svasdssvasds

WHO เปลี่ยนชื่อโควิดใช้อักษรกรีกแทน ชี้ไม่ควรมีประเทศไหนถูกโจมตี

WHO เปลี่ยนชื่อโควิดใช้อักษรกรีกแทน ชี้ไม่ควรมีประเทศไหนถูกโจมตี

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เปลี่ยนชื่อโควิดกลายพันธุ์ ใช้อักษรกรีกแทนชื่อประเทศ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง ไม่ให้ประเทศที่พบเชื้อกลายพันธุ์เป็นที่แรก เกิดความเสียหาย และเสื่อมเสียชื่อเสียง

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศระบบตั้งชื่อใหม่สำหรับไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ โดยนับจากนี้ไปจะใช้อักษรกรีก เมื่อกล่าวถึงไวรัสโควิดกลายพันธุ์ที่พบระบาดครั้งแรกในหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร แอฟริกาใต้และอินเดีย เป็นต้น

โดย มาเรีย ฟาน เคอร์โคฟ หัวหน้าด้านเทคนิคโควิด-19 ของ WHO  แสดงความคิดเห็นว่า ในวิกฤตของโลกซึ่งต้องเจอกับการระบาดของโควิด19 ไม่ควรมีประเทศไหนควรถูกประณามสำหรับการตรวจพบและรายงานเรื่องไวรัสกลายพันธุ์

โดย ฟาน เคอร์โคฟ เผยอีกว่า อักษรกรีกเหล่านี้ จะไม่ใช้แทนชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่แล้ว  หากไวรัสกลายพันธุ์กว่า 24 สายพันธุ์ที่ถูกระบุอย่างเป็นทางการ ระบบก็ใช้อักษรกรีกหมด และโครงการตั้งชื่อใหม่ จะถูกประกาศต่อไป อาทิ

ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ที่พบในสหราชอาณาจักร (B.1.1.7) จะเรียกว่า อัลฟา (Alpha)
สายพันธุ์ในแอฟริกาใต้ (B.1.351 )เรียกว่า เบตา (Beta)
สายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2 ) เรียกว่า เดลตา (Delta)
สายพันธุ์บราซิล (P.1) เรียกว่า แกมมา  (Gamma)
สายพันธุ์ (B.1.427/429 ) ซึ่งพบในสหรัฐ เรียกว่า เอปซิลอน (Epsilon)
สายพันธุ์ (P.2) ซึ่งพบในบราซิล เรียกว่า เซตา  (Zeta)
สายพันธุ์ (B.1.525)  ซึ่งพบในหลายๆประเทศ  เรียกว่า อีตา (Eta)
สายพันธุ์ (P.3) ซึ่งพบในฟิลิปปินส์ เรียกว่า เธต้า  (Theta)
สายพันธุ์  (B.1.526) ซึ่งพบในสหรัฐ เรียกว่า ไอโอตา (Iota)
และ สายพันธุ์ (B.1.617.1) ซึ่งพบในอินเดีย เรียกว่า แคปปา (Kappa)

โดยในช่วงต้นพฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดีย วิพากษ์วิจารณ์การตั้งชื่อไวรัสกลายพันธุ์ในอินเดีย B.1.617.2 ที่พบการระบาดครั้งแรกในประเทศเมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว ว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์อินเดีย แม้ว่า WHO ไม่เคยตั้งชื่อย่างเป็นทางการเช่นนี้ก็ตาม และการตั้งชื่อแบบนี้สร้างความเสียหายให้กับประเทศที่พบเชื้อกลายพันธุ์

ทั้งนี้ ฟาน เคอร์โคฟ ได้ระบุว่า  "เราไม่ได้บอกว่าจะไม่ใช้ชื่อ B.1.1.7 แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเพียงการช่วยให้ประชาชนพูดคุยกันด้วยภาษาที่ง่ายขึ้น"

related