svasdssvasds

จีนหวั่น ขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังเพิ่มขึ้นจนมีนำหนักมากกว่ากำแพงเมืองจีน

จีนหวั่น ขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังเพิ่มขึ้นจนมีนำหนักมากกว่ากำแพงเมืองจีน

จำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์มหาศาลกำลังเป็นภัยต่อชาวจีนในเร็ววันนี้ จนนักวิจัยคาดเดาได้ว่าน้ำหนักของขยะทั้งหมดจะเทียบเท่าหรือมากกว่าน้ำหนักของกำแพงเมืองจีนซะอีก จึงเป็นวิกฤตอีกด้านของประเทศจีนที่จะต้องหาทางเตรียมรับมือกับขยะเหล่านี้

กองภูเขามหึมาของขยะอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ electronic waste (e-waste) ที่ถูกทิ้งเป็นซากทิ้งในประเทศจีนเมื่อปี 2021นั้น จะมีน้ำหนักมากกว่า 57 ล้านตัน ทำให้เหล่านักวิจัยเริ่มเป็นห่วงวิกฤตการณ์ขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นประเทศ จนสามารถเทียบได้ว่ามันจะหนักกว่ากำแพงเมืองจีนแล้วแหละ

จากการประเมินโดย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติที่อุทิศจนเพื่อแก้ไขปัญหาระดับโลกอย่างซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนอิกส์ (WEEE, Waste from Electrical and Electronic Equipments) โดยพวกเขาชี้ให้เห็นว่าวัสดุที่ถูกทิ้งเหล่านั้นมีคุณค่ามหาศาล ผนวกรวมกับ รายงานการประชุมเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 2019 มูลค่าของขยะอิเล็กทรอนิกส์นั้นพุ่งสูงถึง 62.5 พันล้านดอลลาร์เลยทีเดียว มากกว่า GDP ของทั้งประเทศซะอีก

“ขยะโทรศัพท์มือถือจำนวน 1 ตันมีทองคำมากกว่าแร่ทองคำ 1 ตันซะอีก” Dr. Ruediger Kuehr ผู้อำนวยการของปรแกรมความยั่งยืนหมุนเวียนแห่งสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Cycles, SCYCLE) กล่าว

ขยะพวกนี้มักจะเป็นโทรศัพท์มือถือ ตู้เย็น กาต้มน้ำ โทรทัศน์ และของเล่นไฟฟ้า หรืออุปกรณ์กีฬาไฟฟ้า เป็นส่วนใหญ่

จำนวนเท่านี้อ่ะ ไหวเหรอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นราวๆ 2 ล้านตันในทุกๆปี มีเพียงแค่ 20% เท่านั้นที่จะถูกเก็บไปหรือนำไปรีไซเคิล ปัญหาหลักๆคือหลายผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานที่สั้นลงและมีตัวเลือกในการซ่อมแซมที่จำกัด ผู้ผลิตจึงมีบทบาทเป็นตัวการสำคัญในการเพิ่มขึ้นของขยะเหล่านั้น

อุตสาหกรรมโทรศัพท์ที่ก้าวเดินไปอย่างรวดเร็ว ออกรุ่นใหม่ออกมาถี่ๆ เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่นำไปสู่การพึ่งพาตลาดรับเปลี่ยนอุปกรณ์รุ่นเก่าอย่างรวดเร็ว กล่าวง่ายๆก็คือ การอัพเดตโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆอยู่ตลอดเวลานั้น ทำให้ผู้คนนิยมน้ำของเก่าไปแลกของใหม่มากขึ้น รวมไปถึงภาคผู้ผลิตเองก็ออกโปรโมชั่นออกมาเพื่อเอาใจผู้บริโภคกันเต็มที่

ในสหราชอาณาจักร ผลการศึกษาปี 2019 จากราชสมาคมด้านเคมี พบว่าอุปกรณ์ที่ไม่ถูกใช้งานกว่า 40 ล้านชิ้นกำลังอิดโรยอยู่ในบ้านของเรา เรากำลังลดคุณค่าของพวกมันลงไปเรื่อยและมันจะกลายเป็นของเก่าไปโดยปริยาย

จำนวนขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลแบบนี้จะมีอยู่ทุกประเทศ แต่จะแก้ไขยังไงดีนะ?

หันกลับมามองประเทศไทยเราบ้าง

จากกจำนวนประชากรที่มี 66 ล้านคน หากทิ้งคนละชิ้นก็ 66 ล้านตันแล้ว แต่แน่นอนว่าคนนึงมันไม่ได้จบที่ 1 ชิ้นแน่นอน ข้อมูลจาก Schoolchangemakers พบว่าคนไทย 1 คนผลิตขยะเฉลี่ยวันละ 1.14 กิโลกรัม หากรวมทั้งประเทศ ไทยจะผลิตขยะเทียบเท่ากับตึกใบหยก 2 มากถึง 140ตึก!! เลยทีเดียว และเป็นจำนวนต่อปีด้วยนะ

หากพูดถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยจะพบว่า ประเทศไทยมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เกือบ 4 แสนล้านตันต่อ คิดเป็นร้อยละ 64.8 ของขยะอันตรายจากชุมชน เป็นข้อมูลของปีพ.ศ. 2563 แต่ถูกนำกลับไปรีไซเคิลแค่เพียงร้อยละ 7.1 เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็ติดไปกับขยะมูลผอยที่ถูกฝังกลบในกระบวนการกำจัดขยะ หรือไม่ก็อยู่ที่พ่อค้ารับซื้อของเก่า

 

ซ้ำร้าย นอกจากไทยจะเป็นผู้ผลิตเองแล้ว ไทยยังนำเข้าขยะอีกด้วยนะเออ

ในช่วงที่ต่างชาติเขาคิดกันหัวแตกว่าจะทำอย่างไรขยะถึงจะลดลง แต่ไทยเรากลับอ้าแขนรับขยะที่ต่างชาติยินดีโยนมาให้อย่างง่ายดาย ตามสนธิสัญญาบาเซิล ที่ว่าด้วยการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้แต่ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรมและมีการจัดการอย่างถูกต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่หลายบริษัทที่รับขยะเข้ามานั้น ใช้ผลประโยชน์เพียงแค่หยิบมือจากกจำนวนที่นำเข้าและความหละหลวงของมาตรการ ทำให้ปริมาณขยะและสารอันตรายหลุดรอดออกมาอยู่บ่อยๆ ก่อให้เกิดมลพิษด้านต่างๆตามมา

เอาจริงๆมันก็ไม่แปลกเลย เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคมีความเบื่อง่ายหน่ายไว แม้ว่าจะมีการสร้างเทรนด์รณรงค์ในเรื่องของการใช้ซ้ำ หรือล่าสุดที่ครูพี่ลูกกอล์ฟได้ส่งเสียงออกมาเรื่องการใส่เสื้อผ้าซ้ำ หรือ#Wearวนไป ก็เป็นการดีที่เราจะสามารถใช้ประโยชน์สิ่งของให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น หากมีการทะนุถนอมการใช้งานที่ดี

ในทางกลับกัน Fast Fashion ก็ไม่ผิดที่จะสร้างรสนิยมการแต่งกายของผู้คนตามมุมมองทางศิลปะและความคิดสร้างสรรค์ในด้านต่างๆ แต่การใช้ซ้ำก็ไม่ผิดเช่นกัน และยังช่วยเหลือโลกได้มากขึ้นด้วย ปัญหานี้อยู่มี่มุมมองของผู้ผลิตและผู้บริโภคที่จะหันมาใส่ใจกับวิกฤตการณ์นี้อย่างไร หรือจะต้องรอให้ใครบางคนมาสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆเพื่อหน้าหน้าสู่การลดปริมาณขยะจำพวกนี้ จะเป็นการดีกว่าถ้าเรารู้จักคุณค่าของสิ่งของและเลือกใช้งานสิ่งของอย่างระมัดระวัง ทะนุถนอมเพื่อยืดอายุการใช้งานให้สมกับคุณค่าของสิ่งนั้นๆได้นานยิ่งขึ้น  

ที่มาข้อมูล BBC, ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และTest Tech

related