอบแรก ผู้ติดเชื้อสูงสุดอยุ่ที่ประมาณ 180 คนต่อวัน แต่การระบาดในรอบนี้ พบว่า ผู้ติดเชื้อสูงสุด ขึ้นไปถึงประมาณ 2800 คนต่อวัน

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ

ด้าน ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า สถานการณ์ตอนนี้เหมือนมีสงครามเกิดขึ้น ซึ่งพวกเรากำลังต่อสู้กับข้าศึกที่ไม่เห็นตัว การฉีดวัคซีน เหมือนเรามีอาวุธติดตัว ที่จะป้องกันตัวเองแล้ว ยังเป็นการป้องกันคนในครอบครัว และคนที่ทำงาน จึงอยากสนับสนุนให้ทุกคนมาร่วมการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันของโรค 

สำหรับสถานการณ์ที่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ ในการดูแลผู้ติดเชื้อระลอกล่าสุด โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาประมาณ 1,000 คน รวมที่รักษาหายแล้วกลับบ้านด้วย ซึ่งสามารถรับผู้ป่วยที่เข้ามายังโรงพยาบาล ได้ประมาณ 200 คน รวมถึง ในฮอสพิเทล อีก 300 - 400 คน 

การติดเชื้อรอบนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น คือ จากการที่คนวัยทำงานอาจจะออกมาข้างนอกแล้วรับเชื้อ แล้วกลับไปบ้าน แล้วพบว่าการระบาดในครอบครัวจะทำให้เกิด ที่มีผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ หรือ ผู้ป่วยติดเตียง มีโอกาสที่จะติดเชื้อสูง หากกลุ่มวัยทำงานได้รับวัคซีน การที่เราจะป้องกันในการที่นำเชื้อไปสู่คนในบ้านก็จะลดลง 

สิ่งสำคัญในการรักษา คือ การป้องกันไม่ให้คนไข้สีเขียว เป็นสีเหลือ และสีเหลือ ไปสีส้ม และสีแดง ตั้งแต่การให้การรักษาที่เร็ว

related