svasdssvasds

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำร่องฉีดวันซีนในเด็กอายุ 10-18 ปี วันแรกกว่า 2,000 ราย

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำร่องฉีดวันซีนในเด็กอายุ 10-18 ปี วันแรกกว่า 2,000 ราย

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำร่องฉีดวัคซีนซืโนฟาร์มในเด็กนักเรียน อายุ 10-18 ปี วันนี้วันแรกกว่า 2,000 คน ขณะที่การขอขึ้นทะเบียนการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มในเด็ก อย.ยังไม่อนุมัติ

 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการ VACC 2 School เพื่อนำร่องฉีดวัคซีนบริจาค “ซิโนฟาร์ม” ให้กับเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 10-18 ปี โดยผ่านการเปิดรับสมัครให้ “สถานศึกษา” ยื่นความประสงค์ขอรับการจัดสรรวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” ให้แก่กลุ่มนักเรียนในสังกัด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 

 ซึ่งในวันนี้มีนักเรียนเข้ารับการฉีดวัคซีนจำนวน 2,000 คน จาก 3 โรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยในการฉีดวัคซีนนักเรียน ต้องแสดงบัตรประชาชน และบัตรนักเรียน แสดง QR Code ส่งหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง หลังจากที่รับวัคซีน ให้นั่งพักสังเกตอาการ 15 นาที หากไม่มีอาการกลับบ้านได้ ซึ่งหลังจากฉีดวัคซีนให้กลับบ้านพักผ่อนตามปกติ ไม่ควรวิ่ง หรือ ออกกำลังกายหนัก 2-3 วันหลังฉีดวัคซีน

 ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะมีการส่งข้อความผ่านมือถือ ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ ตามรอบวันที่ 1,7และ 30 หลังการฉีดวัคซีน 

 สำหรับวัคซีนซิโนฟาร์มที่จะฉีดให้กับกลุ่มเด็ก จะมีระยะห่างเข็มที่ 1 กับ เข็มที่ 2 เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และโครงการวิจัยครั้งนี้ ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะนำข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเด็ก 200 คน ในการยื่นเป็นงานวิจัยให้กับคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการยื่นขอขึ้นทะเบียนการใช้วัคซีนซิโนฟาร์มในเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดรายชื่อ 89 โรงเรียนนำร่องได้รับวัคซีน "ซิโนฟาร์ม"

• ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผย "ซิโนฟาร์ม" 4 ล้านโดส ถึงไทยแล้ว

• ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เผย รายชื่อ 43 โรงเรียน นำร่องฉีด ซิโนฟาร์ม นร. 5 หมื่นคน

 ด้านศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระบุว่า ขั้นตอนของการขอขึ้นทะเบียนวัคซีนซิโนฟาร์มในเด็ก ซึ่งทางราชวิทยาลัยได้ยื่นเอกสารข้อมูลครบถ้วนแล้วเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน แต่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ล่าสุดได้รับคำตอบว่า อย.กำลังคิดทบทวนข้อมูล

 ขณะที่ข้อมูลการใช้วัคซีนซิโนฟาร์มในเด็กจากหลายประเทศ อย่างประเทศจีน ศรีลังกา สาธารณรัฐชิลี มีการรายงานผลข้างเคียงในระดับต่ำอยู่ที่ร้อยละ 0.2 โดยส่วนใหญ่พบเป็นอาการปวดเมื่อยตามร่างกายและไข้ ส่วนด้านประสิทธิภาพมีการกระตุ้ยภูมิคุ้มกันได้ดีกลังรับวัคซีนครบ 2 เข็ม 

 ส่วนการพิจารณาจากกระตุ้นเข็ม 3 หรือไม่ นายแพทย์นิธิ ระบุว่า ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยบุคคล ปัจจัยสภาพแวดล้อมในพื้นที่ที่มีการระบาดว่ายังคงพบการระบาดสูงหรือไม่ รวมถึงเชื้อกลายพันธุ์อนาคต โดยยืนยันว่าวัคซีนซิโนฟาร์ม ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อตาย มีความปลอดภัยในเด็กและระดับภูมิคุ้มกันขึ้นสูง เมื่อฉีดไปแล้วเทียบเท่าเท่ากับที่ผู้ใหญ่ฉีด

 นพ.นิธิ ระบุเพิ่มเติมว่า เป็นห่วงนักเรียนในพื้นที่ต่างจังหวัดที่ยังไม่สามารถรับวัคซีนได้ เนื่องจากต้องรอการ อย.อนุมัติการขึ้นทะเบียน ทำให้เป็นกังวล หากกลับมาเปิดเรียนช้าจะมีผลต่การเรียนซึ่งในพื้นที่ต่างจังหวัดการเรียนออนไลน์ไม่ตอบสนองกับเด็กในต่างจังหวัดที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ฐานะการเงิน อุปกรณ์การเรียน และอินเทอร์เน็ต 

 ทั้งนี้การฉีดวัคซีนในเด็กที่ทำได้ต้องเป็นโครงการวิจัยเท่านั้นหากมีโรงเรียนแพทย์ไหนสนใจจะทำวิจัยการฉีดวัคซีนในเด็กสามารถยื่นโครงการมายังราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้ 

 สำหรับการวิจัย VACC 2 School  ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เปิดรับสถานศึกษาที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้ว 132 แห่ง จำนวน กว่า 108,000 คน ซึ่งการฉีดวัคซีนจะฉีดวัคซีนไปจนถึง 15 ตุลาคม นี้

related