svasdssvasds

ย้อนดูจุดเริ่มต้น ความขัดแย้ง "อิสราเอล-ปาเลสไตน์" นานกว่า 100 ปี

ย้อนดูจุดเริ่มต้น ความขัดแย้ง "อิสราเอล-ปาเลสไตน์" นานกว่า 100 ปี

ย้อนดูจุดเริ่มต้น ความขัดแย้ง "อิสราเอล-ปาเลสไตน์" ไฟสงครามนานกว่า 100 ปี ความสูญเสียที่สร้างความโศกมานักต่อนัก แม้พยายามหาทางออกอย่างสันติวิธี เจรจากี่ครั้งก็ล่ม เกิดจากอะไร

ความขัดแย้งของอิสราเอล-ปาเลสไตน์นั้น มีมาอย่างยาวนานเกือบ 100 ปี โดยสาเหตุหลักมาจากการแย่งชิงดินแดนกัน ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่สมัย 1920 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ช่วงนั้น คนยิวจำนวนมากได้ลี้ภัยสงครามจากในยุโรปไปยังตะวันออกกลาง ตั้งรกรากใหม่ในปาเลสไตน์ และทรานส์จอร์แดน แต่แล้วไฟสงครามก็มาถึง เมื่อจักรวรรดิออตโตมันได้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ให้กับอังกฤษเข้ายึดครองดินแดน ในปี 1922 และทำให้ชาวยิวย้ายถิ่นฐานมาที่นี่อย่างต่อเนื่อง

ในปี 1947 สหประชาชาติมีมติให้แบ่งพื้นที่ปาเลสไตน์ออก เป็นรัฐชาวยิวและชาวอาหรับแยกออกจากกันโดยสิ้นเชิง และให้เยรูซาเลมเป็นเมืองนานาชาติ ซึ่งแน่นอนว่าได้สร้างความไม่พอใจให้กับชาวปาเลสไตน์เป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่ตนนั้นอยู่มาก่อน

ย้อนดูจุดเริ่มต้น ความขัดแย้ง "อิสราเอล-ปาเลสไตน์" นานกว่า 100 ปี

และในปี 1948 ผู้ปกครองชาวอังกฤษร่วมกับผู้นำชาวยิวร่วมกันประกาศว่า ปาเลสไตน์ เป็น "บ้านแห่งชาติของคนยิว" และสถาปนาอิสราเอลขึ้นเป็นรัฐ โดยมี เดวิด เบน กูเรียน เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของอิสราเอล

ความตึงเครียดระหว่างชาวยิวและชาวปาเลสไตน์ ยิ่งทวีคูณความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

จนปี 1967 เกิดสงครามครั้งใหญ่ ชื่อ 'สงคราม 6 วัน' (Six Day War) อิสราเอลได้ใช้กองกำลังทหารบุกยึดเยรูซาเลมตะวันออก, เขตเวสต์แบงก์, ฉนวนกาซา, พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโกลันของซีเรีย และแหลมไซนาย เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอล

ในปี 1993 จากความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทำให้ ยิตซัค ราบิน นายกรัฐมนตรีของอิสราเอล และ ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์ เจรจากันอย่างลับๆ ในออสโล ประเทศนอร์เวย์ เพื่อนำไปสู่ทางออกอย่างสันติวิธี

ทว่าในปีต่อมาปี 1994 ก็เกิดเหตุสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์ ชื่อว่า "การสังหารหมู่ในถ้ำพระสังฆราช" โดยนายบารุค โกลด์สตีน ยิ่งเป็นเหมือนการราดน้ำมันบนกองไฟความไม่พอใจทั้งสองฝ่าย

ปี 1995 ยิตซัค ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล และ ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์ เซ็นข้อตกลงร่วมกันในการตกลงพื้นที่เขตเวสต์แบงค์และฉนวนกาซา สิ่งนี้นำไปสู่การลอบสังหารนายกฯอิสราเอล โดยกลุ่มชาวยิวหัวรุนแรงเสียเอง

จากการนายกรัฐมนตรีคนก่อนไป ทำให้ เบนจามิน เนทันยาฮู ชนะการเลือกตั้ง ด้วยคำสัญญาว่า เขาจะใช้แนวปฏิบัติที่เข้มงวดยิ่งขึ้นในการเจรจากับหน่วยงานปาเลสไตน์ ทำให้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนใหม่ เมื่อปี 1996

ในปี 1998 เกิดการเจรจาครั้งใหม่ระหว่าง เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล และ ยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์ เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติ

เบนจามิน เนทันยาฮู หมดวาระการเป็นนายกฯอิสราเอล ในปี 1999 ทำให้ เอฮุด บารัค ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนใหม่ ดำเนินตามนโยบายเดิมของ ยิตซัค ราบิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ในการสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ

จนปี 2000 เกิดการประชุมสุดยอดที่มีชื่อว่า "แคมป์เดวิด 2000" ที่ถูกจัดขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรลุข้อตกลง "สถานะสุดท้าย" ของอิสราเอลและปาเลสไตน์ ทว่าท้ายที่สุดแล้วการประชุมดังกล่าวก็ล่มลงหลังจากยัสเซอร์ อาราฟัต ผู้นำปาเลสไตน์ ไม่ยอมรับข้อเสนอที่ร่างโดยผู้เจรจาของอเมริกาและอิสราเอล เนื่องจากความไม่เป็นธรรม

ตั้งแต่ปี 2000 - ปัจจุบัน เกิดการจราจลและการใช้ความรุนแรงระหว่างทั้งสองเรื่อยมา